21 ก.พ.2565 - นายพชร นริพทะพันธุ์ กรรมการบริหาร และคณะทำงานเศรษฐกิจพรรคเพื่อไทย กล่าวว่าตามที่พรรคเพื่อไทยและพรรคร่วมฝ่ายค้านได้ร่วมกันอภิปรายไม่ไว้วางใจตาม ม.152 แต่พลเอกประยุทธ์ กลับตอบในสภาไม่ตรงกับคำถาม ตอบเหมือนเขียนบทล่วงหน้ามาอ่าน ไม่ได้ตอบตรงคำถามที่ ส.ส. พรรคเพื่อไทยอภิปรายเลย แถมยังตอบด้วยอารมณ์ฉุนเฉียว โทษรัฐบาลที่แล้วทั้งที่ผ่านมาตั้ง 8 ปีแล้ว โทษประชาชน โทษภาวะของโลก แต่ไม่ยอมรับความผิดพลาดจากการบริหารของตนเองเลยโดยคนทั้งประเทศเห็นอย่างชัดเจน ซึ่งหากยังไม่ยอมรับปัญหาทำเหมือนไม่ใช่ปัญหา พูดเหมือนทุกอย่างดีแล้ว ซึ่งจะไม่มีทางที่จะแก้ปัญหาได้เลย ประชาชนจะยิ่งลำบากกันมากขึ้น
โดยเฉพาะปัญหาเศรษฐกิจที่ประชาชนกำลังเดือดร้อนกันอย่างมากจากความล้มเหลวในการบริหารของพลเอกประยุทธ์ แต่พลเอกประยุทธ์ ทำเหมือนไม่ใช่ปัญหาและปัดความรับผิดชอบ โดยมีหลายประเด็นที่พลเอกประยุทธ์ ไม่ได้ตอบเช่น ปัญหาของแพงพลเอกประยุทธ์ จะรับมืออย่างไร ปัญหาอันดับการทุจริตที่แย่ลงเรื่อยๆ จะแก้ไขอย่างไร จะอ้างว่าตนเองไม่ทุจริตแต่ดัชนีการทุจริตกลับทรุดลง 5 ปีซ้อน ปัญหาคนจนที่เพิ่มขึ้น คนตกงานที่พุ่งสูง ปัญหาราคาน้ำมันที่จะสูงขึ้นไปอีก การโอนเงินกองทุนส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน 20,087.42 ล้านบาทไป จะนำมาคืนประชาชนเมื่อไหร่ การที่ ปตท. ไปซื้อบริษัทต่างชาติ 1.48 แสนล้านบาท เหมาะสมหรือไม่ ในภาวะที่เศรษฐกิจไทยย่ำแย่ คนตกงานกันมากเพราะประเทศไทยขาดการลงทุน แต่ปตท. กลับขนเงินไปลงทุนต่างประเทศ ปัญหาการท่องเที่ยว และจะยกเลิกค่าเหยียบแผ่นดินคนละ 300 บาทที่จะเป็นปัญหาหรือไม่ ความเสียหายจากความล่าช้าในการสร้างรถไฟความเร็วสูงทำให้ลาวแซงหน้าไทย ปัญหาโรคอหิวาต์แอฟริกาในหมู (ASF) ที่จะทำให้ราคาหมูแพงเป็นปีๆ รวมถึงปัญหาโรคลัมปีสกินในวัว ปัญหาประสิทธิภาพทางการเกษตรที่พลเอกประยุทธ์ ไม่ได้พัฒนาเลยตลอด 7 ปี
นายพชร กล่าวต่อว่านอกจากนี้ยังมี ปัญหาการเก็บภาษีเพิ่มขึ้นหลายเรื่องโดยเฉพาะภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่จะเก็บเพิ่มขึ้น 10 เท่า ปัญหาการอนุญาตให้ปิดกิจการประกันภัยที่รับประกันโควิดเพื่อหลีกเลี่ยงการจ่ายเงินคนที่ติดโควิดอีกในอนาคตที่โยงกับการซื้อที่ดิน 600 ล้านบาท ปัญหาการเอื้อประโยชน์เจ้าสัวในการปล่อยให้มีการผูกขาดทั้งการควบรวมแม็คโครกับโลตัส และ ล่าสุดการควบรวม True-DTAC และที่เป็นประเด็นสำคัญที่คนทั้งประเทศสนใจปัญหาเหมืองทองอัครา ที่มีการให้สัมปทานเกือบล้านไร่ เพื่อแลกการถอนคดีพิพาทที่พลเอกประยุทธ์ อาจจะแพ้เพราะใช้ ม. 44 นอกจากนี้ยังมีปัญหาอนาคตที่พลเอกประยุทธ์ ต้องรับมือ เช่น ปัญหาราคาสินค้าแพงและเงินเฟ้อที่จะมากขึ้น ปัญหาราคาน้ำมันที่จะแพงขึ้นไปอีก ปัญหาอัตราดอกเบี้ยที่จะสูงขึ้นตามอัตราดอกเบี้ยของโลกที่จะเพิ่มขึ้น ปัญหาที่รัฐบาลอาจจะหมดกระสุนอัดฉีดเงินแล้ว และปัญหาประชาชนไม่มีรายได้มาเพิ่มกำลังซื้อในการบริโภค ฯลฯ ที่พลเอกประยุทธ์ ยังไม่ได้ตอบแนวทางที่จะแก้ปัญหาเหล่านี้เลย
