4 ก.พ. 2565 - 9.30 น. ที่ศาลฎีกา แผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สนามหลวง องค์คณะวินิจฉัยชั้นอุทธรณ์ นัดแถลงปิดคดีทุจริตโครงการบ้านเอื้ออาทรของการเคหะแห่งชาติ หมายเลขดำ อม.อธ. 1/2565 ที่อัยการสูงสุด เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายวัฒนา เมืองสุข อดีต รมว.การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) และพวกรวม 14 ราย เป็นจำเลยในความผิดฐาน เป็นเจ้าพนักงานใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบ ข่มขืนใจหรือจูงใจเพื่อให้บุคคลใดมอบให้หรือหามาให้ซึ่งทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดแก่ตนเองหรือผู้อื่น ตามประมวลกฎหมายอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 148 และตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐพ.ศ.2502 มาตรา 6, 11
วันนี้ นายวัฒนา พร้อมด้วยทนายเดินทางมาศาล มีบรรดานักการเมือง อาทิ พล.ต.อ.เสรีพิสุทธิ์ เตมียเวส ส.ส.บัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรคเสรีรวมไทย นายโภคิน พลกุล อดีตปธ.รัฐสภา น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ ส.ส.กทม.พรรคเพื่อไทย มาร่วมให้กำลังใจ
นายวัฒนาใช้เวลา 1 ชั่วโมงในการแถลงปิดคดี โดยกล่าวว่า คดีนี้เป็นการฟ้องเกินกว่าข้อกล่าวหาของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ตนขอตั้งข้อสังเกตการวินิจฉัยของศาลที่ลงโทษขัดข้อเท็จจริงในเอกสาร 20,000 แผ่นหลายเรื่อง ศาลไม่วินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าตนมีส่วนเกี่ยวข้องหรือกระทำความผิดอย่างไร ข้อเท็จจริงหลายเรื่องไม่เป็นความจริง เช่น การสั่งจ่ายเช็ค โดยอ้างว่านำไปให้ผู้ใหญ่ เพื่อตอบแทนการอนุมัติให้เซ็นสัญญาไม่ได้เกิดขึ้นสมัยที่ตนเป็นรัฐมนตรี และนางชดช้อย พงศ์ไพโรจน์ ผู้ประกอบการบริษัทเอกชน ยืนยันการจ่ายเช็คให้นายอริสมันต์ พงษ์เรืองรอง หรือกี้ร์ เป็นการจ่ายค่านายหน้าที่ดิน ไม่ใช่ค่าอนุมัติโครงการ ประกอบกับ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ตรวจสอบเส้นทางการเงินตนไม่พบความผิดปกติ
นอกจากนี้ พยานบุคคลที่ให้การในชั้นคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) เป็นบุคคลที่ถูกกันไว้เป็นพยาน ถือเป็นพยานที่ถูกจูงใจ ซึ่งกฎหมายห้ามอ้างพยานเหล่านี้ และต่อมาพยานเหล่านี้ก็กลับคำให้การในชั้นศาล และไม่เกี่ยวข้องกับนายอภิชาติ จันทร์สกุลพร หรือเสี่ยเปี๋ยง นักธุรกิจค้าข้าวรายใหญ่ ที่อ้างเป็นที่ปรึกษาของตน ทั้งนี้ ความผิดในคดีนี้เป็นความผิดตามมาตรา 5 ของพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การฯ พ.ศ.2502 ซึ่งผู้เป็นตัวการกระทำผิดตามมาตรา 5 ต้องเป็นพนักงาน การอนุมัติเป็นคู่สัญญากับบริษัทจึงไม่ใช่อำนาจของรัฐมนตรี แต่เป็นอำนาจของกรรมการ เมื่อกรรมการอนุมัติแลัว เป็นหน้าที่ผู้ว่าการเคหะฯ จะต้องปฏิบัติตามยืนยันว่าตนไม่เคยเข้าไปแทรกแซงการทำหน้าที่ของการเคหะแห่งชาติ
“ผมรู้สึกอัดอั้น ไม่เคยได้รับความเป็นธรรม ชีวิตเหมือนมีศัตรูเพราะความคิดต่างทางการเมือง คดีนี้เป็นคดีที่ 12 ที่สู้กับผู้มีอำนาจมาตลอด ข้อเท็จจริงและข้อกล่าวหาก็ไม่ใช่เรื่องจริง ข้อกฎหมายก็เป็นไปไม่ได้ คดีนี้เป็นคดีอุจฉกรรจ์โทษสูงถึงประหารชีวิต การไต่สวนของศาลฎีกาฯ มีเวลาทำคำวินิจฉัยคดีนี้แค่ 13 วัน แต่เอกสารมี 20,000 หน้า อาจมีข้อเท็จจริงที่มองไม่เห็น วันนี้ตนได้โอกาสสู้และชี้ข้อเท็จจริงให้ศาล” นายวัฒนา กล่าว
ภายหลังนายวัฒนาแถลงปิดคดีเสร็จ องค์คณะวินิจฉัยชั้นอุทธรณ์ กำชับคู่ความไม่ให้เผยแพร่จ้อความในสำนวนในสื่อทุกประเภท ยกเว้นได้รับอนุญาตจากศาล พร้อมนัดฟังคำพิพากษาวันที่ 4 มี.ค. 2564 เวลา 14.00 น.
