'ไพบูลย์' เหนียว! ศาลรธน.วินิจฉัยไม่หลุด ส.ส. หลังยุบพรรค ซบ พปชร.

ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยแล้ว 'ไพบูลย์ นิติตะวัน' ยังไม่สิ้นสภาพความเป็น ส.ส. หลังเจ้าตัวยุบพรรคประชาชนปฏิรูป เข้าสังกัดพรรคพลังประชารัฐ

20 ต.ค.2564 - เวลา 15.21 ที่ศาลรัฐธรรมนูญ คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้ง 9 คน ออกนั่งบัลลังก์พิจารณาเพื่ออ่านคำวินิจฉัยให้คู่กรณีฟังกรณีที่ประธานสภาผู้แทนราษฎรส่งคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 82 ว่า สมาชิกภาพส.ส.ของ นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคพลังประชารัฐ สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญมาตรา 101(10) ประกอบมาตรา 90 และมาตรา 91 วรรคหนึ่ง (5) หรือไม่

จากกรณีที่ นายไพบูลย์ หัวหน้าพรรคประชาชนปฏิรูป และส.ส.บัญชีรายชื่อของพรรคประชาชนปฏิรูป ได้สมัครเป็นสมาชิกพรรคพลังประชารัฐ หลังจากที่พรรคประชาชนปฏิรูป สิ้นสภาพความเป็นพรรคการเมือง ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ(พ.ร.ป.)ว่าด้วยพรรคการเมือง มาตรา 91 วรรคหนึ่ง (7) ทั้งที่ยังคงต้องปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าพรรคประชาชนปฏิรูปอยู่จนกว่าการชำระบัญชีจะแล้วเสร็จ และมิได้เป็นผู้มีชื่อในบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. ของพรรคพลังประชารัฐ ที่ยื่นต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ก่อนปิดการรับสมัครเลือกตั้ง เป็นเหตุให้สมาชิกภาพสิ้นสุดลงหรือไม่ 

นายวิรุฬห์ แสงเทียน ตุลาการศาล อ่านคำวินิจฉัยว่า ตามเอกสารที่เกี่ยวข้องปรากกฎว่า นายไพบูลย์เป็นหัวหน้าพรรคประชาชนปฏิรูป(ปชช.)ภายหลังการเลือกตั้งทั่วไปนายไพบูลย์ได้เป็นส.ส.บัญชีรายชื่อของพรรค เมื่อวันที่ 4 ส.ค.62 พรรคประชาชนปฏิรูปได้มีการประชุมกรรมการบริหารพรรคและมีมติเป็นเอกฉันท์ให้เลิกพรรคประชาชนปฏิรูปและให้แจ้งต่อนายทะเบียนพรรคการเมืองต่อไป นายไพบูลย์มีหนังสือลงวันที่ 5 ส.ค.62  แจ้งต่อนายทะเบียนพรรคการเมืองว่าที่ประชุมกรรมการบริหารพรรคปชช.มีมติเป็นเอกฉันท์ให้เลิกพรรค ตามข้อบังคับพรรคปชช. 61  ข้อ1 22 นายทะเบียนพรรคการเมืองตรวจสอบข้อเท็จจริงเสนอกกต. ซึ่งกกต.ได้พิจารณาและประกาศการสิ้นสภาพการเป็นพรรคการเมืองของพรรคประชาชนปฏิรูปในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 6 ก.ย.62 ต่อมาเมื่อวันที่ 9 ก.ย.62 นายไพบูลย์ได้สมัครเป็นสมาชิกพรรคพลังประชารัฐ

และเมื่อวันที่ 7 ต.ค.62  หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐได้แจ้งจำนวนสมาชิกพรรค ตามมาตรา 25 วรรคสอง ต่อนายทะเบียนพรรคการเมือง และนายทะเบียนฯได้มีหนังสือลงวันที่ 17 ต.ค.62  แจ้งเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรว่านายไพบูลย์ เข้าเป็นสมาชิกพรรคพลังประชารัฐแล้ว  

มีข้อพิจารณาเบื้องต้นว่า การสิ้นสภาการเป็นพรรคการเมืองของพรรคประชาชนปฏิรูปชอบด้วยพ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง60 มาตรา 91วรรคหนึ่ง(7) ประกอบวรรคสี่หรือไม่

เห็นว่าเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าคณะกรรมการบริหารพรรคปชช.ได้ประชุมและมีมติเอกฉันท์ให้เลิกพรรค ตามข้อบังคับพรรค โดยเป็นไปตามขั้นตอนและกระบวนการที่กำหนดในข้อ 54

กล่าวคือ มีกรรมการบริหารพรรคเมืองมาประชุมจำนวน 16 คนซึ่งไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของคณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองที่มีอยู่ ในขณะนั้นคือ 29 คน และกรรมการบริหารพรรคการเมืองที่มาประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ทั้ง 16 คน จึงเป็นเสียงข้างมากของคณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองตามข้อ 55 มติของคณะกรรมการบริหารที่ให้เพิกถอนพรรคปชช.จึงเป็นไปโดยชอบตามข้อ 122 ประกอบกับข้อ 54  ข้อ 55  โดยมีเหตุผลให้เลิกพรรคปชช.ว่า เนื่องจากกรรมการบริหารพรรคปชช.หลายคนลาออกและอีกหลายคนกำลังจะลาออก รวมทั้งขากบุคลากรสนับสนุนจึงไม่สามารถดำเนินกิจการพรรคไปได้

เมื่อแจ้งให้นายทะเบียนพรรคการเมือทราบจึงดำเนินการตรวจสอบกรณีดังกล่าวตามอำนาจหน้าที่ พ.ร.ป.ว่าพรรคการเมืองมาตรา91วรรคสองให้กรรการบิหารพรรคการเมืองผู้เข้าร่วมประชุมลงมติครั้งนั้นให้ถ้อยคำต่อนายทะเบียนฯแล้ว ปรากฏว่า 15 ให้ถ้อยคำสอดคล้องกันว่าให้เลิกพรรคปชช. ด้วยเหตุดังกล่าวจริง ส่วนอีกหนึ่งคนอยู่ระหว่าเดินทางประต่างประเทศ นายทะเบียนจึงเสนอให้กกต.พิจารณา และมีมติเป็นเอกฉันท์โยประกาศให้สิ้นสภาพ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อ 6 ก.ย. 62 การสิ้นสภาพของพรรคปชช.จึงเป็นไปโดยชอบ 

ส่วนข้ออ้างของผู้ร้องที่ว่าการเลิกพรรคปชช.ตามข้อบังคับพรรค อันเป็นเหตุให้พรรคปชช.สิ้นสภาพความเป็นพรรคการเมืองตามประกาศของกกต. เป็นการกระทำของผู้ถูกร้องที่มีเจตนาซ่อนเร้น อาศัยมติของคณะกรรมกาบริหารพรรค ซึ่งตนเป็นหัวหน้าพรรคมีอำนาจเหนือกว่าคณะกรรมการบริหารพรรค เห็นว่าไม่มีข้อเท็จจริงหรือพยานหลักฐานใด แสดงให้ศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่าเป็นไปตามที่กล่าวอ้าง

เมื่อพรรคปชช.เลิกตามข้อบังคับพรรคปชช.2561 ข้อ 122 และกกต.ประกาศการสิ้นสภาพพรรคปชช.ในราชกิจจานุเบกษา เมื่อ 6 ก.ย.62 มีผลให้พรรคปชช.สิ้นสุดลงตามพ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง60 มาตรา 90(1)วรรคหนึ่ง 91 วรรคหนึ่ง(7) ทำให้สมาชิกภาพพรรคสิ้นสุดลงตามมาตราดังกล่าว เมื่อพรรคปชช.สิ้นสุดการเป็นพรรคการเมืองตามข้อบังคับพรรคข้อ 122 เมื่อวันที่ 6 ก.ย.62  

แต่เมื่อผู้ถูกร้องเป็น ส.ส. จึงได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญตามมาตรา 101(10) ประกอบพ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง มาตรา 91 วรรคสี่ ที่บัญญัติไว้ว่าการสิ้นสภาพรรคการเมืองตามมาตรานี้ เป็นการถูกยุบพรรคการเมืองโดยมีเจตนารมณ์เพื่อคุ้มครองสมาชิกภาพส.ส.ที่จะได้รับผลกระทบจากการที่พรรคการเมืองนั้นสิ้นสภาพ อันเป็นหลักการเดียวกับการคุ้มครองส.ส. ที่สังกัดพรรคการเมืองที่ถูกยุบตามรัฐธรรมนูญมาตรา 101(10)

ดังนั้นสมาชิกพรรคการเมืองที่สิ้นสภาพตามมาตรา 91 เพื่อคงการเป็นส.ส.จึงต้องสมัครเข้าพรรคการเมืองอื่น นับแต่วันที่พรรคการเมืองนั้นสิ้นสภาพ ผู้ถูกร้องจึงสมัครเข้าเป็นสมาชิกพรรคการเมืองอื่นภายใน 60 วันนับแต่วันที่พรรคนั้นสิ้นสภาพได้

ในคดีนี้วันที่ 6 ก.ย.62 ซึ่งเป็นวันที่พรรคปชช.สิ้นสภาพการเป็นพรรคการเมือง เมื่อข้อเท็จจริงว่าผู้ถูกร้องสมาชิกพรรคพลังประชารัฐ 9 ก.ย.62 ซึ่งเป็นระยะเวลาภายใน 60 วัน นับแต่พรรคปชช.สิ้นสภาพการเป็นพรรคการเมือง

