ศาลรัฐธรรมนูญ ฟัน 'สมชาย เล่งหลัก' พ้น สว.

"ศาลรัฐธรรมนูญ" วินิจฉัย "สมชาย เล่งหลัก" สิ้นสุดสมาชิกภาพ สว. หลังถูกเพิกถอนสิทธิสมัครเลือกตั้ง 10 ปี

26 มีนาคม 2568 - เวลา 15.00 น. ศาลรัฐธรรมนูญ ออกนั่งบัลลังก์ อ่านคำวินิจฉัยเรื่องพิจารณาที่ 38/2563 กรณีคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 82 ว่า สมาชิกภาพของสมาชิกวุฒิสภาของนายสมชาย เล่งหลัก สว. สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 111 (4) ประกอบมาตรา 108 ข. ลักษณะต้องห้าม (1) และมาตรา 98 (5) หรือไม่

โดยวันนี้ฝ่ายผู้ร้อง (กกต.) ส่งตัวแทนจากสำนักกฎหมายมาศาล ส่วนฝ่ายผู้ถูกร้อง (นายสมชาย เล่งหลัก เดินทางมาศาลเพื่อรับฟังคำวินิจฉัย ทั้งนี้ศาลรัฐธรรมนูญมอบหมายให้นายอุดม สิทธิวิรัชธรรม และนายปัญญา อุดชาชน 2 ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เป็นผู้อ่านคำวินิจฉัย

ศาลรัฐธรรมนูญ ไล่เรียงข้อกฎหมายเกี่ยวกับคุณสมบัติ และลักษณะต้องห้ามของ สส. และ สว. ซึ่งเกี่ยวพันกันในรัฐธรรมนูญ มาตรา 110 (4) ประกอบมาตรา 108 ข. ลักษณะต้องห้าม (1) และมาตรา 98 (5) โดยระบุว่าเจตนารมณ์ของกฎหมาย กำหนดให้การดำรงตำแหน่ง สว. มีหลักประกันว่า สว.ต้องไม่ฝักใฝ่หรือยอมตนภายใต้อาณัติพรรคการเมืองใด ๆ ต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ปฏิบัติเพื่อส่วนรวม เพื่อประเทศชาติ ปราศจากการขัดกันแห่งผลประโยชน์

โดยบุคคลดำรงตำแหน่ง สว. ต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามไม่ให้ใช้สิทธิสมัครเลือกตั้ง สส. เพราะหากบุคคลได้รับการเลือกเป็น สว. รัฐธรรมนูญกำหนดมาตรการควบคุมดำรงตำแหน่ง เพื่อไม่ให้ขาดคุณสมบัติ หรือลักษณะต้องห้าม ให้ได้คนมีคุณสมบัติครบถ้วน ไม่มีลักษณะต้องห้าม หรือมีมลทินมัวหมอง ไม่เสื่อมเสียเกียรติแก่ สว.

ทั้งนี้มาตรา 98 (5) บัญญัติขึ้น เพื่อให้ กกต.ระงับสิทธิเลือกตั้งเป็นการชั่วคราว หรือศาลเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง อันเป็นมาตรามีตัดสิทธิบุคคล ทำให้การเลือกตั้ง ของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ไม่สุจริต หรือเที่ยงธรรม การที่ สว.กระทำผิด โดยศาลมีคำสั่งเพิกถอน อันต้องด้วยลักษณะต้องห้ามตามกำหนด 108 ข ลักษณะต้องห้าม (1) และมาตรา 98 แล้ว สว. ผู้นั้นไม่อาจอยู่ในฐานะ ไว้วางใจสุจริต

ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าเมื่อวันที่ 11 พ.ค.2567 มีพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกสมาชิกวุฒิสภา 2567 ผู้ถูกร้องได้สมัครเข้ารับเลือกอยู่ในกลุ่มที่ 19 กลุ่มผู้ประกอบวิชาชีพและอาชีพอิสระ หรืออื่นๆในทำนองเดียวกัน ต่อมาผู้ร้องมีประกาศกกต.ลงวันที่ 10 ก.ค.2567 เรื่องผลการเลือกสมาชิกวุฒิสภา ประกาศรายชื่อของผู้ถูกร้องเป็นผู้ได้รับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภากลุ่มที่ 19 ลำดับที่ 7 ภายหลังประกาศผลการเลือกสมาชิกวุฒิสภา ผู้ร้องมีมติและคำวินิจฉัยว่าผู้ถูกร้องต้องคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีหมายเลขดำที่ ลต สส 4/2567คดีหมายเลขแดงที่ลต สส ที่ 338/2567 ลงวันที่ 23 ก.ค.2567 ว่าผู้ถูกร้องเป็นผู้ก่อ สนับสนุน หรือรู้เห็นเป็นใจให้บุคคลอื่นจัดเตรียมเพื่อจะให้ทรัพย์สินหรือผลประโยชน์อื่นใดอันอาจคำนวณเป็นเงินได้ให้กับผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งเพื่อจูงใจให้ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งลงคะแนนให้กับผู้ถูกร้องซึ่งเป็นการทุจริตในการเลือกตั้ง อันเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพ.ศ 2561มาตรา 73 วรรคหนึ่ง (1) ประกอบมาตรา138 วรรคหนึ่ง ให้เพิกถอนสิทธิ์สมัครรับเลือกตั้งของผู้ถูกร้องเป็นเวลา 10 ปีนับแต่วันที่มีคำพิพากษา มีลักษณะต้องห้ามสมาชิกวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญมาตรา 108 ข.ลักษณะต้องห้าม (1) เนื่องจากเป็นบุคคลต้องห้ามมิให้สิทธิ์สมัครรับเลือกตั้งเพราะอยู่ระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิ์สมัครรับเลือกตั้งตามมาตรา 98 (5) อันเป็นเหตุให้สมาชิกภาพวุฒิสภาของผู้ถูกร้องสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญมาตรา 111 (4)

ดังนั้นมีมูลกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญต้องพิจารณาวินิจฉัยว่าสมาชิกภาพของสมาชิกวุฒิสภาสิ้นสุดลงด้วยเหตุอยู่ระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิ์สมัครรับเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญมาตรา 111 (4) ประกอบมาตรา 108 ข.ลักษณะต้องห้าม (1) และมาตรา 98 (5) หรือไม่

ข้อโต้แย้งของผู้ถูกร้องที่ว่าคำพิพากษาศาลฎีกาที่เพิกถอนไปสมัครรับเลือกตั้งของผู้ถูกร้องเป็นเวลา 10 ปีนับแต่วันที่มีคำพิพากษาพิจารณาคดีโดยไม่ใช้ระบบไต่สวนแต่กลับใช้ระบบกล่าวหา ทำให้การรับฟังข้อเท็จจริงคลาดเคลื่อนไม่ชอบด้วยกฎหมายขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 226 วรรคเจ็ด นั้นเห็นว่ารัฐธรรมนูญมาตรา 188 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า การพิจารณาพิพากษาอ่านคดีเป็นอำนาจของศาลซึ่งต้องดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายและในพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์ และวรรคสองบัญญัติว่าผู้พิพากษาและตุลาการย่อมมีอิสระในการพิจารณาพิพากษาอ่านคดีตามรัฐธรรมนูญ และกฎหมายให้เป็นไปโดยรวดเร็วเป็นธรรมและปราศจากอคติทั้งปวง กรณีที่ผู้ถูกร้องไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาดังกล่าวเป็นการโต้แย้งการพิจารณาพิพากษาอ่านคดีซึ่งเป็นการใช้อำนาจตุลาการของศาลฎีกา ที่ผู้พิพากษามีอิสระในการพิจารณาคดีและพิพากษาตามรัฐธรรมนูญและกฎหมาย ซึ่งต้องพิจารณาคดีโดยรวดเร็วเป็นธรรมและปราศจากอคติทั้งปวง ประกอบกับเมื่อพิจารณาระเบียบของที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาว่าด้วยการพิจารณาวินิจฉัยคดีเกี่ยวกับสิทธิ์สมัครรับเลือกตั้งและการเพิกถอนที่สมัครรับเลือกตั้ง หรือสิทธิ์เลือกตั้ง ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพ.ศ.2561 ข้อ 3 ซึ่งกำหนดว่า ในระเบียบนี้การไต่สวนหมายความว่าการตรวจพยานหลักฐานการนั่งพิจารณา การสืบพยาน หรือกระบวนพิจารณาใดๆของศาลเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อเท็จจริงและพยานหลักฐาน ข้อที่ 4 กำหนดว่า ในการพิจารณาคดีของศาลที่นำสำนวนการสืบสวนหรือไต่สวนของคณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นหลักในการพิจารณา และเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมให้ศาลมีอำนาจไต่สวนข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานเพิ่มเติมได้ ข้อ 45 วรรคหนึ่งกำหนดว่า คู่ความทั้งสองอาจอ้างตนเอง บุคคล หรืออ้างพยานหลักฐานอื่นเป็นพยานได้ตามที่ศาลเห็นสมควรและมีสิทธิ์ขอตรวจพยานหลักฐานและคัดสำเนาพยานหลักฐานของตนเองของคู่ความอีกฝ่ายได้

