'ปกรณ์' เร่งเดินหน้ากม.เอนเตอร์เทนเมนท์คอมเพล็กซ์ ย้ำต้องทำตามนโยบาย เปรียบกฤษฎีกาเหมือนพ่อครัว ต้องทำตามโจทย์ให้ถูกใจลูกค้า
29 ม.ค.2568 - นายปกรณ์ นิลประพันธ์ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาให้สัมภาษณ์กรณี การแต่งตั้งคณะกรรมการกฤษฎีกา คณะพิเศษ เพื่อปรับถ้อยคำร่างพระราชบัญญัติประกอบธุรกิจสถานบันเทิงครบวงจร หรือเอนเตอร์เทนเมนท์คอมเพล็กซ์ ที่มีนายวิษณุ เครืองาม อดีตรองนายกรัฐมนตรีเป็นประธานว่า คณะกรรมการชุดพิเศษ ประกอบไปด้วยผู้ทรงคุณวุฒิหลายคน อาทิ นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ อดีตประธาน กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ นายธงทอง จันทรางศุ ที่ปรึกษาด้านนโยบายของนายกฯ นายไพโรจน์ วายุภาพ อดีตประธานศาลฎีกา
เมื่อถามถึงกรณีมีเสียงเรียกร้องให้ทำประชามติในเรื่องดังกล่าว นายปกรณ์ กล่าวว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องนโยบายโดยแท้ กฤษฎีกาไม่เกี่ยวข้อง โดยเราพยายามทำให้กฎหมายครอบคลุม เหมือนการยกเรือสำราญที่มีทุกกิจกรรมมาไว้บนบก หลายหน่วยงานเกี่ยวข้องหลักคือ กระทรวงมหาดไทยและท้องถิ่น กระทรวงการคลังที่เกี่ยวข้องเรื่องภาษี
เมื่อถามว่าใช้กรอบเวลาดำเนินการนานแค่ไหน เลขากฤษฎีกา กล่าวว่า รัฐบาลบรรจุไว้ในแผนกฎหมายเร่งด่วน ที่ต้องดำเนินการภายใน 50 วัน และกฤษฎีกาพยายามทำให้ทัน ขณะนี้ประชุมสัปดาห์ละสองครั้ง คือวันอังคารและพฤหัส และพยายามหาวันว่างเพิ่มขึ้น เราต้องรีบทำ
ผู้สื่อข่าวถามว่าการที่นักกฎหมายชั้นนำ มาร่วมกันพิจารณาในเรื่องนี้จะทำให้เป็นที่ยอมรับของสังคมหรือไม่ นายปกรณ์ กล่าวว่า การเป็นที่ยอมรับของสังคมหรือไม่เป็นคนละประเด็น สิ่งที่เราทำคือดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลและเรื่องนี้ต้องถามสังคมจะว่าอย่างไร ถึงจะมาทำให้สอดคล้องกับความต้องการ แต่ตอนนี้ยังไม่รู้ว่าเป็นอย่างไรเมื่อนโยบายมาแบบนี้ แถลงต่อรัฐสภาไปแล้ว สิ่งที่เราต้องทำให้สอดคล้องกับนโยบาย การทำความเข้าใจกับประชาชน เป็นเรื่องรัฐบาลต้องชี้แจงและดำเนินการอยู่ และเราเป็นเหมือนพ่อครัวที่คอยปรุงใส่วัตถุดิบตามที่ลูกค้าต้องการ แต่ถ้ามีบางอย่างที่เขาไม่ต้องการ เราก็ทักท้วง แต่ถ้ายืนยันจะเป็นแบบนั้นก็ต้องตามใจลูกค้า
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'ธนกร-สส.รวมไทยสร้างชาติ' ผวาข้อเสนอ 'ยุบสภา' อัด 'ปชน.' เอะอะก็จะล้มกระดาน!
'ธนกร วังบุญคงชนะ' อัดพรรคประชาชน ที่กดดันนายกฯยุบสภาหลังองค์ประชุมไม่ครบ ติงการเรียกร้องแก้รัฐธรรมนูญไม่ฟังเสียงประชาชน ขัดคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญ เตือนประเทศชาติไม่ใช่ของเล่น เอะอะก็จะล้มกระดาน
เปิด 4 ทางเลือก! ความเป็นไปได้ หลังสภาล่ม-ร่างแก้ไขรธน.จะเดินหน้าอย่างไร?
การแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นหนึ่งในประเด็นทางการเมืองที่ร้อนแรงที่สุดของรัฐบาลชุดนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการเสนอร่างแก้ไขเพิ่มเติมสองฉบับเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา แต่เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2568 การประชุมสภาผู้แทนราษฎรเกิด “ล่ม” ขึ้นอีกครั้งเนื่องจากองค์ประชุมไม่ครบ
'นิกร' ผ่าทางตัน แนะถอน 2 ร่างแก้รธน. ทำประชามติก่อนเดินหน้าครั้งใหม่
ผู้อำนวยการพรรคชาติไทยพัฒนา ยอมรับสภาล่มต่อเนื่องส่งผลเสียหายหนัก ชี้หากยังดึงดันเดินหน้าชนกันไปก็ไม่มีใครชนะ เสนอผ่าทางตันถอนร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งสองฉบับ แล้วรอประชามติถามประชาชนก่อนเดินหน้าครั้งใหม่
'ความผิดสำเร็จ' ปมร้อนเพิ่มหมวด 15/1 'ปชน.-เพื่อไทย-วันนอร์' ขัดคำวินิจฉัยศาลรธน.?
การประชุมร่วมรัฐสภาครั้งที่ 4 (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง) ซึ่งมีวาระพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม 2 ประเด็นหลัก ได้แก่ การแก้ไขมาตรา 256 และการเพิ่มหมวด 15/1 ต้องปิดประชุมไปโดยปริยาย หลังองค์ประชุมไม่ครบ มีผู้แสดงตนเพียง 175 คน จากสมาชิกทั้งหมด 620 คน
'ไอลอว์-เครือข่ายประชาชน' ขว้างกล้วย สาดสี ผิดหวังสภาล่ม แก้รธน.สะดุด
ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศบริเวณหน้ารัฐสภาเมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา กลุ่มประชาชนร่างรัฐธรรมนูญ และภาคีเครือข่าย นำนำโดยกลุ่ม ไอลอว์จัดกิจกรรม “อยากเลือกตั้ง สสร. ชวน สว.ทำเรื่อง กล้วยๆ”
พรรคไทยภักดีออกแถลงการณ์ยก 4 เหตุผลค้านแก้ไขรัฐธรรมนูญ
นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ประธานพรรคไทยภักดี ได้โพสต์แถลงการณ์พรรคไทยภักดี