8 ก.พ.2565 - ที่รัฐสภา ในการประชุมร่วมรัฐสภา ที่มีนายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา ทำหน้าที่ประธานการประชุม ได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) กำหนดระยะเวลาดำเนินงานในกระบวนการยุติธรรม พ.ศ. .... ที่คณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ ในวาระหนึ่ง รับหลักการ
โดยร่างพ.ร.บ.ดังกล่าว เป็นร่างกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปด้านกระบวนการยุติธรรม ที่ต้องกำหนดระยะเวลาดำเนินงานทุกขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรมที่ชัดเจน เพื่อให้ประชาชนได้รับความยุติธรรมโดยไม่ล่าช้า มีสาระรวมทั้งสิ้น 12 มาตรา มีบทบัญญัติกำหนดให้ 9 หน่วยงาน คือ กระทรวงมหาดไทย, กระทรวงยุติธรรม, กรมพระธรรมนูญ, สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.), สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ป.ป.ง.), สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.), ศาล , องค์กรอัยการ และ หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา กำหนดระยะพิจารณาในขั้นตอนต่างๆ พร้อมกำหนดรายละเอียด อาทิ ให้มีการดำเนินการทางวินัย กับเจ้าหน้าที่มีส่วนเกี่ยวข้องในกระบวนการยุติธรรม หากทำงานล่าช้าเกินสมควรแก่เหตุและไม่มีเหตุสมควร พร้อมให้มีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศหรือวิธีอื่นที่ทำให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าถึงข้อมูลโดยสะดวก
อย่างไรก็ตาม สมาชิกรัฐสภาส่วนใหญ่อภิปรายเห็นด้วยในหลักการ แต่ได้เสนอแนะให้เพิ่มหน่วยงานที่ต้องถูกบังคับตามร่างกฎหมายดังกล่าว อาทิ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.), สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) เป็นต้น พร้อมตั้งข้อสังเกตว่าเหตุที่ กกต. ไม่ถูกบัญญัติไว้ในร่างกฎหมาย อาจเป็นการจงใจของฝ่ายผู้มีอำนาจที่ต้องการใช้กลไกของกกต. ที่กำกับการเลือกตั้ง ประกาศผลการเลือกตั้งไปในทางที่เอื้อประโยชน์ให้ตนเองได้ รวมถึงมีข้อเสนอให้ หน่วยงานในสังกัดกระทรวงยุติธรรม เช่น กรมราชทัณฑ์ กำหนดระยะเวลา หรือ รายละเอียดเกี่ยวกับการเลื่อนชั้นนักโทษ ในคดีร้ายแรง หรือคดีที่มีผลเสียหายกับประเทศ คดีทุจริต เช่น คดีจำนำข้าว เพื่อป้องกันการเลื่อนชั้นนักโทษที่มีผลต่อการพิจารณาลดโทษที่ไม่เหมาะสม
ที่สุด ที่ประชุมร่วมรัฐสภาลงมติรับหลักการของร่างพ.ร.บ.ดังกล่าว ด้วยมติ 607 ต่อ 1 เสียง งดออกเสียง 1 เสียง และไม่ลงคะแนน 3 เสียง และได้ตั้งกมธ.วิสามัญ จำนวน 35 คน พิจารณา ทั้งนี้ ที่ประชุมรัฐสภาใช้เวลาพิจารณาเกือบ 5 ชั่วโมง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
กกต. เตือนข้อพึงระวังหาเสียงและยื่นบัญชีค่าใช้จ่ายเลือกตั้ง อบจ.
สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ออกเอกสารประชาสัมพันธ์ข้อพึงระวังในการหาเสียง การรายงานค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเลือกตั้ง เพื่อให้
แฉอีโม่ง วิ่งเต้นล้มปมชั้น 14 เตือนหยุดทำเถอะ
นายจตุพร พรหมพันธุ์ วิทยากรคณะหลอมรวมประชาชน เฟซบุ๊คไลฟ์ว่า นับตั้งแต่ต้นปี 2568 ให้จับตาดูวันที่ 15 ม.ค.ที่แพทยสภาขีดเส้นตายให้แพทย์รักษาทักษิณ ชินวัตร ชั้น 14 ส่งรายงานการรักษามาตรวจสอบการเอื้อหนีติดคุก แล้วยังต้องติดตามผลตรวจสอบของ ป.ป.ช.กรณีชั้น
สภาเดือด! ถกปัญหาลงทะเบียนแรงงานเมียนมา
'สหัสวัต' ไม่ทน ถามถ้าผมเป็น 'ประชาชนพม่า' แล้วรัฐบาลเป็นอะไร เอื้อ 'รบ.ทหารพม่า' จนเป็นหนึ่งเดียวขนาดนี้ หวั่นทำแรงงานตกค้าง ด้าน 'พิพัฒน์' แจง หากไม่ทันเสนอ ครม.ยืดอายุได้
'เท้งเต้ง' เซ็ง 'แพทองโพย' เบี้ยวกระทู้สดชงสภาแก้ข้อบังคับการประชุม
'หัวหน้าเท้ง' หารือประธานสภาฯ ขอให้แก้ข้อบังคับการประชุม หลัง 'นายกฯ' เลี่ยงตอบแล้ว 3 หน ปมค่าไฟแพง เหน็บเมื่อวานนักข่าวถามจะไปสภาหรือไม่ 'อิ๊งค์' กลับตอบ 'เมอร์รี่คริสต์มาส'
มีแม้วไม่มีเรา! วัดใจจุดยืน 'พรรคส้ม' หลังทักษิณขีดเส้นแบ่งข้างทุกเวทีแล้ว
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่า "พรรคส้มกล้าไหม? มีแม้วไม่มีเรา!
ดร.เสรี ฟาดพรรคขี้โม้-พรรควาทกรรม
ดร.เสรี วงษ์มณฑา นักวิชาการด้านการตลาดและการสื่อสาร โพสต์เฟซบุ๊ก ว่า “พรรคหนึ่งมีแต่วาทกรรม ไม่เคยทำงาน