'โรม' ถามใครรับผิดชอบ ระบบไบโอเมตริกเก็บข้อมูลอัตลักษณ์หมดอายุ ไทยตกอยู่ในอันตราย!

'โรม' ลั่น เป็นความผิดพลาดที่ไม่น่าให้อภัย-ไม่รู้ว่าใครจะเป็นคนรับผิดชอบ หลัง 'ที่ประชุม กมธ.ความมั่นคง' คอนเฟิร์มระบบ 'ไบโอเมตริกซ์' ไทย หมดอายุ 3 ปีแล้ว เผย ต้องใช้วิธีโบราณ 'ถ่ายภาพ-ปั๊มลายนิ้วมือ' มอง 'จีน' ไม่ถูกจำแนก 'เหยื่อ-อาชญากร' อาจทำให้ประเทศอื่นได้รับการปฏิบัติไม่เท่าเทียม-ไทยอยู่ภายใต้อิทธิพลของชาติใดชาติหนึ่ง

20 ก.พ.2568 - ที่รัฐสภา นายรังสิมันต์ โรม สส.บัญชีรายชื่อพรรคประชาชน ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทยยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ สภาผู้แทนราษฎร แถลงความคืบหน้าภายหลังการประชุม กมธ.ถึงแนวทางการจัดการแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ซึ่งมีหลายส่วนเข้าไปพัวพันเกี่ยวข้องกับข้อมูลอัตลักษณ์ และเกี่ยวกับอาชญากรข้ามชาติและยาเสพติด

โดยนายรังสิมันต์ ระบุว่า ประเทศไทยไม่มีการใช้ระบบไบโอเมตริกซ์อีกแล้ว ซึ่งแปลว่าเวลา 3 ปีเต็มนี้ ไม่มีเครื่องมือในการเก็บข้อมูลอัตลักษณ์นักท่องเที่ยว ทำให้มีโอกาสผิดพลาด จากการที่นักท่องเที่ยวใช้ประเทศไทยเป็นทางผ่านในการก่ออาชญากรรม โดยที่ตัวเขาเองมีสัญชาติที่แตกต่างกัน

นายรังสิมันต์ กล่าวต่อว่า แม้วันนี้สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (สตม.) จะใช้วิธีการถ่ายรูปและพิมพ์ลายนิ้วมือ แต่ข้อมูลที่ได้นั้น ชัดเจนว่าไม่เพียงพอ และกลายเป็นช่องว่างสำคัญ ในการที่จะทำให้ประเทศไทยตกอยู่ในภายใต้ความอันตรายของปัญหาอาชญากรรมที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างแน่นอน

นายรังสิมันต์ ย้ำว่า สตม.มีความรับผิดชอบที่จะป้องกันเรื่องนี้ไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ ทั้งที่ควรรับรู้รับทราบมาก่อนหน้านี้ว่า เหตุการณ์เหล่านี้จะเกิดขึ้น แต่กลับปล่อยให้ License หมด จนเหตุการณ์นี้เกิดขึ้น กลายเป็นสุญญากาศ ใช้วิธีการโบราณ ไม่สามารถเก็บข้อมูลได้ โดยใช้วิธีขึ้นแบล็กลิสต์ ที่ไม่สามารถรู้ได้ว่า จะมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด

"ผมจะอยากตั้งคำถามไปถึง บิ๊กต่าย หรือผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ว่าปล่อยให้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้อย่างไร ภาพการก่ออาชญากรรมเกิดขึ้น โดยที่ระบบเราไม่สามารถป้องกันได้นั้น จะมีความหรับผิดชอบอย่างไร และต้องถามผู้บังคับบัญชา สตม.ด้วยคำถามเดียวกันว่า ปล่อยให้คนไทยตกอยู่ในอันตราย เช่นนี้ได้อย่างไร" นายรังสิมันต์ กล่าว

นายรังสิมันต์ กล่าวถึงการขยายผลและการปราบปรามแก๊งคอลเซ็นเตอร์และทุนเทาว่า ได้พยายามรับรู้รับทราบ และพยายามเข้าใจว่า เหตุใดการออกหมายจับ หม่อง ชิต ตู จึงทำได้อย่างยากเย็น ซึ่งพบว่า ตัวการหลักของเรื่องนี้ คืออัยการ เนื่องจากเป็นคดีความผิดนอกราชอาณาจักร ทำให้อัยการสูงสุดจึงต้องเข้ามาดู แต่การออกหมายนั้น ขณะที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ก็พยายามดำเนินการอยู่ แต่การส่งมอบข้อมูลของสองหน่วยงานนั้น ยังไม่เกิดขึ้น จึงไม่รู้ว่าจะรอช้าอยู่ไปเพื่ออะไร เพราะจะส่งผลให้เรา ไม่สามารถแช่แข็งบัญชีและทรัพย์สินของอาชญากรได้ ทำให้คนจำนวนมาก ต้องรอคอยการชดเชยเยียวยา ยังไม่ได้รับเงินคืน

นอกจากนั้น ยังไม่มีการขยายผลไปถึง เต่ง วิน ซึ่งเป็นคนสำคัญใน BGF และเกี่ยวข้องกับบริษัท SMTY ซึ่งเป็นสัญญากับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และยังมีตัวละครสำคัญใหม่ ซึ่งจะต้องขยายผลต่อไป ว่าบุคคลที่อยู่ในกองกำลังดังกล่าว อาจเกี่ยวข้องกับยาเสพติดจำนวนมาก ทั้งการลักลอบขนย้ายสารตั้งต้น และการส่งออกยาเสพติดผ่านไทยไปยังประเทศอื่น ดังนั้น เป็นสิ่งที่ยืนยันได้ว่า แหล่งผลิตยาเสพติดใหม่เกิดขึ้นแล้ว ที่รัฐกะเหรี่ยง เมียนมา ไม่ได้จำกัดแค่ทางฝั่งว้า

สำหรับกรณีท่าข้าม ขอยืนยันต่อไปว่า มีท่าที่เกี่ยวข้องกับแก๊งคอลเซ็นเตอร์จริง และสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ก็จะเป็นผู้สรุปว่า ใครบ้างที่มีอำนาจในการปิดท่าข้าม และภายในเดือนมีนาคมนี้ จะมีการสรุปว่าต้องมีท่าไหนบ้างที่จะถูกปิดไป

"แม้เราจะมีการช่วยเหลือเหยื่อ จับกุมแก๊งคอลเซ็นเตอร์จากฝั่งเมียวดี และส่งต่อไปยังประเทศอื่น แต่ต้องยืนยันว่า ระเด็นเหล่านี้ เป็นประเด็นที่ค่อนข้างร้ายแรง และต้องติดตามต่อไป"

นอกจากนี้ ในที่ประชุม ยังมีการสอบถามกรณีส่งตัวคนต่างชาติด้วยว่า เหตุในจีน ถึงมีเพียงบันทึกภาพและพิมพ์ลายนิ้วมือ ไม่ได้มีการคัดแยกเหยื่อและอาชญากร ซึ่งทำให้เราไม่มีข้อมูลว่าใครคืออาชญากรตัวใหญ่ หากจีนไม่ส่งให้เรา ยืนยันว่า การกระทำเช่นนี้ ไม่เป็นผลดีต่อประเทศ เพราะอาจจะมีการกลับมาก่ออาชญากรรมในประเทศไทยได้อีก

ขณะที่ประเทศอื่น มีการแยก ซึ่งอาจทำให้ประเทศอื่นมองว่า เราปฏิบัติอย่างไม่เท่าเทียมกัน และจะถูกมองว่า ไทยอยู่ภายใต้อิทธิพลของชาติใดชาติหนึ่ง ซึ่งไม่ควรที่จะทำให้ใครมองเราเช่นนี้

