"หมอชลน่าน" โต้ สอดไส้กฎหมายกระทำเพื่อคนใดคนหนึ่ง เชื่อ กม.ลูกเลือกตั้ง ส.ส.ผ่าน ส่วนพรรคการเมือง ต้องถกหนักประเด็นยุบพรรค เรื่องชี้นำครอบงำพรรค
21 ก.พ.2565 - ที่รัฐสภา นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน หัวหน้าพรรคเพื่อไทย (พท.) ในฐานะผู้นำฝ่ายค้าน สภาผู้แทนราษฎร ให้สัมภาษณ์ถึงการพิจารณากฎหมายลูกเกี่ยวกับการเลือกตั้งในการประชุมร่วมรัฐสภาวันที่ 24-25 กุมภาพันธ์นี้ว่า สิ่งที่สมาชิกรัฐสภาฯต้องร่วมกันพิจารณาคือจะรับหลักการร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.หรือไม่ ซึ่งร่างนี้ไม่น่าจะมีปัญหา ส่วนการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง ร่างนี้มีความจำเป็นต้องแก้ เพราะรัฐธรรมนูญที่แก้ไขเพิ่มเติมเปลี่ยนจำนวน ส.ส. ส.ส.บัญชีรายชื่อจากเดิม 100 คน มาเป็น 150 คน โดยอะไรที่เขียนไว้ว่า 150 ก็ต้องแก้ ส่วนประเด็นองค์ประกอบอื่นๆ ก็แล้วแต่สมาชิกที่สนใจว่าจะแก้ประเด็นอะไร ก็จะถือโอกาสแก้มาในรอบนี้ด้วย จึงมีหลักการที่หลากหลายมาก บางร่างมีหลักการถึง 31 จุด บางร่าง 17-18 จุด ซึ่งรัฐสภาอาจจะพิจารณารวมกันแล้วลงมติทีละร่างหรือไม่ ซึ่งบางร่างอาจจะไม่ถูกรับหลักการ หรือรับหลักการรวมกัน ซึ่งก็จะมีประเด็นที่จะเข้าสู่การพิจารราในวาระ 2 ค่อนข้างมาก
เมื่อถามว่า ทำใจไว้หรือไม่ว่าร่างของพรรค พท.ที่เสนอไปอาจจะไม่ผ่านรับหลักการ นพ.ชลน่าน กล่าวว่า ขึ้นอยู่กับเสียงข้างมาก เราพยายามจะชี้แจงหลักการและเหตุผลที่เราเสนอให้มากที่สุด เพราะถือว่าเป็นประโยชน์กับพรรคการเมือง เพราะร่างประกอบรัฐธรรมนูญที่เขียนออกมามีบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับพรรคการเมือง ที่ทำให้การดำเนินกิจกรรมของพรรคการเมืองมีปัญหามาก ประเด็นที่หลายพรรคเห็นว่าต้องแก้ เช่น มาตราที่เกี่ยวข้องกับการยุบพรรคการเมือง โดยเฉพาะมาตราที่ 28 มาตรา 29 เพราะหลายพรรคถูกยุบไปแล้วด้วยมาตรานี้ ด้วยข้อหาควบคุม หรือครอบงำพรรคการเมืองทำให้ถูกยุบพรรค แค่ในรัฐธรรมนูญเขียนไว้ว่าให้พรรคการเมืองทำงานอิสระ ปราศจากการครอบงำ หรือชี้นำจากคนที่ไม่เกี่ยวกับพรรคการเมือง รัฐธรรมนูญให้เพียงแต่ว่าให้ความเป็นอิสระในการทำกิจกรรมทางการเมือง
นพ.ชลน่าน กล่าวว่า แต่กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญที่ออกมารองรับนั้นเขียนกว้าง เฉพาะการตีความเรื่องการครอบงำ หรือชี้นำจึงเป็นปัญหามาก และเมื่อมีคนให้ข้อเสนอแนะมาแล้วพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งหยิบเอาไป โดยความยินยอมของกรรมการบริหารพรรคที่จะเอาสิ่งเหล่านั้นมาเข้าสู่กระบวนการพิจารณาแล้ว เอาไปเป็นกิจกรรมทางการเมือง ก็จะถูกเอาไปเป็นประเด็นถูกครอบงำพรรคได้ ทั้งที่เป็นประโยชน์กับพรรคการเมือง และการดำเนินโดยไม่ถูกคุกคามเรื่องความเป็นอิสระ หรือการยินยอมให้กระทำ ซึ่งหลายพรรคเห็นว่าเป็นการตีความกำกวม และร่างที่เสนอมาหลายฉบับเสนอมาให้ยกเลิกมาตรา 28, 29 เลย