ต่อมา นายวัฒนา ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนว่า วันนี้ตนได้นำความจริงมาแถลงต่อศาล และก็นำพยานหลักฐานในสำนวนที่ศาลอาจจะยังไม่ได้วิเคราะห์ เนื่องจากเอกสารที่นำมามีจำนวนกว่า 20,000 แผ่น ศาลอาจจะยังอ่านไม่ละเอียด เช่น เอกสารที่อ้างว่านำเช็คมาให้ตน ซึ่งข้อเท็จจริงเป็นค่านายหน้าที่ดินที่ให้กับจำเลยที่ 10 ตนชี้ให้เห็นต่อศาลว่าหลักฐานนี้ฟังไม่ขึ้น และที่กล่าวหาว่าตนนัดประชุมผู้ประกอบการ แล้วเรียกรับเงินกลางที่ประชุมนั้น คงไม่มีใครกล้าทำเช่นนั้น ยืนยันว่าสมัยที่ตนดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ไม่ได้ทำอะไรที่เกิดความเสียหายกับโครงการ และไม่เคยเรียกรับเงินจากใคร ในการแถลงตนได้ชี้แจงต่อศาล กระบวนการไต่สวนนั้นไม่ถูกต้อง พยานหลักฐานเกิดจากความจูงใจ กฎหมายห้ามรับฟัง
นายวัฒนา ยังกล่าวอีกว่า เป็นครั้งแรกที่ได้รับโอกาส ให้ต่อสู้คดีอย่างเต็มที่ และรู้สึกสบายใจขึ้น หมดความกังวล ตนทำหน้าที่ดีที่สุดแล้ว ได้มีโอกาสต่อสู้คดีอย่างเต็มที่แล้ว นอกจากนี้ยังได้แถลงข้อเท็จจริงไปจนครบถ้วนแล้ว ซึ่งตนได้ใช้เวลาแถลงคดีประมาณ 1 ชั่วโมง เอกสารทั้งหมดก็นำส่งศาลทั้งหมดแล้ว ตนเชื่อว่าดุลพินิจของศาลจะเปลี่ยนไปส่วนที่พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เดินทางมาให้กำลังใจ เพราะว่าตนเป็นกรรมการในคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ ชุดเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีเพื่อน ๆ จากพรรคเพื่อไทย และพรรคไทยสร้างไทยมาให้กำลังใจเช่นเดียวกัน
นายวัฒนา ย้ำว่า ตนถูกดำเนินคดี 12 คดี ยกฟ้องไปแล้ว 11 คดี เหลือคดีนี้เป็นคดีสุดท้าย และในวันฟังคำพิพากษาวันที่ 4 มี.ค. ตนยืนยันจะมาเป็นคนแรกแน่นอน ไม่หลบหนี
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'บิ๊กต่าย' ชี้เวชระเบียน 'ทักษิณ' เป็นอำนาจ รพ.ตำรวจ มีคกก.พิจารณามอบให้ ป.ป.ช. หรือไม่
พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ ผู้บัญชาการตำรวจอห่งชาติ (ผบ.ตร.) กล่าวถึงกรณีมีกระแสข่าวคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. พยายามขอเวชระเบียนการรักษาตัวของนายทักษิณ ชินวัตร
อยู่เหนือการควบคุม พท.โยนบาปปมแก้ ‘รธน.’ ‘แม้ว-เนวิน’ คุมการเมือง
"พท." เล็งยื่นร่าง กม.นิรโทษกรรมเดือน ธ.ค.นี้ ยันไม่ล้างผิด ม.112-คดีทุจริต "นพดล" รับ กม.ประชามติงานยาก ต้องโน้มน้าว สว.เห็นตามเกณฑ์ชั้นเดียว แย้มใช้เกณฑ์ 20%
'วราวุธ' ย้ำจุดยืน ไม่แตะ 'ม.112' แม้จะมี ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษฯ หลายฉบับ
ที่ทำเนียบรัฐบาล นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ในฐานะหั
'ดร.ณัฏฐ์' นักกฎหมายมหาชน ชำแหละทุกแง่มุม ผลกระทบคดีตากใบขาดอายุความ
ดร.ณัฐวุฒิ วงศ์เนียม หรือ “ดร.ณัฏฐ์” นักกฎหมายมหาชน กล่าวถึงคดีตากใบที่ไม่สามารถนำตัวจำเลยมาศาลได้ ภายในอายุความ 20 ปี ทำ
วัดใจแพทองธาร 'วรงค์' ส่งตัวแทนบุกทำเนียบฯ จี้ 'นายกฯ' นำ 'พ่อนายกฯ' เข้าคุก
นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ประธานที่ปรึกษาพรรคไทยภักดี เปิดเผยว่าตนได้มอบตัวแทน ไปยื่นหนังสือเรื่อง "ขอติดตามความคืบหน้าการปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญและกฎหมาย" ถึง
ศาลรธน. ถามอัยการสูงสุด ปมคำร้องทักษิณครอบงำเพื่อไทย ขีดเส้นตอบกลับใน 15 วัน
ศาลรัฐธรรมนูญประชุมปรึกษาในคดีที่นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 49 กล่าวอ้างว่ นายทักษิณ ชินวัตร ผู้ถูกร้องที่ 1 และพรรคเพื่อไทย ผู้ถูกร้องที่ 2 ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพ