
9 ก.พ. 2568 – “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งท้องถิ่นทั่วประเทศ เรื่อง “ควันหลงเลือกตั้งท้องถิ่น”กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 1,386 คน (สำรวจทางออนไลน์และภาคสนาม) ระหว่างวันที่ 4-7 กุมภาพันธ์ 2568 พบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 63.28 ไปเลือกตั้งนายก อบจ. เมื่อวันที่ 1 ก.พ. 68 ที่ผ่านมา อีกร้อยละ 36.72 ไม่ได้ไปเพราะติดภารกิจต้องทำงาน โดยคิดว่าสาเหตุที่ทำให้จำนวนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งครั้งนี้น้อยกว่าที่คาดการณ์เพราะติดธุระ ไม่สะดวกในการเดินทางไปใช้สิทธิ ร้อยละ 68.99 รองลงมาคือ ตรงกับวันเสาร์ ร้อยละ 47.18 ทั้งนี้มองว่าการเลือกตั้งท้องถิ่นกับการเลือกตั้งระดับชาติมีความแตกต่างกัน ร้อยละ 52.89 เพราะผู้สมัครท้องถิ่นเป็นคนในพื้นที่ รู้และเข้าใจปัญหาของชุมชนได้ดี มีความใกล้ชิดประชาชนมากกว่า โดยสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเลือกตั้งนายก อบจ. ครั้งนี้ คือ ประชาชนมีแนวคิดใหม่ ๆ ในการเลือกผู้บริหารท้องถิ่น ร้อยละ 54.91 สุดท้ายในแง่ของผลการเลือกตั้งที่ส่งผลต่อการพัฒนาพื้นที่จังหวัดนั้นอาจต้องรอดูผลลัพธ์ในระยะยาว ร้อยละ 26.98
นางสาวพรพรรณ บัวทอง ประธานสวนดุสิตโพล ระบุว่า ควันหลงการเลือกตั้งท้องถิ่นครั้งนี้สะท้อนถึงความซับซ้อนของอำนาจในแต่ละพื้นที่ ผู้ใช้สิทธิที่ลดลงจากความไม่สะดวกและการเลือกตั้งที่ตรงกับวันเสาร์และการตั้งคำถามถึงการประชาสัมพันธ์ของ กกต. สร้างความสงสัยให้กับประชาชน สำหรับพรรคการเมืองที่ลงสนามแบบเปิดหน้า การเลือกตั้งครั้งนี้ชี้ให้เห็นชัดว่า ประชาชนต้องการ “ผู้นำใกล้ชิด” และ “เข้าใจพื้นที่” มากกว่าผู้นำในเชิงนโยบายกว้าง ๆ ซึ่งแตกต่างจากการเมืองระดับชาติ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์อัญชลี รัตนะ อาจารย์ประจำหลักสูตรรัฐศาสตร์ โรงเรียนกฎหมายและการเมือง มหาวิทยาลัยสวนดุสิต อธิบายว่า หากพิจารณาสถิติของผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งในวันที่ 1 ก.พ.2568 เป็นตัวชี้วัดการทำงานของ กกต. ก็คงต้องกล่าวว่าประสบความล้มเหลวในด้านการส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน เนื่องจากจำนวนประชาชนที่ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง มีสัดส่วนเพียง 58% เมื่อเทียบกับการเลือกตั้ง อบจ. ทั่วประเทศในวันที่ 20 ธ.ค.2563 ซึ่งมีสัดส่วน 62.86% ลดลงถึง 4.86% จากผลสำรวจพบว่าสาเหตุที่ทำให้จำนวนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งครั้งนี้น้อย เนื่องจากประชาชนไม่สะดวกในการเดินทางไปใช้สิทธิ เพราะติดภารกิจ และเป็นวันเสาร์ ประชาชนที่ทำงานในภาคเอกชนบางบริษัทยังคงต้องทำงานตามปกติ ซึ่งมีความสอดคล้องกับเสียงสะท้อนของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั่วประเทศ ผลกระทบที่ตามมาคือ ทำให้ประชาชนที่ไม่ได้ไปใช้สิทธิถูกจำกัดสิทธิจากเหตุไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง 5 ประการเป็นเวลา 2 ปี เว้นแต่ได้แจ้งเหตุจำเป็นที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งในช่วงระยะเวลาที่กำหนด คือ ก่อนการเลือกตั้ง 7 วันหรือภายใน 7 วันนับหลังวันเลือกตั้ง เช่นเดียวกับกรณีของบัตรเสียจำนวน 900,000 ใบ สะท้อนความล้มเหลวในการสื่อสาร ประชาสัมพันธ์กับประชาชนแต่ให้ความสำคัญกับความสะดวกในการบริหารจัดการของ กกต. มากกว่า ส่วนประชาชนที่ไปใช้สิทธิแต่กากบาทในช่องไม่ประสงค์ลงคะแนนก็เป็นเสียงสะท้อนของความไม่เชื่อมั่นในตัวผู้สมัครรับเลือกตั้งของแต่ละพื้นที่ แม้จะมีนโยบายดี แม้จะมีสังกัดพรรคใหญ่แต่ยังไม่รัก ไม่มั่นใจ จึงไม่เลือก
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'ปชน.' สู้ต่อ! เปิดชื่อว่าที่ผู้สมัครชิง 'นายกเล็ก' 39 จังหวัด
'พรรคประชาชน' เปิดชื่อว่าที่ผู้สมัคร 'นายกเทศมนตรี' 39 จังหวัด 101 เทศบาล สู้สนามเลือกตั้งท้องถิ่น 11 พ.ค. นี้
ทักษิณลั่นซื้อหนี้เกิดปีนี้แน่!
“สวนดุสิต” พบเกินครึ่งหนุนแนวคิด “ทักษิณ” ซื้อหนี้ แต่หวั่นไม่โปร่งใสประโยชน์แอบแฝง
ดุสิตโพลชี้คนไทยหนุนแนวคิด ‘ซื้อหนี้’ ของทักษิณ
สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นเฉพาะประชาชนที่มีหนี้สินต่อกรณี “ซื้อหนี้..แก้ปัญหาให้ประชาชน” กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนที่มีหนี้สิน จำนวน 1,153 คน (สำรวจทางออนไลน์และภาคสนาม) ระหว่างวันที่ 18-21 มีนาคม 2568 พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีหนี้ในระบบ
‘พรรคก้าวอิสระ’ ปลุกพลังเงียบเชียงใหม่ สร้างการเปลี่ยนแปลงการเมืองท้องถิ่น
พรรคก้าวอิสระ หรือ INDY ประกาศรับผู้สมัครนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ และสมาชิกสภาเทศบาล ปลุกพลังเงียบชาวเชียงใหม่ทุกเพศทุกวัยให้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการเปลี่ยนแปลง เมืองเชียงใหม่เป็นโมเดลใหม่ของการเมืองที่แท้จริงและไม่แบ่งฝ่าย
‘ภัทรพล’ ชนะเลือกตั้ง นายกเทศมนตรีเมืองบางแก้ว ลั่นเดินหน้าลุยแก้ 3 ปัญหาหลัก
ผลการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีเมืองบางแก้ว อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ ซึ่งมีการนับคะแนนหลังปิดหีบไปช่วงเวล 17.00 น. วันที่ 16 มี.ค.ที่ผ่านมา
ประชาชนไม่เชื่อมือรัฐบาลแก้ปัญหาปากท้อง
สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “ปัญหาเร่งด่วนของคนไทย ณ วันนี้” กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,264 คน (สำรวจทางออนไลน์และภาคสนาม) ระหว่างวันที่ 11 - 14 มีนาคม 2568 พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มองว่าปัญหาเร่งด่วนที่อยากให้รัฐบาลแก้ไขมากที่สุด