ข้อที่ 46 วรรคหนึ่งกำหนดว่า ในวันตรวจพยานหลักฐานให้คู่ความส่งพยานเอกสาร พยานวัตถุ หรือพยานหลักฐานอื่นต่อศาลเพื่อให้อีกฝ่ายตรวจสอบเว้นแต่สารจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่นเนื่องจากสภาพ และความจำเป็นแห่งพยานหลักฐานนั้น หลังจากนั้นให้คู่ความแถลงแนวทางการเสนอพยานหลักฐานต่อศาลและให้ศาลสอบถามคู่ความถึงความเกี่ยวข้องในประเด็นและความเป็นที่ต้องสืบพยานหลักฐานที่อ้างอิง ตลอดจนการยอมรับพยานหลักฐานของอีกฝ่ายหนึ่ง และข้อ 55 กำหนดว่าในกรณีที่ศาลเห็นว่าคดีใดมีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะพิจารณาวินิจฉัยได้ ศาบงดการไต่สวนก็ได้ เห็นได้ว่าเมื่อมีกรณีเกี่ยวกับการพิจารณาวินิจฉัยในคดีเกี่ยวกับการเพิกถอนสิทธิ์สมัครรับเลือกตั้งหรือสิทธิเลือกตั้ง ศาลจากพิจารณาจากสำนวนการสืบสวนหรือไต่สวนของคณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นหลักว่ามีข้อเท็จจริงเพียงพอที่จะลงโทษผู้ถูกร้องหรือไม่ เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมศาลยังมีอำนาจไต่สวนข้อเท็จจริงรับฟังพยานหลักฐานเพิ่มเติมได้ และในการต่อสู้คดีหากคู่ความประสงค์จะอ้างตนเองบุคคลหรือพยานหลักฐานอื่นเป็นพยานก็ย่อมทำได้ตามที่ศาลเห็นสมควร เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อเท็จจริงและพยานหลักฐาน ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้คู่ความทั้งสองฝ่ายได้ต่อสู้คดีกันอย่างเต็มที่

ทั้งนี้หากศาลเห็นว่าคดีใดมีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะพิจารณาวินิจฉัยได้ ศาลจะงดการไต่สวนก็ได้ ซึ่งคดีของศาลฎีกาดังกล่าวปรากฏว่าในชั้นไต่สวนคู่ความแถลงรับข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพยานหลักฐานของกลาง เมื่อรัฐธรรมนูญบัญญัติให้ศาลฎีกาใช้วิธีพิจารณาระบบไต่สวนในการพิจารณาคดีเลือกตั้งซึ่งเป็นวิธีพิจารณาที่แตกต่างไปจากวิธีพิจารณาระบบกล่าวหาที่ศาลยุติธรรมใช้ในคดีทั่วไป ศาลฎีกาย่อมต้องใช้วิธีพิจารณาตามรัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ ศาลฎีกาจึงสามารถรับฟังพยานหลักฐานต่างๆที่ผู้ร้องนำสืบได้ ประกอบกับหากผู้ร้องประสงค์ที่จะโต้แย้งกระบวนพิจารณา ย่อมที่จะใช้สิทธิ์โต้แย้งระหว่างการพิจารณาพิพากษาของศาลฎีกา เมื่อศาลฎีกามีคำพิพากษาในคดีของผู้ถูกร้องอันถึงที่สุดแล้ว คำพิพากษาศาลฎีกามีผลผูกพันผู้ถูกร้อง และมีสภาพบังคับเด็ดขาดทางกฎหมาย ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจที่จะไปตรวจสอบคำพิพากษาในปัญหาที่เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของศาลฎีกาได้ ข้อโต้แย้งของผู้ถูกร้องฟังไม่ขึ้น

ส่วนข้อโต้แย้งของผู้ถูกร้องที่ว่า ผู้ร้องไม่มีอำนาจส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยว่าสมาชิกสภาพของสมาชิกวุฒิสภาของผู้ถูกร้องสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญมาตรา 8 วรรคสี่เนื่องจากผู้ร้องจะต้องดำเนินการตามระเบียบของที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาว่าด้วยการพิจารณาวินิจฉัยคดีเกี่ยวกับสิทธิ์สมัครรับเลือกตั้ง การดำเนินกับการเกี่ยวการเลือกและการเพิกถอนสิทธิ์สมัครรับเลือกตั้ง หรือสิทธิเลือกตั้ง ในการเลือกสมาชิกวุฒิสภา เห็นว่ารัฐธรรมนูญมาตรา 82 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภา จำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 4 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของรัฐสภา มีสิทธิ์เข้าชื่อร้องต่อประธานแห่งสภาที่ตนเป็นสมาชิก ว่าสมาชิกภาพของสมาชิกคนใดคนหนึ่งแห่งสภานั้น สิ้นสุดลงตามมาตรา 101 (3) (5) (6) (7) (8) (9) (10) หรือ (12) หรือมาตรา 111 (3) (4) (5) แล้วแต่กรณี แต่ให้ประธานแห่งสภาที่ได้รับคำร้องส่งคำร้องนั้นไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยว่าสมาชิกภาพขอสมาชิกผู้นั้นที่ถูกลงหรือไม่ และวรรคสี่ บัญญัติว่าในกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้งเห็นว่า สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาคนใดคนหนึ่งมีเหตุสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญตามวรรคหนึ่ง ให้ส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยตามวรรคหนึ่งได้ด้วย

เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าผู้ร้องมีมติในการประชุมครั้งที่ 75/2567 ลงวันที่ 16 ต.ค.2567 และตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้วได้ความว่า ศาลฎีกามีคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีหมายเลขดำลต สส 4/2567 คดีหมายเลขแดงที่ลต สส 338/2567 ลงวันที่ 23 ก.ย. 2567 ให้เพิกถอนสิทธิ์สมัครรับเลือกตั้งของผู้ถูกร้องเป็นเวลา 10 ปีนับแต่มีคำพิพากษา ผู้ถูกร้องจึงเป็นบุคคลที่อยู่ระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิ์สมัครรับเลือกตั้งอันเป็นเหตุให้สมาชิกภาพของสมาชิกวุฒิสภาของผู้ถูกร้องสิ้นสุดลงตามมันรัฐธรรมนูญมาตรา 111 (4) ประกอบมาตรา 108 ข.ลักษณะต้องห้าม (1) และมาตรา 98 (5) จึงเป็นกรณีที่ผู้ร้องเห็นว่าสมาชิกภาพของสมาชิกวุฒิสภาของผู้ถูกร้องสิ้นสุดลงประกอบกับระเบียบดังกล่าวเป็นแนวปฏิบัติที่ศาลฎีกากำหนดขึ้นเพื่อใช้ในการพิจารณาและวินิจฉัยคดี รวมถึงการบริหารงานคดีภายในของศาลฎีกา การที่ผู้ถูกร้องยกขึ้นโต้แย้งถึงไม่เกี่ยวกับขั้นตอนที่ผู้ร้องจะส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาวินิจฉัยการสิ้นสุดสมาชิกภาพของสมาชิกวุฒิสภาของผู้ถูกร้อง เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ การยื่นคำร้องของผู้ร้องจึงชอบด้วยรัฐธรรมนูญแล้ว ข้อโต้แย้งของผู้ถูกร้องฟังไม่ขึ้น

อ่านคำวินิจฉัยว่า สำหรับข้อโต้แย้งของผู้ถูกร้องที่ว่า กรณีผู้ถูกร้องไม่อยู่ในบังคับของรัฐธรรมนูญมาตรา 98 (5) มาตรา 108 ลักษณะต้องห้าม (1) และมาตรา 111 (4) เนื่องจากขณะที่สมัครเข้ารับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา และรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา และมีการประกาศให้เป็นสมาชิกวุฒิสภานั้น ผู้ถูกร้องไม่ได้เป็นบุคคลผู้มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิ์สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 98 (5)ซึ่งรัฐธรรมนูญมาตราดังกล่าวบัญญัติห้ามมิให้ใช้สิทธิ์สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไว้เป็นการเฉพาะ ไม่ได้บัญญัติห้ามไม่ให้ใช้สิทธิ์สมัครแล้วเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา แล้วในเวลาดังกล่าวผู้ถูกร้องไม่ได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแต่อย่างใด