ดังนั้น รัฐบาลต้องทบทวน หากต่อไปเกิดกรณีเช่นนี้อีก ตนขอเรียกร้องไปยัง นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี

ส่วนมีการขึ้นแบล็กลิสต์จริงหรือไม่นั้น นายรังสิมันต์ กล่าวว่า น่าจะ เนื่องจากผู้เข้าชี้แจงไม่ได้มีอำนาจหน้าที่ตรงนี้โดยตรง หากผู้ที่เขาชี้แจงไม่สามารถให้ข้อมูลได้ ตนก็คิดว่าเราไม่ควรมี ผบ.ตร. หรือรอง ผบ.ตร. มากขนาดนี้ "นี่เป็นความผิดพลาดที่ไม่น่าให้อภัย และไม่รู้ว่าใครจะเป็นคนรับผิดชอบ"

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'สนธิญา' ยื่น กกต. สอบปม 'นายกฯอิ๊งค์-เท้ง' โต้กันนัวศึกซักฟอก คนนอกครอบงำพรรค

นายสนธิญา สวัสดี นักเคลื่อนไหวทางการเมือง ยื่นหนังสือต่อกกต.เพื่อขอให้ตรวจสอบจากกรณีการอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 -25 มี.ค.ที่ผ่านมา ที่มีการกล่าวหาซึ่งกันและกัน ระหว่างน.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าพรรคเพื่อไทย และนายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ หัวหน้าพรรคประชาชน ในฐานะหัวหน้าพรรคฝ่ายค้าน

กระทุ้ง 'วิโรจน์' ร้องศาลรธน. วินิจฉัย 'นายกฯอิ๊งค์' ส่อไม่ซื่อสัตย์ ปมตั๋วPN

นายดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม ประธานสถาบันสุจริตไทย และอดีตสมาชิกวุฒิสภา (สว.) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ชื่นชมนายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน

'วิโรจน์' บุกสรรพากร บี้วินิจฉัยทางการ 'อิ๊งค์' ใช้ตั๋วPN ส่อเลี่ยงภาษีหรือไม่ จ่อเรียกอธิบดีแจงกมธ.

'วิโรจน์' บุกกรมสรรพากร สอบ 'นายกฯ' ใช้ตั๋ว P/N ซื้อขายหุ้นทิพย์ จี้วินิจฉัยเป็นทางการ-ลายลักษณ์อักษร หวั่น ปชช.ทำตาม กระทบระบบจัดเก็บภาษีประเทศ จ่อให้ กมธ.เศรษฐกิจ เรียก 'อธิบดี' แจง

พรรคส้ม แซะรัฐบาล รีบคลอดร่าง พ.ร.บ.กาสิโนฯ หลังศึกซักฟอก

พรรคประชาชน แซะรัฐบาล รีบเกิน! คลอดร่าง พ.ร.บ.กาสิโนฯ หลังจบศึกซักฟอก คาดล็อคสเปคใบอนุญาต “สิทธิพล” เผยต้องคุยในพรรค แนะรัฐบาลสร้างความเชื่อมั่น-โปร่งใส

'วิโรจน์' มั่นใจนายกฯออกตั๋ว PN เลี่ยงภาษี เป็นการทำนิติกรรมอำพราง

"วิโรจน์" มองศึกซักฟอกตรงตามแผนที่ฝ่ายค้านคาดหวัง น้อมรับคำวิจารณ์ไปปรับปรุง ไม่กังวลผลลงมติไว้วางใจ ชีวิตต้องทำงานต่อ ย้ำพรุ่งนี้เข้าพบอธิบดีสรรพากร มั่นใจปมตั๋ว PN นายกฯ คือการทำนิติกรรมอำพราง ชี้ เอนเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์ ทำได้ หากเป็นประโยชน์กับ ปชช. แต่ต้องประมูลโปร่งใส-ป้องผลกระทบเชิงลบ