17 ก.พ.2565 - ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเมื่อเวลา 13.30น. ที่รัฐสภานายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ส.บัญชีรายชื่อ รองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ แถลงว่า นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน หัวหน้าพรรคเพื่อไทย ในฐานะผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ได้กล่าวเปิดญัตติอภิปรายทั่วไปไม่ลงมติ ตามรัฐธรรมมาตรา152 เพื่อซักถามข้อเท็จจริงและเสนอแนะปัญหาต่อคณะรัฐมนตรี(ครม.) เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา แต่ในการอภิปรายช่วงท้าย นพ.ชลน่าน ก็พูดลักษณะที่ทำให้พรรคร่วมรัฐบาลเสียหาย โดยเฉพาะพรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) ที่เป็นแกนนำพรรคร่วมรัฐบาล เกี่ยวกับองค์ประชุม โดยโยนความผิดให้ส.ส.ฝ่ายรัฐบาล
อย่างไรก็ตามจากที่ตนติดตามการโหวต นพ.ชลน่าน และพรรคเพื่อไทยกำลังปกปิดความจริงหรือไม่ ทั้งที่ความจริงแล้วพรรคเพื่อไทย มาร่วมโหวตในสภาฯน้อยมาก ส่วนใหญ่มาแค่เซ็นชื่อหน้าห้องประชุมแล้วเดินทางกลับ จึงใช้วิธีพูดกลบเกลื่อนในสภาฯ เพื่อไม่ให้ประชาชนรู้ว่าพรรคเพื่อไทยไม่ได้ทำงานตามที่ประชาชนคาดหวัง
นายไพบูลย์ กล่าวว่าจากข้อมูลตั้งแต่เดือนธ.ค.64-ปัจจุบัน ส.ส.พรรคเพื่อไทยทั้งหมด 132 คน มีการโหวตทั้งสิ้น 159 โหวต ยกตัวอย่างส.ส.คนสำคัญในพรรค 3 คน 1.นพ.ชลน่าน โหวตเพียงแค่ 37 ครั้ง จาก 159 โหวต ไม่ได้โหวต 122 ครั้ง คิดเป็น23.27เปอร์เซ็นต์
2.นายประเสิรฐ จันทรรวงทอง ส.ส.นครราชสีมา เลขาธิการพรรคเพื่อไทย โหวตเพียงแค่ 23 ครั้ง จาก159โหวต ไม่โหวต 136 ครั้ง คิดเป็น 14.04 เปอร์เซ็นต์ และ3.นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน ส.ส.เชียงราย พรรคเพื่อไทย ที่มักเสนอนับองค์ประชุมเพื่อช่วยปกปิดการทำงาน โดยชอบอ้างองค์ประชุมล่ม โหวตเพียงแค่43ครั้ง จาก159โหวต ไม่โหวต116ครั้ง คิดเป็น 47 เปอร์เซ็นต์ สรุปค่าเฉลี่ย ส.ส.พรรคเพื่อไทย โหวตทั้งสิ้น 46 ครั้ง ไม่โหวต 113 ครั้ง จากทั้งหมด159โหวต คิดเป็น 29 เปอร์เซ็นต์” นายไพบูลย์ กล่าว
นายไพบูลย์ กล่าวต่อว่า ยังมีส.ส.พรรคเพื่อไทยบางคนที่โหวตไม่ถึง10เปอร์เซ็นต์ จะตอบคำถามอย่างไร เป็น ส.ส.ไม่ทำงานในสภา กินภาษีประชาชนเป็นค่าตำแหน่ง สวัสดิการมากมาย ซึ่งรัฐธรรมนูญ มาตรา101 (12) ได้กำหนดเรื่องการสิ้นสุดสมาชิกภาพของส.ส.ว่า ขาดประชุมเกิน1ใน 4 ของวันประชุมในสมัยประชุมที่มีกำหนดเวลาไม่น้อย 120 วันโดยไม่ได้รับอนุญาตจากประธานสภาฯ ซึ่งตนคิดว่าการประชุมก็คือต้องเข้าร่วมโหวตด้วย หากตรวจสอบพบไม่ปรากฎหลักฐานในอนาคต จะเกิดปัญหาแน่ แต่ตนยืนยันว่าคงไม่ไปร้องศาล เพียงแค่ตรวจสอบการทำงานของส.ส. ที่เป็นตัวอย่างไม่ดีกับเยาวชน
เมื่อถามว่า ทำไมถึงไม่ไปร้องต่อศาลให้วินิจฉัย นายไพบูลย์ กล่าวว่า ข้อกฎหมายชัดอยู่แล้ว ซึ่งสังคมไทยปัจจุบันมีการตรวจสอบอยู่แล้ว เชื่อว่าคงจะมีคนที่ส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญ หรือคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ วินิจฉัย เดี๋ยวก็คงทราบ ตนเพียงแค่รวบรวมข้อมูล เสนอกฎหมาย เมื่อถามย้ำว่า ในเมื่อรวบรวมข้อมูลแล้ว ทำไมไม่ไปฟ้องเองเลย นายไพบูลย์ กล่าวว่า ขอคิดดูก่อน ตนไม่อยากฟ้องให้เสียบรรยากาศ แต่ถ้าหากเกินเลยไปก็คงต้องสงวนสิทธิ์
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ดร.เสรี ยกธงขาว! ประชดยกประเทศให้เขาไป
ดร.เสรี วงษ์มณฑา นักวิชาการด้านการตลาดและการสื่อสาร โพสต์เฟซบุ๊กว่า ออกแรงกันแค่ไหน ชุมนุมก็แล้ว ยื่นคำร้องก็แล้ว ทักท้วงก็แล้ว
สส.เพื่อไทย ดี๊ด๊า ประเทศไทยมีระบบที่เป็นมาตรฐาน!
นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวว่าประชาชนที่ติดตามเรื่องนี้คงสบายใจขึ้นที่ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับ
'อิ๊งค์' ยิ้มรับ 'พ่อ-เพื่อไทย' รอดล้มล้างปกครอง ชาวเน็ตชี้จากนี้ไป 'ทักษิณ' ใส่เกียร์เหลิง
จากกรณีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีมติไม่รับไว้พิจารณาวินิจฉัย คำร้องที่นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ในฐานะประชาชน ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ
ระทึกสุดขีด! 22 พ.ย. ศาลรธน.ลงมติ 'รับ-ไม่รับ' คำร้อง 'ทักษิณ-เพื่อไทย' ล้มล้างการปกครอง
คอนเฟิร์ม ศุกร์นี้ 22 พ.ย. 9 ตุลาการศาลรธน.นัดประชุมวาระพิเศษ หลังงดมาสองรอบ เตรียมนำหนังสือ-ความเห็นอัยการสูงสุด กางบนโต๊ะประชุม ก่อนลุ้นโหวตลงมติ”รับ-ไม่รับคำร้อง”คดีทักษิณ-เพื่อไทย โดนร้องล้มล้างการปกครองฯ
'แพทองธาร' โชว์วิชั่น การเมืองมีเสถียรภาพ ประเทศไทยจะดีขึ้น!
นายกฯ โชว์วิชั่น Forbes ไทยสงบ สันติ หวังรัฐบาลเปลี่ยน นายกฯเปลี่ยน แต่นโยบายเพื่อปชช.เดินหน้า บอกต่างชาติเจอคำถามแรกถามพ่อ-อาเป็นอย่างไร ย้ำการเมืองมั่นคง มีเสถียรภาพแน่นอน
ไทยในสายตาต่างชาติ (ตอนที่ 48: พระราชกฤษฎีกา 1 เมษายน 2476 คือ การทำรัฐประหารเงียบหรือ ?)
ในตอนที่แล้ว ผู้เขียนได้สรุปเหตุการณ์สำคัญต่างๆที่เป็นเงื่อนไขที่นำมาสู่การประกาศพระราชกฤษฎีกาวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476