เห็นว่ารัฐธรรมนูญกำหนดให้วุฒิสภาเป็นสภาแห่งการตรวจสอบเป็นองค์กรที่ประสานความคิดจากประชาชนที่มีความรู้ ประสบการณ์ ความหลากหลายทางอาชีพ วิถีชีวิต ความสนใจเพื่อให้การตรากฎหมายได้พิจารณาแง่มุมต่างๆกลั่นกรองกฎหมายที่สภาผู้แทนราษฎรเห็นชอบแล้ว ควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินและให้ความเห็นชอบบุคคลที่จะมาดำรงตำแหน่งในองค์กรสำคัญตามรัฐธรรมนูญ จึงต้องกำหนดคุณสมบัติในลักษณะต้องห้ามขอสมาชิกวุฒิสภาไว้ เพื่อให้ผู้ที่มาดำรงตำแหน่งดังกล่าวมีคุณสมบัติที่เหมาะสม หลักประกันว่าผู้ที่จะได้รับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภาจะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต มีความเป็นอิสระมีความเป็นกลาง ปราศจากการแทรกแซงทางการเมือง ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน และไม่อยู่ภายใต้อำนาจของพรรคการเมือง มีความประพฤติและคุณสมบัติเป็นที่ยอมรับนับถือของสาธารณชน ปฏิบัติหน้าที่เพื่อประโยชน์ของประชาชนภายในประเทศอย่างแท้จริง

การกำหนดลักษณะต้องห้ามจึงมีความแตกต่างจากคุณสมบัติกล่าวคือ รัฐธรรมนูญมาตรา 108 กำหนดคุณสมบัติลักษณะต้องห้ามของสมาชิกวุฒิสภา โดยคุณสมบัติจะต้องมีลักษณะที่ใช้บังคับก่อนวันสมัครรับเลือก ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้จะต้องมีครบถ้วนก่อนวันสมัครรับเลือก หากผู้สมัครรับเลือกมีคุณสมบัติไม่ครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนดในขณะนั้น ผู้นั้นก็มิอาจใช้สิทธิ์สมัครรับเลือกเป็นสมาชิกสภาได้ แต่ลักษณะต้องห้ามครอบคลุมไปถึงตั้งแต่ก่อนการรับสมัครรับเลือกขณะการรับสมัครรับเลือกและหลังการรับสมัครรับเลือก รวมทั้งการเข้าสู่การดำรงตำแหน่งแล้ว หากภายหลังปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้สมัครรับเลือกมีลักษณะต้องห้ามเป็นสมาชิกวุฒิสภาบุคคลนั้นย่อมถูกเพิกถอนให้พ้นจากตำแหน่งได้

เมื่อพิจารณาบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญมาตรา 111 (4) ซึ่งกำหนดลักษณะต้องห้ามอันเป็นเหตุให้สมาชิกภาพของสมาชิกวุฒิสภาสิ้นสุดลงประกอบมาตรา 108 ข. ลักษณะต้องห้าม (1) และมาตรา 98 (5) เป็นเหตุแห่งการสิ้นสุดของสมาชิกภาพของสมาชิกวุฒิสภา เห็นได้ว่าหากสมาชิกวุฒิสภาผู้ใดมีเหตุตามมาตรา 108 ข. ลักษณะต้องห้าม (1) และมาตรา 98 (5) ระหว่างการดำรงตำแหน่งจะมีผลทำให้สมาชิกภาพของสมาชิกวุฒิสภาผู้นั้นสิ้นสุดลงระหว่างการดำรงตำแหน่งได้ ไม่ใช่เป็นเพียงลักษณะต้องห้ามก่อนหรือในขณะที่ผู้ถูกร้องใช้สิทธิ์รับสมัครรับเลือกตั้งเท่านั้น แต่ต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตลอดและเวลาที่ดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภาด้วย

ประกอบกับบทบัญญัติรัฐธรรมนูญให้นำลักษณะต้องห้ามของบุคคลที่จะใช้สิทธิ์สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร บังคับใช้กับลักษณะต้องห้ามของสมาชิกวุฒิสภานั้น ด้วยเหตุผลที่ว่าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาต่างเป็นองค์กรที่ใช้อำนาจนิติบัญญัติร่วมกัน แม้ว่าจะมีที่มาคุณสมบัติหรืออำนาจหน้าที่ที่ต่างการออกไปบ้าง แต่การบัญญัติถึงศาลต้องห้ามของการเข้าสู่ตำแหน่งของทั้งสองตำแหน่งย่อมต้องเป็นไปในทางเดียวกัน ไม่ใช่ต้องบัญญัติให้แตกต่างกันหรือแยกออกจากกันอย่างชัดเจนจนถึงขนาดมิอาจใช้ร่วมกันได้ ดังนั้นลักษณะต้องห้ามมาตรา 98 (5) จึงต้องใช้บังคับกับกรณีผู้ถูกร้องซึ่งเป็นสมาชิกวุฒิสภาด้วย และการพิจารณาปรับใช้บทบัญญัติดังกล่าวเป็นไปตามรัฐธรรมนูญที่มีบทบัญญัติบังคับเช่นนั้น ไม่ใช่เป็นการนำบทบัญญัติแห่งกฎหมายมาใช้ย้อนหลังที่เป็นผลร้ายแก่ผู้ถูกร้องแต่อย่างใด ข้อโต้แย้งของผู้ถูกร้องจึงฟังไม่ขึ้น

เมื่อข้อเท็จจริงในคดีนี้ฟังได้ว่าผู้ถูกร้องเป็นสมาชิกวุฒิสภาตั้งแต่วันที่คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศผลการเลือก 10 ก.ค.2567 ต่อมาวันที่ 23 ก.ย.2567 ศาลฎีกามีคำพิพากษาให้เพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งของผู้ถูกร้องเป็นเวลา 10 ปี นับแต่วันที่มีคำพิพากษา สมาชิกภาพของสมาชิกวุฒิสภาของผู้ถูกร้องจึงสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญมาตรา 111 (4) ประกอบมาตรา 108 ข. ลักษณะต้องห้าม (1) และมาตรา 98 (5) ประเด็นที่ต้องพิจารณาต่อไปมีว่าเมื่อวินิจฉัยว่าสมาชิกภาพของสมาชิกวุฒิสภาของผู้ถูกร้องสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญมาตรา 111 (4) ประกอบมาตรา 108 ข. ลักษณะต้องห้าม (1) และมาตรา 98 (5) แล้ว สมาชิกภาพของสมาชิกวุฒิสภาของผู้ถูกร้องสิ้นสุดลงนับแต่เมื่อใด เห็นว่ารัฐธรรมนูญมาตรา 82 วรรคสอง บัญญัติว่าเมื่อได้รับเรื่องไว้พิจารณาหากปรากฏเหตุอันควรเชื่อว่าสมาชิกผู้ถูกร้องมีกรณีตามที่ผู้ร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้สมาชิกผู้ถูกร้องหยุดปฏิบัติหน้าที่จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัย และเมื่อศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยแล้ว ให้ศาลรัฐธรรมนูญแจ้งคำวินิจฉัยไปยังประธานแห่งสภาที่รับคำร้องตามวรรคหนึ่ง ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าสมาชิกภาพของสมาชิกผู้ถูกร้องสิ้นสุดลงให้ผู้นั้นพ้นจากตำแหน่งนับแต่วันที่หยุดปฏิบัติหน้าที่ แต่ไม่กระทบต่อกิจการที่ผู้นั้นได้กระทำไปก่อนวันพ้นจากตำแหน่ง บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญมาตราดังกล่าวเป็นบทบัญญัติว่าด้วยการพ้นจากตำแหน่งของสมาชิกวุฒิสภาที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งมิได้ให้อำนาจให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น

เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าเมื่อวันที่ 11 ธ.ค.2567 ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้พูดถูกร้องหยุดปฏิบัติหน้าที่จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัย ศาลรัฐธรรมนูญจึงต้องสั่งให้ผู้ถูกร้องพ้นจากตำแหน่งนับแต่วันที่อยู่ปัจจุบันหน้าที่นั้น ดังนั้นสมาชิกภาพของวุฒิสภาของผู้ถูกร้องจึงสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญมาตรา 82 วรรคสอง นับแต่วันที่ 11 ธ.ค. 2567 เป็นต้นไป

เมื่อสมาชิกภาพสมาชิกวุฒิสภาของผู้ถูกร้องสิ้นสุดลงทำให้มีตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการเลือกว่างลง ประธานวุฒิสภาต้องประกาศในราชกิจจานุเบกษาเลื่อนบุคคลในบัญชีสำรองของกลุ่มนั้นขึ้นมาดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภาแทนตามลำดับ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งวุฒิสภา 2561 มาตรา 45 โดยให้ถือว่า วันที่ตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภาว่างลง คือวันที่ศาลรัฐธรรมนูญอ่านคำวินิจฉัยให้แก่คู่กรณีฟังโดยชอบ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าจะวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญพ.ศ. 2561 มาตรา76 วรรคหนึ่งที่บัญญัติคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่มีผลในวันอ่านคือวันที่ 26 มี.ค.2568

อาศัยเหตุผลดังกล่าวข้างต้นจึงวินิจฉัยว่าสมาชิกภาพของสมาชิกวุฒิสภาของผู้ถูกร้องสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญมาตรา 111 (4) ประกอบมาตรา 108 ข.ลักษณะต้องห้าม (1) และมาตรา 98 (5) นับแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้ผู้ถูกร้องหยุดปฏิบัติหน้าที่คือวันที่ 11 ธ.ค.2567 และให้ถือว่าวันที่ศาลรัฐธรรมนูญอ่านคำวินิจฉัยให้แก่คู่กรณีฟังตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญพ.ศ. 2561มาตรา 76 วรรคหนึ่งที่บัญญัติให้คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญมีผลในวันอ่านคือวันที่ 26 มี.ค.2568 เป็นวันที่ตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการเลือกว่างลงตามรัฐธรรมนูญมาตรา 107 วรรคสี่ ประกอบกับพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา มาตรา 45

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ประธาน สว. นำวิศวกรตรวจโครงสร้างอาคารรัฐสภาฝั่งวุฒิสภา ไม่พบรอยร้าว

นายมงคล สุระสัจจะ ประธานวุฒิสภา พร้อมด้วยนายนพดล อินนา สมาชิกวุฒิสภา(สว.) รองคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสมาชิกวุฒิสภาคนอื่นๆ

'รมว.ยธ.' ติง 'ประธานวุฒิ' ไม่ควรเซ็นคำร้องศาลรธน.เหตุมีชื่อในโพยฮั้วเลือกสว.

'รมว.ยธ.'ไม่กังวล ศาลรธน.รับวินิจฉัยฝ่าฝืนจริยธรรม แทรกแซงรับคดีฮั้วเลือกสว.ติง 'ประธานวุฒิสภา' ไม่ควรเซ็นคำร้อง เหตุมีชื่อในโพย เผยทำหนังสือขอชื่อผู้ร้องทั้งหมดเพื่อตรวจสอบ ก่อนทำคำชี้แจงส่งศาล ชี้หลายข้อกล่าวหาคลาดเคลื่อนเหมือนวินิจฉัยแทน

กระทุ้ง 'วิโรจน์' ร้องศาลรธน. วินิจฉัย 'นายกฯอิ๊งค์' ส่อไม่ซื่อสัตย์ ปมตั๋วPN

นายดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม ประธานสถาบันสุจริตไทย และอดีตสมาชิกวุฒิสภา (สว.) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ชื่นชมนายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน

'ธณัชญ์พงศ์' สว.สำรองกลุ่ม 19 เสียบแทน 'สมชาย เล่งหลัก'

หลังศาลรัฐธรมนูญมีมติให้นายสมชาย เล่งหลัก พ้นสมาชิกภาพความเป็น  สว.เหตุถูกศาลฏีกาพิพากษาเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 10 ปี ทำให้ต้องเลื่อนบัญชีสำรอง สว.ขึ้นมาแทน คือ นายธณัชญ์พงศ์ วงศ์มุลาลี สว.สำรองลำดับที่ 1 กลุ่มที่ 19 กลุ่มผู้ประกอบวิชาชีพ ผู้ประกอบอาชีพอิสระหรืออื่นๆ  ในทำนองเดียวกัน ขึ้นมาเป็น  สว.แทน