14 ม.ค.2568- ที่รัฐสภา ในการประชุมรัฐสภา เพื่อพิจารณาเรื่องด่วน คือ ร่างข้อบังคับการประชุมรัฐสภา (ฉบับที่…) พ.ศ…. เสนอโดยนายพริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน โดยมีนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภาเป็นประธานการประชุม
ทั้งนี้นายพริษฐ์ ได้เสนอสาระสำคัญของสาระร่างข้อบังคับที่เสนอต่อรัฐสภา คือ การแก้ไขข้อบังคับการประชุมรัฐสภา พ.ศ.2563 ตอนหนึ่งว่า มี 3 ประเด็นหลัก คือ 1. เปิดพื้นที่ให้ประชาชนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมต่อกระบวนการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยรัฐสภาในชั้นกรรมาธิการ (กมธ.) โดยเสนอปลดล็อคและเปิดโอกาสให้พรรคการเมือง หรือ สว.สามารถเสนอชื่อบุคคลทั่วไปเข้าร่วมเป็นกมธ. เหตุผลสำคัญเพื่อให้กระบวนการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญมีความรอบคอบรอบด้านมากขึ้น รวมถึงให้บุคคล ภาคประชาสังคมที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์กับการแก้รัฐธรรมนูญที่มากกว่าสมาชิกรัฐสภา แต่ไม่ได้เป็นสมาชิกรัฐสภาเข้ามามีส่วนร่วม
2.ลดการใช้กระดาษเพิ่มใช้ประโยชน์จากช่องทางออนไลน์สำหรับงานธุรการของรัฐสภา และ3. ยกเลิกบทบัญญัติข้อบังคับการประชุมรัฐสภาที่ไม่มีความจำเป็นเกี่ยวกับหมวดการปฏิรูปประเทศ และหมวดที่เกี่ยวการเห็นชอบบุคคลให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าสำหรับการอภิปรายของสมาชิกรัฐสภานั้น พบว่าในการอภิปรายของ สว. รวมถึงสส.พรรคร่วมรัฐบาล เช่น พรรครวมไทยสร้างชาติ แสดงความไม่เห็นด้วยต่อการแก้ไขในประเด็นการกำหนดให้บุคคลภายนอกที่ไม่ใช่สมาชิกรัฐสภาเข้าร่วมเป็นกมธ.แก้รัฐธรรมนูญ รวมถึงติดใจในประเด็นที่ตัดลักษณะของการพ้นตำแหน่งกมธ. ว่าด้วยการขาดสมาชิกภาพแห่งสภาที่ตนเป็นสมาชิกออกไป
โดย นพ.เปรมศักดิ์ เพียยุระ สว. อภิปรายว่าการแก้ไขข้อบังคับการประชุมรัฐสภา ดูเหมือนเป็นการปูทางไปสู่การแก้รัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ตนติดใจในประเด็นการแก้ไขคุณสมบัติของบุคคลที่จะเป็นกรรมาธิการ (กมธ.) โดยร่างแก้ไขนั้นได้ตัดเกณฑ์ที่กมธ.จะพ้นจากตำแหน่งใน (4) ว่าด้วยการขาดสมาชิกภาพแห่งสภาที่ตนเป็นสมาชิกออก เท่าก้บว่าจะให้คนที่ต้องคดีเข้ามาเป็นกมธ. อย่างไรก็ดีการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นเรื่องสำคัญ ควรให้สมาชิกรัฐสภาดำรงตำแหน่ง อย่างไรก็ดีสมาชิกรัฐสภาที่มีรวม 700 คน คือ สส. 500 คน สว.200 คน ส่วนกมธ.ที่จะตั้งมีจำนวน 45 คน ดังนั้นเมื่อกมธ.พ้นตำแหน่งเพราะขาดจากสมาชิกภาพ พรรคการเมืองควรตั้งบุคคลตามสัดส่วนของพรคมาทดแทน ไม่เป็นปัญหา แต่หากยังให้คนที่ขาดสมาชิกภาพเป็น กมธ. ได้แต่ ถือว่าดูแคลนกันไปหน่อย
“ในพรรคการเมืองมีผู้มีความรู้ความสามารถเป็นจำนวนมากในรัฐสภา แต่การเสนอแบบนี้คงหลับตาดูแล้วเห็นว่าใครขาดสมาชิกภาพในอนาคตหรือไม่ ขอให้ทับทวน กมธ.แก้รัฐธรรมนูญนั้น มีความสำคัญหากตัดส่วนคุณสมบัติที่ขาดคุณสมาชิกภาพออกไปจะเห็นใครมาทำหน้าที่ อ้าปากเห็นไปถึงริดสีดวงทวาร” นพ.เปรมศักดิ์ อภิปราย
ขณะที่ นายพิสิษฐ์ อภิวัฒนาพงศ์ สว. อภิปรายไม่เห็นด้วยในการแก้ไขข้อบังคับข้อ 123 ที่กำหนดให้ กมธ.แก้รัฐธรรมนูญมาจากรายชื่อที่สมาชิกรัฐสภาเสนอ เท่ากับเปิดทางให้บุคคลภายนอกที่ไม่ใช่สมาชิกรัฐสภาเข้ามาทำหน้าที่ และการกำหนดสัดส่วนให้ประชาชนผู้เสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ เข้าเป็นกมธ. จำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของกมธ.ที่กำหนดให้มี 45 คน ถือว่าขัดต่อเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ มาตรา 114 ที่กำหนดว่า สส. สว. หรือสมมาชิกรัฐสภาเป็นตัวแทนปวงชนชาวไทย
“การเสนอแก้ไขแบบนี้เท่ากับว่าจะตั้งใครก็ได้ใน 45 คน ไม่ต้องมีมีสมาชิกรัฐสภาแม้แต่คนเดียวก็ได้ ผมมองว่าไม่เป็นเหตุที่สมควร เพราะไม่ตรงกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญให้อำนาจหน้าที่และสิทธิแก่สมาชิกรัฐสภา อีกทั้งการเสนอให้มีตัวแทนประชาชนที่เสนอแก้รัฐธรรรมนูญนั้นผมติดใจในกระบวนการคัดเลือกที่ต้องโปร่งใส ยุติธรรม ไม่ใช่ถูกเลือกเข้ามาเพื่อเป็นเครื่องมือทางการเมือง แม้ว่าการเสนอกมธ.จากประชาชนเป็นเจตนาดี เพื่อเพิ่มการมีส่วนร่วม แต่การปฏิบัติและโครงสร้างตั้งกมธ. อาจไม่สมดุล อาจลดทอนอำนาจการถ่วงดุลของสส. และสว. กลับเพิ่มอำนาจให้กับฝ่ายที่สนับสนุนการแก้รัฐธรรมนูญ แม้ไม่มีร่างแก้ไขของประชาชนเข้ามาก็ตาม จะทำให้กระบวนการแก้รัฐธรรมนูญถูกชี้นำโดยเสียงข้างมาก” นายพิสิษฐ์ อภิปราย
ขณะที่นายอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ สส.ราชบุรี พรรครวมไทยสร้างชาติ อภิปรายว่ามติของพรรครวมไทยสร้างชาติมีมติไม่รับหลักการของร่างแก้ไขข้อบังคับการประชุมรัฐสภาที่เสนอ เนื่องจากมีประเด็นการกำหนดให้บุคคลภายนอกที่ไม่เป็นสมาชิกรัฐสภาร่วมเป็นกมธ.แก้รัฐธรรรมนูญ เพราะการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นเรื่องสำคัญ เป็นกฎหมายสูงสุดควรให้สิทธิแก่สมาชิกรัฐสภา
ทางด้านนายวิทยา แก้วภราดัย สส.บัญชีรายชื่อ พรรครวมไทยสร้างชาติ อภิปรายว่าในประเด็นกระบวนการแก้รัฐธรรมนูญมี 2 ประเด็นที่เสนอให้แก้ไข คือ การกำหนดการพ้นตำแหน่งของ กมธ. ที่ตัดการขาดจากสมาชิกภาพออกไป อย่างไรก็ดีการขาดจากสมาชิกภาพไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องมีความผิดทุจริต ผิดจริยธรรม หรือต้องโทษที่ร้ายแรง จึงไม่สมควรทำหน้าที่ต่อฐานะตัวแทนประชาชน นอกจากนั้นแล้วในการตั้งกมธ. ที่กำหนดสิทธิให้ผู้แทนประชาชนที่มีสิทธิเข้าชื่อเสนอกฎหมายเป็นกมธ. จำนวน 1 ใน 3 คือ ตัวแทนที่เตรียมไว้ เตรียมตัวให้เข้ามาเป็น กมธ. 15 คน ซึ่งเท่ากับ สว. หรืออาจจะมากกว่า หากเอาตัวแทนผู้เสนอร่างกฎหมายเข้ามาทำหน้าที่โดยไม่ไว้วางใจฝีมือ สมาชิกรัฐสภาแก้กฎหมาย เท่ากับว่าระบบรัฐสภาล้มเหลว
“หากไม่เชื่อว่าสองสภาทำได้ กลับเอาตัวแทนคนกลุ่มหนึ่งที่สถานปนาตัวเองเป็นผู้แทน คนที่เป็นตัวแทนตั้งตัวเป็นตัวแทนเพื่อเอาสัดส่วนนี้ ผมคิดว่าการเปิดช่องแบบนี้ไม่เห็นด้วย ในหลักการที่เสนอแก้ไขมานั้นผมไม่เห็นด้วยในประเด็นนี้ ทางที่ดีควรไปยกร่างแยกเนื้อหามา แต่หากติดประเด็นนี้ผมไม่เห็นด้วย” นายวิทยา อภิปราย.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เปิดชื่อ 18 กมธ.วิสามัญ แก้ข้อบังคับประชุมรัฐสภา 'สว.พันธุ์ใหม่' ได้ 1 ที่
จากที่ประชุมลงมติเห็นด้วย 415 เสียง ไม่เห็นด้วย 185 เสียง งดออกเสียง 3 เสียง เป็นอันว่าที่ประชุมเห็นสมควรรับหลักการแห่งร่างข้อบังคับการประชุม ฉบับที่ ... พ.ศ. ... จากนั้นตั้ง กมธ.วิสามัญ จำนวน 18 คน โดยแบ่งเป็นสส.13 คน สว. 5 คน
รัฐสภารับหลักการแก้ข้อบังคับฯ เปิดทางคนนอกร่วมแก้รธน. 'หมออ๋อง' คัมแบ็ค
ในการประชุมร่วมรัฐสภา ที่มีนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม พิจารณาเรื่องด่วน ร่างข้อบังคับการประชุมรัฐสภา (ฉบับที่...) พ.ศ.... เสนอโดยนายพริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน
'วิสุทธิ์' วอน สว. 80-90 เสียง หนุนร่างแก้รธน. ตัดอำนาจวุฒิสภาให้ประเทศเป็นปชต.
นายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) ให้สัมภาษณ์กรณีการยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเพิ่มเติมของพรรคร่วมรัฐบาลพรรคอื่น
'สว.พิสิษฐ์' เตรียมจัดเวทีชำแหละร่างแก้รธน. หั่นเสียงวุฒิสภา ขัดปชต.-การถ่วงดุล
นายพิสิษฐ์ อภิวัฒนาพงศ์ สว. ในฐานะโฆษกคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการวุฒิสภา (วิปวุฒิสภา) กล่าวถึงการประชุมร่วมรัฐสภาเพื่อพิจารณาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 256
'วราวุธ' ย้ำแก้รธน. ไม่แตะหมวด 1,2 ตั้ง ส.ส.ร. ต้องสะท้อนถึงสังคมปัจจุบัน
นายวราวุธ ศิลปอาชา รมว.การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ในฐานะหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา (ชทพ.) กล่าวถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ว่า พรรคยังยืนยันจุดเดิมคือ การได้มาซึ่ง ส.ส.ร. โดยเฉพาะหมวด 1 หมวด 2 ที่
รู้ทันกลเกมนักการเมือง แก้รัฐธรรมนูญมาตรา 256 ใครได้ใครเสีย?
ประชาธิปไตยจะไม่มีทางเบ่งบานได้เลย หากประชาชนยังไม่รู้เท่าทันกลเกมของนักการเมือง ที่มักแอบอ้างประชาชนในการกระทำสิ่งต่างๆ เพื่อผลประโยชน์ส่วนตน การเมืองไทยทุกวันนี้ยังคงเป็นพื้นที่ของคนรวยที่อยากมีอภิสิทธิ์เหนือคนทั่วไป หรืออยากได้อำนาจรัฐมา