'เทพไท' ยก 7 เหตุผลหนุนอภิปรายตามมาตรา 152

'เทพไท' หนุนอภิปรายตามมาตรา 152 อ้าง 7 เหตุผลข้อดีในการจ้อผ่านเวทีสภาผู้แทนราษฎร หวังไม่มีการจัดตั้งองครักษ์พิทักษ์

17 ก.พ.2564 - นายเทพไท เสนพงศ์ อดีต ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) โพสต์เฟซบุ๊กในหัวข้อว่า “การอภิปรายทั่วไป ตามมาตรา 152 เป็นการตรวจสอบตามรัฐธรรมนูญ” ระบุว่า ในช่วงวันที่ 17-18 ก.พ.นี้ มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อพิจารณาญัตติการเปิดอภิปราย ตามมาตรา 152 แห่งรัฐธรรมนูญ ปี 2560 เป็นการเปิดอภิปรายทั่วไป โดยไม่มีการลงมติ ซึ่งเป็นการทำหน้าที่ของฝ่ายค้านต่อฝายรัฐบาล ที่ควรให้การสนับสนุนด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้คือ

1.เป็นการตรวจสอบ ถ่วงดุลของฝ่ายนิติบัญญัติ ต่อฝ่ายบริหาร ตามวิถีทางในการปกครองระบอบประชาธิปไตย

2.เป็นการเปิดโอกาสให้ฝ่ายค้าน ได้อภิปรายนำข้อมูลเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดิน ข้อบกพร่อง การทุจริตคอร์รัปชัน มาตีแผ่ให้สังคมได้รับทราบ

3.ฝ่ายรัฐบาลสามารถชี้แจงเหตุผล ข้อกล่าวหาที่ถูกอภิปราย และได้ถือโอกาสนี้แถลงผลงานของรัฐบาลไปในตัวด้วย

4.เป็นการใช้เวทีสภาผู้แทนราษฎร มาพิสูจน์ความจริงของทั้ง 2 ฝ่าย ซึ่งดีกว่าการไปกล่าวหากันไปมา ให้เกิดวิวาทะตามหน้าสื่อมวลชน หรือในโลกโซเชียล

5.ประชาชนในฐานะเจ้าของประเทศ จะได้รับฟังเหตุผลทั้ง 2 ฝ่าย และจะได้ชั่งน้ำหนักว่า ฝ่ายใดมีเหตุผลที่น่าเชื่อถือมากกว่ากัน เป็นการพิสูจน์ความน่าเชื่อถือทั้งของฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาลไปพร้อมกัน

6.ถ้าฝ่ายค้านสามารถนำข้อมูล ใบเสร็จมาประกอบการอภิปรายข้อกล่าวหา อย่างสมเหตุสมผล ก็อาจจะทำให้รัฐบาลล้มได้ แม้จะมีเสียงข้างมากในสภาก็ตาม แต่ไม่สามารถต้านกระแสของสังคมได้

7.ถ้าหากฝ่ายรัฐบาล สามารถชี้แจงข้อกล่าวหา และนำเหตุผลมาหักล้างข้อกล่าวหาทั้งหมดได้ ก็จะทำให้รัฐบาลมีความน่าเชื่อถือ เป็นที่ยอมรับของประชาชน รัฐบาลก็สามารถบริหารประเทศต่อไปได้อีกจนครบเทอม

ส่วนตัวอยากเห็นบรรยากาศการประชุมในครั้งนี้เป็นไปด้วยความสร้างสรรค์ และปฏิบัติตามข้อบังคับการประชุมอย่างเคร่งครัด ไม่ควรมีการอภิปรายที่ผิดข้อบังคับ ฝ่ายค้านต้องไม่นำหลักฐานข้อมูลอันเป็นเท็จมากล่าวหากัน ฝ่ายรัฐบาลที่ถูกกล่าวหา ก็ควรจะชี้แจงข้อกล่าวหาอย่างตรงไปตรงมา ไม่ควรมีองครักษ์ มาคอยขัดขวางการอภิปรายของฝ่ายค้านให้เกิดความวุ่นวาย ต้องเปิดโอกาสให้ 2 ฝ่าย ได้ทำหน้าที่กันอย่างเต็มที่ ทั้งผู้กล่าวหาและผู้ถูกกล่าวหา เป็นการใช้เวทีสภาผู้แทนราษฎร เพื่อพิสูจน์ตัวเองให้เป็นที่ยอมรับของประชาชน นับว่าเป็นความสวยงามของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ดัชนีการเมืองไทยร่วง! ปากท้องฉุดเรตติ้งรัฐบาล 'เศรษฐา' ตามหลัง 'พิธา'

วนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “ดัชนีการเมืองไทย ประจำเดือนมิถุนายน 2567” กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 2,367 คน

ปูดดีลใหญ่พลิก! จับตาสอย 'เศรษฐา' ดัน 'อนุทิน' นายกฯ

นายไพศาล พืชมงคล นักกฎหมาย และอดีตกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก

‘สรรเพชญ’ เบรก รบ.อย่าคิดขายชาติ ย้อน ‘พท.’ อย่าถ่มน้ำลายรดหน้าตัวเองซ้ำอีก

นายกรัฐมนตรีที่ได้รับสมญานามว่าเป็น เจ้าพ่ออสังหาริมทรัพย์ ที่มีความต้องการดำเนินการเรื่องนี้อย่างจริงจัง ซึ่งทำให้สังคมเกิดความสงสัยเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนหรือต้องการเอื้อผลประโยชน์ให้กับใครหรือไม่

เปิดใจ 'ชวน' วางมือการเมืองหรือลงเลือกตั้งต่อ? เชื่อ 'อภิสิทธิ์' ไม่ไปไหนรอกลับมาช่วย ปชป.

นายชวน หลีกภัย ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ อดีตนายกรัฐมนตรีและอดีตประธานรัฐสภากล่าวถึงอนาคตทางการเมืองของตัวเอง หลังเป็นส.ส.มา 17 สมัยติดต่อกัน หลังมีกระแสข่าวทั้งพรรคประชาธิปัตย์อาจไม่ส่งนายชวน ลงสมัครส.ส.บัญชีรายชื่อของพรรคในการเลือกตั้งครั้งหน้าและกระแสข่าวเตรียมวางมือทางการเมือง

เหลียวหลังแลหน้า 92 ปี ปชต. กรีดดีลลับอันตราย! รัฐบาล มีโอกาสอยู่ครบเทอม

ตั้งแต่สัปดาห์หน้าเป็นต้นไป การเมืองในรัฐสภาทั้งสภาล่างคือสภาผู้แทนราษฎร และสภาสูงคือวุฒิสภา ที่ตอนนี้ผ่านกระบวนการเลือกสมาชิกวุฒิสภา (สว.)