สำหนรับของผู้ร้องที่ว่าผู้ถูกร้องเป็นหัวหน้าพรรคปชช.ต้องอยู่ชำระบัญชีจนเสร็จสิ้นตามพ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง มาตรา 95 ที่ระบุว่า หัวหน้าพรรคการเมืองต้องส่งบัญชี และงบแสดงฐานะทางการเงิน รวมทั้งเอกสารเกี่ยวกับการเงินของพรรคการเมืองภายใน 30 วันนับแต่วันที่พรรคการเมืองสิ้นสภาพหรือยุบ และวรรคสองกำหนดให้หัวหน้าพรรคการเมืองยังคงต้องปฏิบัติหน้าที่จนกว่าการชำระบัญชีจะแล้วเสร็จ แต่จะดำเนินกิจกรรมทางการเมืองในนามพรรคการเมืองที่สิ้นสภาพหรือยุบมิได้นั้น

เห็นว่า บทบัญญัติมาตราดังกล่าวเป็นการกำหนดหน้าที่ของหัวหน้าพรรคการเมืองที่สิ้นสภาพหรือยุบให้ต้องปฏิบัติจนกว่าการชำระบัญชีระแล้วเสร็จ โดยมีหน้าที่ให้ข้อมูลส่งบัญชี งบดุล และเอกสารเกี่ยวกับการเงินภายใน  30 วันนับแต่วันที่พรรคการเมืองสิ้นสภาพหรือยุบ และห้ามมิให้หัวหน้าพรพรรคการเมืองดำเนินกิจกรรมทางการเมืองในนายพรรคการเมืองที่สิ้นสภาพ แต่ไม่ห้ามดำเนินกิจกรรมในนามพรรคการเมืองอื่น  

ส่วนข้ออ้างของผู้ร้องที่ว่า ผู้ถูกร้องไม่ใช่บุคคลที่มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อผู้สมัครส.ส.พลังประชารัฐ ที่ยื่นต่อกกต.เมื่อตอนเลือกตั้ง ผู้ถูกร้องจึงไม่สามารถเป็นส.ส.ของพรรคพลังประชารัฐได้

เห็นว่า รัฐธรรมนูญมาตรา 90 เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับจัดทำบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองในการส่งผู้สมัครลงเลือกตั้ง และมาตรา 91 (5) กำหนดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ที่ได้มาซึ่งส.ส.แบบบัญชีรายชื่อของพรรคการเมือง โดยมีวัตถุประสงค์ ใช้บังคับที่อยู่ระหว่างจัดการเลือกตั้งและประกาศผลการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นคนละกรณีกับการเป็นสมาชิกพรรคการเมืองอื่น รัฐธรรมนูญตามาตรา 101(10 )ประกอบพ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง มาตรา 91วรรคหนึ่ง(7) และมาตรา 91 วรรคสี่ ที่เกิดขึ้นหลังการเลือกตั้งที่ผู้ร้องได้รับการประกาศให้เป็นส.ส.บัญชีรายชื่อแล้ว

เหตุดังกล่าวข้างต้นศาลรัฐธรรมนูญโดยเสียงข้างมาก จึงวินิจฉัยว่า สมาชิกภาพความเป็นส.ส.ของนายไพบูลย์ ไม่สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 101 (10) ประกอบมาตรา 90 และมาตรา 91 วรรคหนึ่ง (5) 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เปิด 11 ชื่อผู้สมัคร 'ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ' ปลัด ก.เกษตรฯ มาวันสุดท้าย

ตามที่สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา เปิดรับสมัครบุคคลเพื่อเข้ารับการสรรหาเป็นบุคคลผู้สมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จำนวน 2 คน ระหว่างวันที่ 11-25 พฤศจิกายน 2567

โธ่!บุคคลสาธารณะ 'ชูศักดิ์-เพื่อไทย' จ่อฟ้อง 'ธีรยุทธ'

นายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่คณะทำงานฝ่ายกฎหมายพรรคเพื่อไทย เตรียมฟ้องกลับนายธีรยุทธ

ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 37): ‘กรมขุนชัยนาทนเรนทร’ ทรงตกเป็นเหยื่อการเมืองของหลวงพิบูลสงคราม ? ”

รัฐธรรมนูญไทยฉบับที่ 4 คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 รัฐธรรมนูญฉบับนี้เกิดจากคณะทหาร

'ดร.ณัฏฐ์' ชี้กรณี 'ทักษิณ-พท.' รอดคดีล้มล้างฯ ไม่ตัดอำนาจ 'กกต.' ไต่สวนยุบพรรคได้

ดร.ณัฐวุฒิ วงศ์เนียม นักกฎหมายมหาชน กล่าวถึงกรณีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ยกคำร้องของนายธีรยุทธ สุวรรณเกษร เพื่อให้พิจารณาวินิจฉัยว่าการกระทำของนายทักษิณ ชินวัตร และพรรคเพื่อไทยเป็นการ

‘ยิ่งลักษณ์’ กลับคุก ‘บิ๊กเสื้อแดง’ รู้มา! ว่าไปตามราชทัณฑ์ไม่ใช้สิทธิพิเศษ

“เลขาฯ แสวง” ยันเดินหน้าคดี “ทักษิณ-เพื่อไทย” ล้มล้างการปกครองต่อ เพราะใช้กฎหมายคนละฉบับกับศาล รธน. "จตุพร" ลั่นยังไม่จบ! ต้องดูสถานการณ์เป็นตอนๆ ไป