ร่างพรป. พรรคการเมือง ซีกฝ่ายค้าน ไม่น่ารอด สว.ถล่ม ไม่กล้าปล่อยผ่าน หวั่นสร้างปัญหาในอนาคต จวกหวังตัดอำนาจ ศาลรธน.ประเด็นยุบพรรคการเมือง
25 ก.พ.2565 - ผู้สื่อข่าวรายงานถึงการประชุมรัฐสภา พิจารณา ร่างพ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง (ฉบับที่...) พ.ศ.... ที่มี ผู้เสนอให้พิจารณารวม 6 ฉบับ ว่า บรรยากาศของการอภิปรายตลอดช่วงบ่ายต่อเนื่องถึงช่วงเย็น ยังเป็นการแสดงความเห็นสนับสนุนและเสนอความเห็นต่อประเด็นที่อยากให้แก้ไข โดยส่วนใหญ่เป็นฝั่ง ส.ส. ขณะที่การแสดงความเห็นของ ส.ว. นั้นยังมีทิศทางเดียวกัน คือ ร่างพ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมืองบางฉบับ ส่อขัดรัฐธรรมนูญ และแก้ไขเนื้อหาที่เกินไปกว่ากรอบของรัฐธรรมนูญ แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่1) พ.ศ.2564 ที่ปรับเนื้อว่าด้วยระบบเลือกตั้ง
นายสมชาย แสวงการ ส.ว. อภิปรายว่า ไม่สามารถรับหลักการร่างพ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมืองบางฉบับได้เนื่องจากจะสร้างปัญหาในอนาคต ในสภาฯและกฎหมายที่ไม่สมบูรณ์ การแก้ไขพ.ร.ป. ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 132 ต้องทำให้เสร็จภายใน 180 วัน และการออกเสียงลงคะแนนเห็นชอบ มากกว่ากึ่งหนึ่งของสมาชิกที่มีอยู่ของรัฐสภา หากส.ส. 500 คนเห็นอย่างไร ส.ว. 250 คนไม่สามารถทัดทานได้ แต่ส.ว.มีหน้าที่กลั่นกรอง หากพ.ร.ป.ทำไม่เสร็จภายใต้กรอบ 180 วัน ถือว่าสภาฯ ให้ความเห็นชอบตามที่เสนอในมาตรา 131 โดยร่างพ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส.ที่รัฐสภา รับหลักการแล้ว แม้ส.ว. 202 เสียงจะไม่รับหลักการ หากทำไม่เสร็จ ต้องกลับไปใช้ร่างที่เสนอ ดังนั้นอาจต้องถกเถียงว่า จะยึดเนื้อหาฉบับใด จาก 1 ใน 4 ฉบับ และอาจนำไปสู่ศาลรัฐธรรมนูญ
“ผมอยากเห็นการแก้ไขไม่มีปัญหา และใช้สำหรับการเลือกตั้งครั้งหน้า ไม่ทราบมีเมื่อไหร่ หรือจะมีหลังประชุมเอเปคตามที่คาดการณ์ อยากให้สภาอยู่ครบวาระ และใช้ในครั้งต่อไปจะเป็นประโยชน์ ดังนั้นต้องทำกฎหมายไม่ขัดรัฐธรรมนูญตั้งแต่ต้น นอกจากนั้นตามมาตรา 132 กำหนดให้รัฐสภา ส่งไปยังองค์กรอิสระ ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลฎีกา พิจารณา หากในวาระดังกล่าวพบว่ามีบทบัญญัติใดที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ต้องส่งให้สภาฯ พิจารณาภายใน 30 วัน ดังนั้นประเด็นที่เป็นปัญหาจึงต้องทักท้วงด้วยความหวังดี และจะลงมติรับหลักการเฉพาะร่างที่ไม่ขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญในอนาคต” นายสมชาย อภิปราย
นายสมชาย อภิปรายด้วยว่า การทำไพรมารีโหวต การที่ส.ส.อภิปรายว่า มีปัญหา หากไม่อยากได้ ต้องกลับไปแก้ไขรัฐธรรมนูญ การเสนอแก้ไขสามารถทำได้ในสมัยประชุมหน้า ส.ว.ในฐานะคนกลั่นกรอง ไม่สามารถให้ร่างพ.ร.ป.ที่มีข้อสงสัยผ่านไปไม่ได้ อย่างน้อย 3 ร่างที่มีปัญหา คือ ฉบับของนพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน และหัวหน้าพรรคเพื่อไทย และ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง ส.ส.บัญชีรายชื่อ และเลขาธิการพรรคประชาชาติและฉบับของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรคก้าวไกล ในส่วนของข้อเสนอให้แก้ไขมาตรา 28 มาตรา 29 ว่าด้วยการครอบงำพรรคการเมือง หากประชาชนใช้สิทธิเสนอแนะ ถือว่าเป็นการมีส่วนร่วมสามารถทำได้ แต่ต้องไม่ใช่ครอบงำจนขาดความเป็นอิสระ ที่รัฐธรรมนูญ มาตรา 45 กำหนดเป็นข้อห้ามไว้ รวมถึงประเด็นการตัดอำนาจศาลรัฐธรรมนูญกรณียุบพรรค
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
สส.เพื่อไทย ดี๊ด๊า ประเทศไทยมีระบบที่เป็นมาตรฐาน!
นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวว่าประชาชนที่ติดตามเรื่องนี้คงสบายใจขึ้นที่ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับ
สาวกเพื่อไทย ยื่นศาลรธน.สอบ 'ธนพร' ละเมิดอำนาจศาล
ที่บริเวณหน้าศาลรัฐธรรมนูญ นายนิยม นพรัตน์ หรือเค สามถุยส์ และนายทันกวินท์ รัฐวัฒก์อังกูร เดินทางมายังสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อยื่นหนังสือร้อง นายธนพร ศรียากูล ผู้อำนวยการสถาบันวิเคราะห์
'ชูศักดิ์' เผย 'เพื่อไทย' ได้รับความเป็นธรรม ศาลรธน. ไม่รับคำร้องปมล้มล้างการปกครอง
นายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงภายหลังที่ศาลรัฐธรรมนูญไม่รับคำร้องนายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ทนายอิสระ ที่ขอให้ศาลมีคำสั่งให้นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย(พท.) ยุติการกระทำที่เข้าข่ายล้มล้างการปกครองจะผูกพันไปยังกรณีที่มีการยื่นคำร้องเดียว
'อิ๊งค์' ยิ้มรับ 'พ่อ-เพื่อไทย' รอดล้มล้างปกครอง ชาวเน็ตชี้จากนี้ไป 'ทักษิณ' ใส่เกียร์เหลิง
จากกรณีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีมติไม่รับไว้พิจารณาวินิจฉัย คำร้องที่นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ในฐานะประชาชน ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ
2 ตุลาการศาลรธน.เสียงข้างน้อย รับคำร้อง 'ทักษิณ' สั่งรัฐบาลเอื้อประโยชน์ฮุนเซน น่าจะเกิดผลใช้สิทธิล้มล้างปกครองฯ
จากกรณีนายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ในฐานะประชาชน ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 10 ต.ค.2567 ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 กล่าวอ้างว่า นายทักษิณ ชินวัตร (ผู้ถูก
'แก้วสรร' แนะ 'ธีรยุทธ' ปรับยุทธวิธี เสริมความแกร่งของสำนวนมุ่งไปที่ กกต.-ปปช.
หลังตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีมติไม่รับไว้พิจารณาวินิจฉัย กรณีที่นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ในฐานะประชาชน ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