“พรรคเพื่อไทยโดยผมถูกกล่าวหาว่าสอดไส้กระทำเพื่อคนใดคนหนึ่ง ต้องขอเรียนว่าเจตนารมณ์ของเรา การที่บัญญัติไว้อย่างนี้ในวรรค 1 เราไม่แตะเลย พรรคการเมืองยินยอมให้บุคคลภายนอกที่ไม่ใช่สมาชิกพรรคการเมืองไปชี้นำครอบงำ ครอบคลุมกิจกรรมของพรรคการเมือง โดยทำให้พรรคการเมืองไม่เป็นอิสระ หรือสมาชิกไม่เป็นอิสระเราคงไว้ทุกอย่าง แต่ขยายความในวรรค 2 ว่ากิจกรรมในวรรค 1 ไม่ได้ครอบคลุมถึงการชี้นำ ชี้แนะให้คำปรึกษาจากบุคคบลภายนอกที่เป็นใครก็ได้ที่เป็นประโยชน์กับพรรคการเมืองนั้น เราบอกว่าไม่ควรจะครอบคลุมเท่านั้นเอง โดยเขียนให้ชัดขึ้นเพื่อป้องกันการตีความ เช่น ถ้ามีนักวิชาการคนหนึ่งที่เราเชิญมา แล้วเขาชี้นำเราว่าควรทำอย่างนั้นอย่างนี้ ซึ่งพรรคเพื่อไทยเชิญมาเยอะมาก และเรานำไปพิจารณาประกอบจัดทำเป็นนโยบาย บุคคลเหล่านี้หากถูกนำไปตีความว่าเป็นบุคคลภายนอกและถูกชี้นำโดยเราขาดอิสรภาพก็ถูกยุบพรรคทันที ซึ่งไม่เป็นธรรมกับการพัฒนาด้านวิชาการ การเมืองและพรรคการเมืองจะถูกกลั่นแกล้งได้ ดังนั้น ต้องการแก้ปัญหาไม่อยากให้พรรคการเมืองถูกกลั่นแกล้ง
“ถ้าควบคุม ครอบงำชัดแจ้งเราไม่ว่า เพราะหลายพรรคถูกยุบพรรคด้วยเรื่องนี้ ขนาดไม่เขียนตรงๆ เช่น เรื่องเงินบริจาค หากเกิน 10 ล้าน ก็ตีความว่าพรรคถูกครอบงำแล้วถูกยุบพรรค ซึ่งไม่เป็นธรรม ดังนั้น ต้องดูพฤติกรรมและกิจกรรมที่เขาทำด้วยว่าขาดความเป็นอิสระหรือไม่” นพ.ชลน่านกล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
รองเลขาฯเพื่อไทย ฟาดกลับ 'ไอซ์ รักชนก' แซะแจกเงินหมื่นช่วงเลือกตั้งนายก อบจ.
น.ส.ลิณธิภรณ์ วริณวัชรโรจน์ สส.บัญชีรายชื่อ และรองเลขาธิการพรรคเพื่อไทย โพสต์ข้อความผ่าน X ว่า ใจเย็นๆ นิดนะคะ รัฐบาลตั้งใจส่งเงินหมื่นกระตุ้นเศรษฐกิจ ถึงมือกลุ่มเป้าหมายให้เร็วที่สุด
ระทึกสุดขีด! 22 พ.ย. ศาลรธน.ลงมติ 'รับ-ไม่รับ' คำร้อง 'ทักษิณ-เพื่อไทย' ล้มล้างการปกครอง
คอนเฟิร์ม ศุกร์นี้ 22 พ.ย. 9 ตุลาการศาลรธน.นัดประชุมวาระพิเศษ หลังงดมาสองรอบ เตรียมนำหนังสือ-ความเห็นอัยการสูงสุด กางบนโต๊ะประชุม ก่อนลุ้นโหวตลงมติ”รับ-ไม่รับคำร้อง”คดีทักษิณ-เพื่อไทย โดนร้องล้มล้างการปกครองฯ
'แพทองธาร' โชว์วิชั่น การเมืองมีเสถียรภาพ ประเทศไทยจะดีขึ้น!
นายกฯ โชว์วิชั่น Forbes ไทยสงบ สันติ หวังรัฐบาลเปลี่ยน นายกฯเปลี่ยน แต่นโยบายเพื่อปชช.เดินหน้า บอกต่างชาติเจอคำถามแรกถามพ่อ-อาเป็นอย่างไร ย้ำการเมืองมั่นคง มีเสถียรภาพแน่นอน
เดือดพลั่ก! ยธ. แถลงโต้ กมธ.มั่นคงฯ ไม่มีอำนาจเรียก ทวี-อธิบดีกรมคุก ชี้แจงทักษิณชั้น 14
นายสมบูรณ์ ม่วงกล่ำ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม พร้อมด้วย นายวรชัย บุตรดาบุตร เลขานุการกรมราชทัณฑ์ นายณรงค์ หนูคง ผู้ตรวจราชการกรมราชทัณฑ์ และ น.ส.วริศรา กุญชร ณ อยุธยา ผอ.กองกฎหมาย
เดือด! 'โตโต้' สวน ยธ. ยันมีอำนาจสอบทักษิณป่วยทิพย์ ลั่น กมธ.มั่นคงฯทำงานครอบจักรวาล
นายปิยรัฐ จงเทพ สส.กทม.พรรคประชน (ปชน.) ในฐานะโฆษกคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทย ยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ สภาผู้แทนราษฎร
ไทยในสายตาต่างชาติ (ตอนที่ 48: พระราชกฤษฎีกา 1 เมษายน 2476 คือ การทำรัฐประหารเงียบหรือ ?)
ในตอนที่แล้ว ผู้เขียนได้สรุปเหตุการณ์สำคัญต่างๆที่เป็นเงื่อนไขที่นำมาสู่การประกาศพระราชกฤษฎีกาวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476