ทอ. เฝ้าระวังน่านฟ้าชายแดน ตรวจเข้มเครื่องบิน-โดรน

ทอ.ยันเฝ้าระวังน่านฟ้าชายแดน มอร์นิเตอร์เครื่องบิน-โดรน ลุกล้ำ ยันไทยไม่ออกไปปฏิบัตินอกแนว เดินหน้าตั้ง ศรอ. จับมือเหล่าทัพรักษาผลประโยชน์ชาติ มีกม.รองรับการทำงาน

10 ม.ค. 2568 – พล.อ.อ.พันธ์ภักดี พัฒนกุล ผู้บัญชาการทหารอากาศ( ผบ.ทอ.) เปิดเผยถึงแนวทางของ ทอ. ในการสกัดกั้นอากาศยานรุกล้ำเขตแดนบริเวณชายแดนไทย-เมียนมาร์หลังจากเคยนำ F-16 ขึ้นสกัดกั้นยูเอวีเมื่อปลายปีที่แล้ว ว่า เราปฏิบัติตามกฎหมาย เมื่อมีอากาศยานปรากฎขึ้นมาและมีแนวโน้มทิศทางที่จะเข้าประเทศไทย โดยพิจารณาแบ่งตามโซนอนุญาตการบิน จากนั้นก็จะนำอากาศยานขึ้นสกัดกั้น ซึ่งศูนย์ปฏิบัติการทอ. ทีทำหน้าที่ควบคุมดูแลอยู่ จะพิจารณาใน4ขั้นตอน คือ ค้นหา พิสูจน์ฝ่าย สกัดกั้น และ ขึ้นไปปฏิบัติภารกิจ หากเป็นภัยคุกคามจริงก็ขออนุมัติในการทำลาย ทั้งนี้ การขึ้นบินสกัดกั้นอากาศยานที่ผิดกฎหมายเป็นเรื่องที่เราต้องทำตามขั้นตอนกฎหมายอยู่แล้ว

“ก็มีหลายตัวอย่าง แม้กระทั่งเครื่องของยูเอ็นเองก็เคย เพราะไม่ได้ส่งไฟล์ทแพลน ไม่ปรากฏสัญชาติเข้ามา เราก็ส่งเครื่องของเราขึ้นไปดู ไปส่งทัศนสัญญาณว่าคุณกำลังล้ำเข้ามานะ พอคุยกันรู้เรื่องก็จะปล่อยไป ทุกอย่างว่าไปตามระเบียบ ซึ่งอากาศยานไร้คนขับก็อยู่ในเงื่อนไขนี้ทั้งหมดด้วย เมื่อมีการจับสัญญาณได้ทางศูนย์ปฏิบัติการก็จะตรวจสอบว่าเป็นแบบไหน ตอนนี้เรากำลังทำในเรื่องการปฏิบัติกับโดรนว่าจะทำอย่างไรให้เหมาะสมที่สุด”

เมื่อถามว่า สถิติการนำอากาศยานไร้คนขับของกองกำลังชายแดนที่มีแนวลุกล้ำชายแดนด้านตะวันตกมีจำนวนมากหรือไม่ พล.อ.อ.พันธ์ภักดี กล่าวว่า ก็คงพูดลำบาก ทอ.มอนิเตอร์และเฝ้าระวังอยู่ จะมากจะน้อยขึ้นอยู่กับสถานการณ์ แต่ภารกิจไหนที่เข้ามาแล้วมีผลกระทบต่อความมั่นคงของเราก็ต้องปฏิบัติหน้าที่ หรือถ้ามีทิศทางจะเข้ามาก็แจ้งเตือนไป แต่ในส่วนของเราจะไม่ออกไปนอกพื้นที่ สิ่งเหล่านี้ทุกฝ่ายรู้กันว่าการป้องกันอธิปไตยเป็นหน้าที่ของเราทำตามขั้นตอน ซึ่งการปฏิบัติขั้นสุดท้ายก็ต้องขออนุมัติ รมว.กลาโหม ซึ่งถือเป็นกฎสากล แม้แต่ประเทศมหาอำนาจที่ขึ้นไปสกัดกั้นส่งทัศนสัญญาณเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ทอ.กำลังศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางอากาศและอวกาศ เพราะเรามีภารกิจพวกนี้อยู่หากเกิดอะไรขึ้นมาเราก็ต้องมีกฎหมายมารองรับ และประสานความร่วมมือกับกองทัพเรือ กองทัพบก ในการ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ทอ. ส่งเครื่องบินขับไล่ เอฟ-16 สกัดกั้นอากาศยานไม่ทราบฝ่าย ชายแดนไทย-เมียนมา

กองทัพอากาศส่งเครื่องบินขับไล่ F-16 ขึ้นบินเพื่อพิสูจน์ฝ่ายและสกัดกั้นอากาศยานไม่ทราบฝ่าย บริเวณแนวชายแดนไทย-เมียนมา จังหวัดตาก

ทอ.ปรับโครงสร้างใหญ่ เตรียมเปลี่ยนชื่อเป็น 'กองทัพอากาศและอวกาศ'

พล.อ.ท.ประภาส สอนใจดี โฆษกกองทัพอากาศ แถลงภายหลังประชุมผู้บัญชาการเหล่าทัพ ครั้งที่ 1 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568 ถึงการปรับโครงสร้างกองทัพอากาศ ตามที่ พล.อ.ทรงวิทย์ หนุนภักดี ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ได้สั่งการ

ทอ.ส่งปฎิบัติการพิเศษไปเชียงใหม่ ช่วยเหลือผู้ประสบภัย

ทอ.ส่งกำลังพลจากกรมปฏิบัติการพิเศษที่ตั้งดอนเมืองไปเชียงใหม่ พร้อมทบทวนการฝึกช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำให้กับกำลังพลเพื่อความปลอดภัยแก่ผู้ประสบภัย

'ภูมิธรรม' แบ่งรับแบ่งสู้ สอบปมฉาวบริษัทสหรัฐ ติดสินบนจนท.กองทัพอากาศ

นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวถึงความคืบหน้าการตรวจสอบกรณี “สินบนข้ามชาติ” ได้รับรายงานจากกองทัพอากาศแล้วหรือไม่ว่า ยังไม่ได้รับรายงาน

ป.ป.ช. เร่งตรวจสอบ ปมบริษัทเอกชนสหรัฐฯ จ่ายสินบนหน่วยงานรัฐไทย

นายนิติพันธุ์ ประจวบเหมาะ รองเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ในฐานะรองโฆษกสำนักงาน ป.ป.ช. แถลงว่า ตามที่ปรากฏข่าวว่า เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2567

ผบ.ทอ. เคลียร์ปมฉาว! บริษัทรถไถดังสหรัฐฯ ติดสินบนเจ้าหน้าที่กองทัพอากาศ

พล.อ.อ.พันธ์ภักดี พัฒนกุล ผู้บัญชาการทหารอากาศ กล่าวถึงกรณี สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์สหรัฐ (SEC) หรือ ก.ล.ต.สหรัฐ ลงโทษ บริษัท เดียร์ แอนด์ คอมพานี" (Deere & Company) ซึ่งดำเนินธุรกิจรถแทรกเตอร์ในชื่อ จอห์น เดียร์ (John Deere) หลังพบข้อมูลการจ่ายสินบนแก่เจ้าหน้าที่ของไทย