กลัวตกขบวน! 'ก้าวไกล' ค้านต่อสัมปทานสายสีเขียว 'วิโรจน์' จวกผู้ว่าฯกทม.ไร้บทบาท

ไม่ยอมตกขบวน "ก้าวไกล" ร่วมโวยขยายสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว บี้ กทม.กระตือรือร้นมากกว่านี้ ชี้ ทำคนกรุง แบกภาระ ค่าโดยสารแพง

8 ก.พ.2565 - ที่ห้องแถลงข่าวอาคารรัฐสภา นายสุรเชษฐ์ ประวีณวงศ์วุฒิ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ว่าที่ผู้สมัครผู้ว่ากทม. พรรคก้าวไกล ร่วมแถลงข่าวคัดค้านการที่ครม.เตรียมจะเห็นชอบ การต่อสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว ที่กำลังจะสิ้นสุดลงในปี 2572 ออกไปอีก30ปี ทำให้สัญญาขยายไปถึง พ.ศ.2602 ที่ทำให้ประชาชนต้องจ่ายค่าแรกเข้าซ้ำซ้อน เป็นเหตุให้อัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวแพง

นายสุรเชษฐ์กล่าวว่า พรรคก้าวไกลได้คัดค้านการต่อสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวมาตั้งแต่ปี2562 และตั้งกรรมาธิการวิสามัญศึกษา ซึ่งเสียงส่วนใหญ่คัดค้าน พร้อมทั้งเสนอให้แก้ไขสัญญาอย่างเป็นธรรม โปร่งใส แต่รัฐบาลก็ยังดึงดันจะต่อสัญญาออกไป เห็นได้จากการประชุมครม.วันที่8ก.พ. ที่มีความพยายามจะต่อสัญญาออกไปอีก30ปี พรรคก้าวไกลขอคัดค้าน และเห็นว่าทางออกเรื่องนี้คือ ผลักดันให้เกิดตั๋วร่วม โดยบริษัทบีทีเอส ควรจะเข้าร่วมค่าโดยสารร่วมด้วยครอบคลุมไปถึงประชาชนที่สัญจรทั้งทางรถไฟฟ้า และรถเมล์ด้วย การมาแถลงข่าวครั้งนี้อยากจะชี้ให้ประชาชนเห็นว่า ใครทำอะไร เมื่อการเลือกตั้งที่จะมาถึงควรเลือกพรรคที่จะมาแก้ปัญหาเรื่องนี้ให้กับประชาชน โดยไม่เอื้อให้กับบริษัทเอกชน ส่วนกรณีรัฐมนตรีในพรรคภูมิใจไทยทั้ง 7 คนแสดงจุดยืนคัดค้าน โดยไม่ขอเข้าร่วมประชุมครม.ในวันที่8ก.พ. แน่นอนเรื่องนี้ อาจมีทั้งเห็นตรงกัน ต่างกัน แต่เรื่องนี้พรรคก้าวไกลกับพรรคภูมิใจไทยเห็นตรงกัน ที่ไม่ควรขยายสัญญาสัมปทาน จากสัญญาปัจจุบันออกไป

นายวิโรจน์กล่าวว่า คนกทม.เผชิญกับค่าโดยสารรถไฟฟ้าแพง เนื่องจากมีสัญญาสัมปทานพัวพันกันมากกว่า 10 ฉบับ ต้องจ่ายค่าแรกเข้าซ้ำซ้อนเวลาเดินทางที่ต้องเปลี่ยนเส้นทาง เปลี่ยนสี ก็ต้องมาจ่ายค่าแรกเข้าใหม่ ทำให้ค่าโดยสารแพง ผู้ว่ากทม. ต้องกระตือรือร้น ทำให้มั่นใจว่า การที่จะต่อสัญญารถไฟฟ้าสายสีเขียวที่จะหมดในปี 2572 และจะมีการต่อสัญญาจากวันนี้ออกไป รวมเป็น 37ปี ที่จะไปสิ้นสุดลงในปีพ.ศ.2602 ต้องทำให้มั่นใจว่า มีการพูดถึงตั๋วร่วม ค่าโดยสารร่วมด้วยหรือไม่ แต่เท่าที่ติดตามคือ ยังไม่มี ดังนั้นจะทำให้คนกทม.ต้องรับภาระ ค่ารถไฟฟ้าแพง ผู้ว่ากทม.แม้จะมีอำนาจจำกัด แต่ท่านก็ต้องดูแลค่าครองชีพให้ประชาชน ไม่อยากให้เกิดเหมือนกรณีเมื่อปี 2558 ที่ได้ไปรับส่วนต่อขยายจาก รฟม.ทำให้เป็นหนี้กว่าแสนล้านบาท เป็นหนี้ค่าจ้างเดินรถ เนื่องจากประเมินผู้โดยสารผิดพลาด จนมาถึงเรื่องนี้ก็ยังไม่เห็นบทบาทผู้ว่ากทม. ที่กระตือรือร้นว่าจะแก้ไขปัญหาเรื่องนี้ให้ประชาชนอย่างไร

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 20)

รัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490

‘สามารถ’ ชำแหละ ‘ลดค่าผ่านทาง’ แลก ‘ขยายสัมปทาน’ ใครได้ประโยชน์ ?

ใกล้ถึงเวลาจะขึ้นค่าผ่านทางไม่ว่าจะเป็นทางด่วนหรือดอนเมืองโทลล์เวย์คราใด ภาครัฐมักจะเจรจากับเอกชนผู้รับสัมปทานให้ชะลอการขึ้นค่าผ่านทาง เพื่อลดภาระค่าครองชีพของผู้ใช้บริการ

'นิพิฏฐ์' จะเสียภาษีให้น้อยที่สุด หวั่นถูกนำไปสร้างความเข้มแข็งให้นักการเมือง

นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ อดีตสส.พัทลุง โพสต์เฟซบุ๊กว่า มีคำกล่าวว่า “หากต้องการรู้ว่าประชาชนเป็นอย่างไรให้เป็นนักการเมือง หากต้อง

'อนาคตไกล' รับซื้อ 'ปลาหมอคางดำ' 20 ตันเพื่อกำจัด อัด 'พิธา' ตรรกะวิบัติอ้างคนจะเพาะเลี้ยงมากขึ้น

“พรรคอนาคตไกล” บรรเทาความเดือดร้อนพี่น้องเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและชาวประมง รับซื้อปลาหมอคางดำ 20 ตันเพื่อกำจัด อัด "พิธา-ก้าวไกล ตรรกะวิบัติ" อ้างคนจะเพาะเลี้ยงมากขึ้น