'แรมโบ้' เห็นด้วย ซูเปอร์โพลประชาชนส่วนใหญ่ชื่นชอบโครงการคนละครึ่งเฟส 4 เผย นายกฯ สั่งเร่งพิจารณาต่อโครงการของรัฐ เพื่อช่วยประชาชนต่อเนื่อง ขอประชาชนมั่นใจนายกฯในการแก้ไขปัญหาให้ประเทศ ไม่ทอดทิ้งประชาชน
25 ม.ค.2565 - นายเสกสกล อัตถาวงศ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำนายกรัฐมนตรี เห็นด้วยกับสำนักวิจัยซูเปอร์โพล สำรวจความคิดเห็นของประชาชน พบว่าประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 91.5 เห็นด้วยกับรัฐบาลจัดโครงการคนละครึ่งเฟส 4 ช่วยลดภาระให้กับประชาชน โดยแสดงให้เห็นว่าการทำโครงการคนละครึ่งของรัฐบาลมาถูกทางแล้ว ที่จะสามารถบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชนได้จริง อีกทั้งยังเป็นที่ชื่นชอบของประชาชนอีกด้วย
นายเสกสกล ยังระบุว่าในการประชุม ครม.นอกจากจะอนุมัติโครงการคนละครึ่งเฟสที่ 4 แล้ว ยังอนุมัติอีกหลายโครงการ ทั้งโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ระยะที่ 4 วงเงินกว่า 8 พันล้านบาทโครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ ระยะที่ 2 ในการเยียวยาและลดภาระค่าใช้จ่ายให้กับผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
ซึ่งการต่อโครงการต่างๆของภาครัฐ ถือเป็นการตัดสินใจของนายกฯและรัฐบาล โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ เร่งพิจารณาโดยด่วน เพื่ออนุมัติโครงการต่างๆเหล่านี้ เนื่องจากมีความเป็นห่วงประชาชน อยากให้ประชาชนได้รับความช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันรัฐบาลได้ระมัดระวังในเรื่องของการใช้งบประมาณแผ่นดินที่มีอยู่อย่างจำกัดด้วย
"ยืนยันว่านายกฯมีความจริงใจในการแก้ไขปัญหาให้กับประชาชน ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 และผมขอให้ความมั่นใจว่านายกฯ และรัฐบาลจะไม่ทอดทิ้งประชาชนอย่างแน่นอน พร้อมกับเชื่อว่ารัฐบาลจะมีมาตรการอื่นๆออกมาเพื่อช่วยประชาชนอีก ดังนั้นจึงอยากให้ประชาชนไว้ใจในตัวนายกและรัฐบาลในการทำงานแก้ไขปัญหาต่อไป" ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำนายกรัฐมนตรี
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อช่วงบ่ายที่ผ่านมา นายนพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) เสนอผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง ความเครียดสะสมและความสุขที่คาดหวัง กรณีศึกษาประชาชนทุกสาขาอาชีพกระจายทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ จำนวน 1,105 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 20-23 มกราคม 2565 ที่ผ่านมา พบว่าส่วนใหญ่หรือร้อยละ 91.5 เห็นด้วยกับรัฐบาลจัดโครงการคนละครึ่งเฟส 4 กลับมาช่วยลดภาระประชาชน
ที่น่าพิจารณาคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 90.3 ต้องการให้รัฐบาลใส่ใจจริงจัง ลดความเครียด ความเดือดร้อนทุกข์ยากของประชาชนมากยิ่งขึ้น ร้อยละ 89.8 ต้องการให้รัฐบาลมีมาตรการลดความเครียดสะสมในกลุ่มเด็กนักเรียน นักศึกษา เพราะหยุดเรียนอยู่แต่ที่บ้าน ไม่ได้พบปะกลุ่มเพื่อนในวัยเดียวกัน เป็นต้น ร้อยละ 89.3 ต้องการให้รัฐบาลมีมาตรการใหม่ๆ ขับเคลื่อนสังคม กระตุ้นเศรษฐกิจควบคู่กับการสันทนาการเพิ่มความสุขของประชาชน เช่น กีฬา ดนตรี การแข่งขันเทคโนโลยี ศิลปวัฒนธรรม เป็นต้น ร้อยละ 87.3 ต้องการให้หน่วยงานของกระทรวงต่างๆ เช่น สาธารณสุข พัฒนาสังคมฯ วัฒนธรรม การท่องเที่ยวและกีฬา เป็นต้น ออกมาตรการกระตุ้นการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน เพื่อช่วยลดความเครียดของประชาชน เช่น กรมสุขภาพจิตเปิดศูนย์ให้คำปรึกษา ลานดนตรี กีฬา การแข่งขันเทคโนโลยี หุ่นยนต์ เป็นต้น ร้อยละ 87.2 ต้องการให้รัฐบาลกระตุ้นเศรษฐกิจ และขับเคลื่อนสังคมไปพร้อมๆ กัน ลดความเครียดของประชาชน ร้อยละ 80.7 ระบุ วิกฤตของประเทศต่างๆ เกิดขึ้นทั่วโลกส่งผลกระทบต่อประเทศไทย
นอกจากนี้ เมื่อถามถึงต้นตอซ้ำเติมปัญหาความเครียด เดือดร้อนทุกข์ยากของประชาชน พบว่าส่วนใหญ่หรือร้อยละ 91.0 ระบุ ปัญหายาเสพติด ร้อยละ 88.3 ระบุ ความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ร้อยละ 86.9 ระบุ แก๊งคอลเซ็นเตอร์ และร้อยละ 86.2 ระบุ ปัญหาหลอกลวง การคุกคามประชาชนในโลกไซเบอร์ ตามลำดับ
ผอ.ซูเปอร์โพลกล่าวว่า ผลโพลนี้ชี้ให้เห็นว่าสังคมมีความเครียดสะสมมากขึ้นจากผลกระทบของโรคระบาดและมาตรการควบคุมโรค ที่ตามมาด้วยปัญหาเศรษฐกิจปากท้องและค่าครองชีพที่สูงขึ้น รวมทั้งภัยลูกโซ่ทางสังคมจากปัญหายาเสพติด อาชญากรรม แก๊งคอลเซ็นเตอร์และการคุกคามความปลอดภัยของประชาชนในโลกไซเบอร์ ที่มีมากขึ้นซ้ำเติมวิกฤตของประชาชนในเวลานี้
“ประชาชนต้องการให้รัฐบาลมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและขับเคลื่อนกิจกรรมสันทนาการทางสังคมไปพร้อมๆ กัน เพื่อลดความเครียดและความเดือดร้อนของประชาชนให้ครอบคลุมมิติต่างๆ มากขึ้น จากการสำรวจครั้งนี้ พบว่ารัฐบาลและกระทรวงต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ควรให้ความสำคัญเข้าไปตอบสนองปัจจัยที่เป็นปัญหาความเครียดของสังคมที่มีสะสมมาอย่างต่อเนื่อง” ผอ.ซูเปอร์โพลกล่าว
ผอ.ซูเปอร์โพลกล่าวต่อว่า ปัจจัยผลกระทบจากมาตรการควบคุมโรค ประชาชนมีความคาดหวังให้กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมสุขภาพจิต ลงสำรวจและให้ข้อมูลแนะนำด้านปัญหาสุขภาพจิตและการลดความเครียดอย่างกว้างขวางขึ้น ขณะที่ตำรวจและหน่วยงานความมั่นคง ลงดูปัญหายาเสพติด อาชญกรรม การหลอกลวงคุกคามความปลอดภัยในโลกไซเบอร์มากขึ้น
“ขณะเดียวกัน ภาคเอกชนต่างๆ และรัฐบาลโดยทุกส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนแก้ปัญหาการกินดี อยู่ดีของประชาชนในภาวะผลกระทบจากปัญหาโรคระบาดและข้อจำกัดต่างๆ มีความจำเป็นต้องร่วมกันเปิดรูระบายปัญหาความเครียดสะสมทางสังคมในมิติต่างๆ ในลักษณะเปิดพื้นที่สันทนาการ และขับเคลื่อนจัดกิจกรรมด้านสุขภาวะทางสังคม ในลักษณะมีส่วนร่วมไปพร้อมๆ กัน เพื่อลดปัญหาความเครียดสะสม ทั้งเป็นรายบุคคล ครอบครัว องค์กรและสังคมให้มากขึ้น โดยเฉพาะกับเด็กและเยาวชน ซึ่งอยู่ในวัยเปิดโลกเรียนรู้กิจกรรมทางกายและความคิด ควรเร่งกลับเข้าสู่ระบบการเรียนปกติ และสนับสนุนให้มีพื้นที่หรือเวทีในกิจกรรมสร้างสรรค์มากขึ้น เช่น ลานดนตรี กีฬา ศิลปวัฒนธรรม การแข่งขันเทคโนโลยีหุ่นยนต์ เป็นต้น” ผอ.ซูเปอร์โพลกล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ปชช.หวั่นไหว 'การเมือง-พิษเศรษฐกิจ' กระทบเงินในกระเป๋า
ซูเปอร์โพล ชี้การเมืองและเศรษฐกิจ ส่งผลกระทบต่อความหวั่นไหวของประชาชน โดยเฉพาะเงินในกระเป๋ามาอันดับหนึ่ง
'แรมโบ้ เสกสกล' ลาออกจากบอร์ด IRPC หลังถูกแต่งตั้งไม่ถึง 1 เดือน
'แรมโบ้ เสกสกล' ลาออกจากบอร์ด IRPC มีผล 9 ก.ย. 67 หลังถูกแต่งตั้งได้ไม่ถึง 1 เดือน โดยผ่านการเสนอชื่อจาก บมจ.ปตท.
ชำแหละ! ผสมพันธุ์ข้ามขั้ว ทำไม 'ปชป.' ติดลบ 'พท.' คะแนนบวก
นายเทพไท เสนพงศ์ อดีต สส.นครศรีธรรมราช โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า คำตอบ:เพื่อไทย ประชาธิปัตย์ ผสมพันธุ์ข้ามขั้ว ทำไม เพื่อไทยคะแนนบวก ประชาธิปัตย์ ติดลบ
ซูเปอร์โพล เปิดผลสำรวจชัด ปชป. เสียคะแนนนิยมหลังประกาศร่วมรัฐบาล
สำนักวิจัย ซูเปอร์โพล เสนอผลสำรวจเรื่อง ความนิยมต่อประชาธิปัตย์ กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ ดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) รวมจำนวนตัวอย่างในการวิเคราะห์ทางสถิติทั้งสิ้น จำนวนทั้งสิ้น 1,346 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 29 – 31 สิงหาคม 2567 ที่ผ่านมา
ประชาชนไม่มีความสุขต่อเงินในกระเป๋า หวังรัฐบาลใหม่ฟื้นฟูเศรษฐกิจ
สำนักวิจัย ซูเปอร์โพล เสนอผลสำรวจเรื่อง รอยต่อรัฐบาล กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ ดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ
โพลหวังอิ๊งค์เร่งแก้ปากท้อง
โพล 2 สำนักประสานเสียง คนส่วนใหญ่หนุน “แพทองธาร” หวังแก้ปัญหาปากท้องโดยด่วน