"ผลจากการอภิปรายและจากสภาวะเศรษฐกิจที่จะเสื่อมถอยลงไปเรื่อยๆ เชื่อได้ว่าประชาชนจะทนกันไม่ไหว และจะต้องมีการเรียกร้องให้พลเอกประยุทธ์ ออกจากตำแหน่ง และเสียงเรียกร้องจะดังขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นจึงขอเตือนพลเอกประยุทธ์ ระวังให้ดี ถ้ายังดื้ออยู่ให้ถึงเดือนพฤษภาคมที่พรรคร่วมฝ่ายค้านจะเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ ม. 151 ที่จะมีการลงคะแนนเสียงด้วย ถึงตอนนั้นปัญหาต่างๆ จะเพิ่มขึ้นอีกมากมาย และประชาชนคงจะทนกันไม่ไหวแล้ว และจะกดดันมาที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรให้ไม่เอาพลเอกประยุทธ์ อีกต่อไปเพราะหากยังรับรองนายกต่อ ประชาชนก็คงไม่เลือกกลับมาในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้าเป็นแน่ ประกอบกับความไม่เป็นเอกภาพภายในพรรคร่วมรัฐบาลเอง โอกาสที่พลเอกประยุทธ์ จะถูกโหวตไม่ไว้วางใจจึงมีสูงมาก และจะเป็นไปได้สูงที่พลเอกประยุทธ์ จะถูกไฮแจ็คตำแหน่งนายกรัฐมนตรีกลางสภาตามคำเตือน ดังนั้นพลเอกประยุทธ์ ควรจะต้องยุบสภาหรือลาออกก่อนการอภิปราย ม. 151 เพราะหากพลเอกประยุทธ์ ยังไม่รู้ตัวอีกไม่นานคงได้เห็นอะไรดีๆในสภาอย่างแน่นอน โดยหากเป็นจริงจะทำให้ประชาชนดีใจกันทั้งประเทศ" นายพชร กล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
สส.เพื่อไทย ดี๊ด๊า ประเทศไทยมีระบบที่เป็นมาตรฐาน!
นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวว่าประชาชนที่ติดตามเรื่องนี้คงสบายใจขึ้นที่ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับ
'อิ๊งค์' ยิ้มรับ 'พ่อ-เพื่อไทย' รอดล้มล้างปกครอง ชาวเน็ตชี้จากนี้ไป 'ทักษิณ' ใส่เกียร์เหลิง
จากกรณีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีมติไม่รับไว้พิจารณาวินิจฉัย คำร้องที่นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ในฐานะประชาชน ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ
ระทึกสุดขีด! 22 พ.ย. ศาลรธน.ลงมติ 'รับ-ไม่รับ' คำร้อง 'ทักษิณ-เพื่อไทย' ล้มล้างการปกครอง
คอนเฟิร์ม ศุกร์นี้ 22 พ.ย. 9 ตุลาการศาลรธน.นัดประชุมวาระพิเศษ หลังงดมาสองรอบ เตรียมนำหนังสือ-ความเห็นอัยการสูงสุด กางบนโต๊ะประชุม ก่อนลุ้นโหวตลงมติ”รับ-ไม่รับคำร้อง”คดีทักษิณ-เพื่อไทย โดนร้องล้มล้างการปกครองฯ
'แพทองธาร' โชว์วิชั่น การเมืองมีเสถียรภาพ ประเทศไทยจะดีขึ้น!
นายกฯ โชว์วิชั่น Forbes ไทยสงบ สันติ หวังรัฐบาลเปลี่ยน นายกฯเปลี่ยน แต่นโยบายเพื่อปชช.เดินหน้า บอกต่างชาติเจอคำถามแรกถามพ่อ-อาเป็นอย่างไร ย้ำการเมืองมั่นคง มีเสถียรภาพแน่นอน
ไทยในสายตาต่างชาติ (ตอนที่ 48: พระราชกฤษฎีกา 1 เมษายน 2476 คือ การทำรัฐประหารเงียบหรือ ?)
ในตอนที่แล้ว ผู้เขียนได้สรุปเหตุการณ์สำคัญต่างๆที่เป็นเงื่อนไขที่นำมาสู่การประกาศพระราชกฤษฎีกาวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476
'ชูศักดิ์' บอกรู้ตั้งแต่เห็นคำร้อง 'ธีรยุทธ' ไปไม่ได้ เหตุไม่เข้าเกณฑ์ล้มล้างปกครอง
นายชูศักดิ์ ศิรินิล รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวถึงกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญนัดพิจารณา