10 ม.ค.2568 - นายอิทธิพร บุญประคอง ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) กล่าวถึงคำร้องยุบ 6 พรรคการเมืองว่า ในส่วนคำร้องของพรรคเพื่อไทยมีคำร้อง 3-4 คำร้อง ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการรวบรวมข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานเท่าที่ทราบได้เชิญผู้ร้องมาให้ถ้อยคำแล้ว และออกหนังสือเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องให้ถ้อยคำด้วยเช่นกัน ส่วนกระบวนการจะแล้วเสร็จเมื่อไหร่ไม่แน่ใจแต่จะทำให้เร็วที่สุด เพราะเป็นเรื่องที่ประชาชนให้ความสนใจและมีแนวคิดเสมอว่าอย่าทำให้เกิดความล่าช้า ยกเว้นกระบวนการที่ต้องรับฟังคนหลายคน เพราะต้องเปิดโอกาสให้เขาได้แก้ข้อกล่าวหา
เมื่อรวบรวมพยานหลักฐานได้แล้วทางคณะกรรมการจะส่งให้ เลขาธิการกกต. พิจารณา ซึ่งเลขาธิการก็จะเปิดโอกาสให้อนุกรรมการฝ่ายกฎหมายได้ออกความเห็นด้วย ก่อนจะวินิจฉัยก่อนจะวินิจฉัยว่าเรื่องดังกล่าวมีพยานหลักฐาน ที่ชี้ชัดว่าเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนกฎหมายหรือไม่ก่อนจะส่งเรื่องให้กกต. พิจารณา ถ้ากกต.เห็นด้วยก็จะส่งไปที่ศาล
ผู้สื่อข่าวถามถึงเกณฑ์ที่จะตีความว่าเป็นการครอบงำพรรคจะต้องเข้าไปมีบทบาทหรือแค่ รัฐบาลตอบสนองในสิ่งที่พูด นายอิทธิพร กล่าวว่า ต้องดูนิยามและความหมายก่อนว่าอะไรคือการครอบงำ และต้องนำข้อเท็จจริงและภาพรวมทั้งหมดมาประกอบกัน การกระทำ1-2การกระทำจะเอามาวินิจฉัยในครั้งเดียวไม่ได้ต้องดูข้อเท็จจริง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'อิ๊งค์' ยัน ทักษิณ-เพื่อไทย หาเสียงเลือกตั้งอบจ. เป็นไปตามกฎหมาย
ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) น.ส. แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ในฐานะหัวหน้
ประธาน กกต. ไม่ฟังธง 'ทักษิณ' ช่วยหาเสียงชูนโยบายรัฐบาลเกินอำนาจ อบจ. ผิดหรือไม่
"อิทธิพร" เผยบัตรเลือกตั้งอบจ. เตรียมส่งถึงทั่วประเทศ เตือนผู้สมัคร หลีกเลี่ยงให้เงินแตะเอีย-สิ่งของในช่วงตรุษจีน
'สุริยะ' ชี้ 'วิโรจน์' พูดให้ดูดี ไม่สนนามสกุลเดียวกับ 'ธนาธร' ก็จะตรวจสอบ
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คมนาคม กล่าวกรณีฝ่ายค้านออกมาระบุว่าเตรียมจองคิวอภิปรายไม่ไว้วางใจกระทรวงคมนาคมว่า เป็นการทำหน้าที่ของฝ่ายค้านที่จะตรวจสอบรัฐบาลถือว่าเป็นเรื่องปกติ
‘ทักษิณ’ กับการติดคุกครั้งใหม่!
พล.ท.นันทเดช เมฆสวัสดิ์ อดีตหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการพิเศษ ศูนย์รักษาความปลอดภัยแห่งชาติ (ศรภ.) โพสต์เฟซบุ๊กเรื่อง “คุณ ทักษิ
พระราชกฤษฎีกา 1 เมษายน 2476 คือ การทำรัฐประหารเงียบหรือ ? (ตอนที่ 53)
ที่ผ่านมา ผู้เขียนได้สรุปเหตุการณ์สำคัญต่างๆที่เป็นเงื่อนไขที่นำมาสู่การประกาศพระราชกฤษฎีกา วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476 อันเป็นพระราชกฤษฎีกาปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎร