ดร.ณัฏฐ์ มองการเมืองไทยปี 68 'รัฐบาลอิ๊งค์' มีเสถียรภาพ อยู่ยาวถึงปี 70


“ดร.ณัฏฐ์” มือกฎหมายมหาชน ชี้การเมืองไทยปี 2568 “รัฐบาลแพทองธาร ชินวัตร” กุมเสียงข้างมาก รัฐบาลมีเสถียรภาพ แม้เจอโรครุมเร้า นักร้องเรียนรายวัน ยังไม่มีตัวแปรใดล้มรัฐบาล ฟันธง รัฐบาลอยู่ยาวถึงปี 2570

28 ธ.ค.2567 - ดร.ณัฐวุฒิ วงศ์เนียม หรือ ดร.ณัฏฐ์ นักกฎหมายมหาชน วิเคราห์สถานการณ์ และทิศทางการเมืองไทยปี 2568 นับ ตั้งแต่วันที่รัฐบาลแพทองธาร ชินวัตร แถลงนโยบายต่อรัฐสภาและบริหารประเทศประมาณเกือบ 4 เดือนและสิ้นปี 2567 ได้รับฉายาจากสื่อมวลชน “รัฐบาล(พ่อ)เลี้ยง” ว่าทิศทางการเมืองปี 2568 จะมีความเข้มข้นกว่าในปีที่ผ่านมา ทั้งมิติทางการเมือง แม้ว่ารัฐบาลแพทองธาร ชินวัตร จะกุมเสียงข้างมากในสภา และมี ส.ส.จากพรรคกล้าธรรม เพิ่มขึ้นอีก 24 เสียง ทำให้มีฝ่ายรัฐบาลมีเสียงข้างมากเด็ดขาด ทำให้ฝ่ายค้านเสียงไม่เพียงพอกลไกลสภาในการตรวจสอบฝ่ายบริหารได้

แม้ในปี 2568 ฝ่ายค้านจะเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจคณะรัฐมนตรีรายบุคคล ไม่ว่าจะลงมติหรือไม่ก็ตาม เป็นไปตามกลไกตามรัฐธรรมนูญ แต่ฝ่ายค้านมีเสียงจำนวนน้อยกว่า ย่อมไม่อาจล้มรัฐบาลได้ รวมทั้งในการทำหน้าที่ของฝ่ายค้าน ขาดความเป็นมืออาชีพ ใช้กลไกลในการตรวจสอบล่าช้า เห็นได้ชัด คือ กรณีปัญหาการบังคับใช้กฎหมายในกรณีที่ดินเขากระโดง กรณีออกเอกสารสิทธิ์ทับที่ดินของการรถไฟ ซึ่งเป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดิน ทำให้กฎหมายไม่เป็นกฎหมาย เพราะหากอธิบดีกรมที่ดินเพิกถอนเอกสารสิทธิ์ที่ออกโดยไม่ชอบ ย่อมกระทบต่อรังของนายใหญ่บุรีรัมย์ ผู้กุมทิศทางการเมืองค่ายน้ำเงินและสภาสูง

ดร.ณัฐวุฒิ กล่าวต่อว่า อีกเรื่องหนึ่งเห็นได้ชัด กรณีข้อตกลง MOU 44 ที่มีข้อตกลงและลงนามในสมัยรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ในอดีต พอมาสมัยลูกแพทองธาร ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี กลุ่มฝ่ายแค้นรุมกินโต๊ะ พอถูกถีบให้เป็นฝ่ายค้าน ใช้ไม้เด็ด หยิบช่องเคยเป็นหัวหน้าเจรจาผลประโยชน์ร่วมทางทะเลระหว่างประเทศกับกัมพูชามาเปิดเป็นประเด็นเพื่อล้มรัฐบาล เพื่อปลุกกระแสชาตินิยม ทั้งๆที่ผ่านมาหลายรัฐบาล กลับไม่พูดถึง และรู้หรือควรจะรู้สมัยเป็นรองนายกรัฐมนตรี ไม่ยอมมีมติ ครม.ยกเลิก เพราะ MOU เป็นเพียงข้อตกลงระหว่างประเทศ เพราะไม่ได้มีสถานะเป็นสนธิสัญญา เพราะรัฐฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งสามารถยกเลิกข้อตกลงนั้นได้

กรณีรัฐบาลผสม ต่างขั้ว ต่างอุดมการณ์ ไม่ต่างจากรัฐบาลแห่งชาติ เก็บอุดมการณ์ไว้ในลิ้นชัก เพื่อให้ประเทศชาติเดินต่อไปได้ จะเห็นจากพรรคประชาธิปัตย์ ไม่เบื่อไม้เบาของไทยรักไทยหรือพลังประชาชน ก่อนที่จะแปลงร่างทรงเป็นเพื่อไทย กลับมาเป็นรัฐบาลผสมร่วมกันในยุคนี้ ทั้งในการบริหารบ้านเมือง เกิดตัวแปร ชนิดลองของ จนนายทักษิณออกอาการ เก็บทรงไม่อยู่ ไม่ว่าเป็นความเห็นต่างในกรณีของการประชุม รายงานของ กมธ.วิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการตราพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม ซึ่งเป็นสารตั้งต้นในการออกกฎหมายนิรโทษกรรม รวมถึงมาตรา 112 ที่พรรคร่วมไม่เอาด้วยกับในข้อสังเกตช่วงท้าย หรือ กรณีร่าง พรบ.ประชามติ ที่แก้ไขจากระบบสองชั้นให้เหลือชั้นเดียว เพื่อจัดทำประชามติแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับให้ผ่านง่าย แต่เจอความเขี้ยวของค่ายสีน้ำเงินพรรคภูมิใจไทย กระโดดขวาง ส่วนทางกับพรรคแกนนำรัฐบาล แต่ไปสอดคล้องกับสภาสูง กระทบโดยตรงต่อการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ

หรือ กรณีการไม่เข้าร่วมโหวตเสียงใน พรก.จัดเก็บภาษีของนิติบุคคลต่างชาติ ของรัฐมนตรีบางคนที่เป็นนกรู้ หรือกรณี ล้างไพ่พลังงานของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ค่ายพรรครวมไทยสร้างชาติ สร้างความไม่พอใจให้กับกลุ่มนายทุนผูกขาดพลังงานที่ให้การสนับสนุนรัฐบาลค่ายเพื่อไทย แม้ฝ่ายรัฐบาลจะมาเติมเสียงจากกลุ่มธรรมนัสอีก 24 เสียงก็ตาม แต่ผลกระทบหรือทักษิณฯ อาการหัวฟัดหัวเหวี่ยง ไม่อาจยึดโควต้ารัฐมนตรีรัฐบาลผสมของพรรครวมไทยสร้างชาติได้ เพราะนายใหญ่เพื่อไทยมีชนักติดหลังเบื้องหลังข้อตกลงลับในการเดินทางเข้าประเทศเพื่อมิให้ติดคุก ระหว่างฝ่ายอนุรักษ์นิยมกับนายทักษิณ ชินวัตร เป็นการปูทางให้นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นน้องสาว เดินรอยตาม โดยใช้เทคนิคโยนหินถามทาง ในเมษาปีหน้าจะเดินทางกลับประเทศไทย

ดร.ณัฐวุฒิ ชี้ว่าการเมืองในปี 2568 รัฐบาลแพทองธาร ชินวัตร ยังมีเสถียรภาพในมิติทางการเมืองเพราะกุมเสียงข้างมากและเด็ดขาด แม้เจอปัญหาโรครุมเร้า นักร้องเรียนรายวัน แต่ไม่อาจล้มรัฐบาลได้ แม้กระทั่งปัญหาเรื่องยุบพรรคเพื่อไทยกับ 6 พรรคร่วม กรณีบ้านจันทร์ส่องหล้า ที่อยู่ในระหว่างในการไต่สวนของนายทะเบียนพรรคการเมืองของ กกต. โดยมีข้อเท็จจริงเดียวกัน ในคดีล้มล้างการปกครองฯ ที่ศาลรัฐธรรมนูญไม่รับคำร้องไว้พิจารณา สุดท้ายมีแนวโน้มว่า นายทะเบียนพรรคการเมือง กกต.อาจใช้ช่องทางเพราะมี พยานหลักฐานไม่เพียงพอ สั่งยุติเรื่องหรือยกคำร้อง

ล่าสุด เห็นได้จาก นายทะเบียนพรรคการเมือง กกต. อาศัยจังหวะช่วงชุลมุน ส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ ยกคำร้องยุบพรรคภูมิใจไทย แม้ศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัย กรณีนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ตกเก้าอี้ เพราะมีพฤติกรรมให้นอมินีถือครองหุ้นใน หจก.บุรีเจริญชัย คอนสตรัคชั่น ก็ตาม โดยผู้ร้องได้หยิบเอาคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญในประเด็นเงินบริจาคซึ่งได้มาจากกระทำความผิดตามกฎหมายเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐจากนายศุภวัฒน์ เกษมสุทธิ์ บริษัท ศิลาชัย บุรีรัมย์(1991) จำกัด และหจก.บุรีเจริญชัย คอนสตรัคชั่น จำกัด และประเด็น การขัดกันแห่งผลประโยชน์ มาเชือดก็ตาม แต่ก็รอด

ดร.ณัฐวุฒิ วิเคราะห์ว่า แม้ฝ่ายนิติบัญญัติจะมีวาระการดำรงตำแหน่งถึงเดือนพฤษภาคม 2570 อาจเปลี่ยนแปลงนายกรัฐมนตรีได้ก็ตาม หากไม่มีการยุบสภาคืนอำนาจให้แก่ประชาชน แต่ตัวแปร การรวบรวมเสียงเพื่อจัดตั้งรัฐบาลใหม่เป็นอำนาจ สส.ไม่เกี่ยวกับ สว. 200คน แต่อำนาจถือไพ่ทางการเมืองยังอยู่กับพรรคเพื่อไทย ไม่เปลี่ยนแปรไปยังค่ายการเมืองสีน้ำเงิน เพราะพรรคภูมิใจไทยมีเสียงในมือ 71 เสียง ยังไม่เพียงพอ ส่วนพรรคประชาชน ค่ายสีส้ม อุดมการณ์ทางการเมืองข้ามขั้ว ยังนั่งเป็นฝ่ายค้านตลอดสมัย

ดังนั้นตัวแปรฝ่ายบริหารรัฐบาลแพทองธาร แม้บริหารบ้านเมืองไป อ่านโพยไป เป็นผู้นำการเมืองหญิงหน้าใหม่ หรือรัฐบาล(พ่อ)เลี้ยง ยังไม่มีตัวแปรใด ทำให้รัฐบาลอายุสั้น เหมือนกับกรณีกูรูการเมืองบางคน ที่มีใจอคติลำเอียงทำนายทายทัก ไม่อยู่ในหลักวิชาการ ว่ารัฐบาลอายุสั้น เว้นแต่รัฐบาลแพทองธาร ทำ(เพื่อพ่อ) ในเรื่องผลักดันกฎหมายนิรโทษกรรม โดยกุมเสียงข้างมากในสภา เพื่อเอานางสาวยิ่งลักษณ์กลับบ้าน จะพบปรากฏการณ์มีประชาชนออกมาต่อต้านขับไล่ในทันที ดังนั้นรัฐบาลจะอยู่ครบเทอมหรือไม่ อยู่ที่การกระทำของนางสาวแพทองธาร เป็นหลัก ไม่ใช่ตัวแปรของพรรคร่วมรัฐบาลหรือภาคประชาชน

ส่วนมิติทางด้านเศรษฐกิจ แม้รัฐบาลจะเติมเงินเข้ากระเป๋า เลือกเฉพาะแจกเงินผู้มีรายได้เปราะบางหรือผู้มีรายได้น้อย รายละ 10,000 บาท แม้กระตุ้น GDP ระบบเศรษฐกิจ ในระยะสั้นเพราะเงินสดกระจายในระบบเศรษฐกิจ แต่ในระยาวไม่อาจสร้างความมั่นคงในระบบเศรษฐกิจได้ เพราะในระดับจุลภาค ประชาชนไม่อาจนำเงินไปลงทุนผลิตหรือสินค้าบริการ สร้างงาน สร้างรายได้ ในระดับมหภาค ก่อให้เกิดหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้น และผูกพันประชากรทุกคนที่ไม่ได้รับการแจกเงิน เสมือนประหนึ่งแจกเงินซื้อเสียงทางอ้อม

หากพิจารณาจากการบริหารงานของรัฐบาลแพทองธาร ตลอดระยะเวลา 4 เดือน ยังไม่ได้แก้ปัญหาเศรษฐกิจ กระทบต่อปากท้องประชาชน ไม่ทำให้เงินที่แจกมาไม่เกิดกระบวนการผลิตสินค้าและบริการ หรือ ลดอัตราการว่างงาน แม้นโยบายค่าแรง 400 บาท เพิ่งอนุมัติ เฉพาะบางจังหวัด แต่มีผลกระทบต่อนักลงทุนระหว่างประเทศ ค่าจ้างเพิ่มขึ้น ทำให้นักลงทุนย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ในปี 2568 ภาวะเศรษฐกิจยังตกต่ำ

แม้นายทักษิณผู้เป็นพ่อ ปาฐกถาพูดถึงเทคนิควิธีการกระตุ้นเศรษฐกิจและ GDP เพิ่มขึ้น ในงานสัมมนาแห่งหนึ่งที่นครราชสีมา แต่แนวคิดนำเงินสกุลดิจิทัลมาใช้ โดยออกพันธบัตรเงินดิจิทัลคอยน์ขายให้นักลงทุนรายย่อย หรือใช้เหรียญคริปโตโคเรนซี่ มาซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้า ในเกาะภูเก็ต ย่อมกระทบต่อความมั่นคงในระบบการเงินของประเทศ เพราะอำนาจหลัก เป็นอำนาจของผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย

และแม้จะช่วงชิงจังหวะเอานักการเมืองไปแทรกแซงและกำกับดูแล แม้ว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง พยายามเสนอเอาคนการเมืองค่ายเพื่อไทยไปนั่งเป็นประธานบอร์ดธนาคารแห่งประเทศไทยไทยเพื่อกำกับควบคุมผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย เมื่อสรรหาเสร็จ แต่เกมพลิก เพราะผู้ได้รับเลือกเป็นประธานฯติดคุณสมบัติข้าราชการการเมืองในตำแหน่งที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี โดยกฤษฎีกาตรวจสอบและตีความคุณสมบัติไม่ผ่านการพิจารณา ก่อนเสนอทูลเกล้าฯ

"ดังนั้นในช่วงภาวะเศรษฐกิจในปี 2568 ประเทศไทยยังติดหลุมกับปัญหาเศรษฐกิจไทยตกต่ำ อัตราคนว่างงานจะเพิ่มขึ้น เพราะ Supply ในกระบวนการผลิตสินค้าไม่เพิ่มขึ้น ในขณะ Demand ของภาคประชาชน กำลังซื้อน้อยลง เว้นแต่สินค้าอุปโภคและบริโภคที่มีความจำเป็นในการการจับจ่ายใช้สอยเพื่อการดำรงชีพปกติ"

ดร.ณัฐวุฒิ กล่าวอีกว่ามิติทางสังคม ภาคประชาชนเข้ามาทำหน้าที่ในการ ตรวจสอบในการบริหารงานของรัฐบาล เห็นได้จาก ข้อพิพาท MOU 44 ระหว่างรัฐบาลไทยกับกัมพูชา โดยข้อเรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิก MOU 44 โดยกำหนดเงื่อนไขเวลาให้รัฐบาลดำเนินการภายใน 15 วัน พอครบระยะเวลา ติดตามเป็นเพียง พิธีการ สับขาหลอกเท่านั้น เพื่อให้เห็นว่าเป็นความชอบธรรมในการยกระดับเรียกร้องให้รัฐบาลแพทองธาร ลาออก ล้วนแต่เป็นมุกเก่า เหล้าเก่าในขวดใหม่ เพื่อบีบให้รัฐบาลลาออก แต่ได้ผลตรงที่รัฐบาลไม่กล้าผลีผลามหรือประมาท ในลีลากลเม็ดของกลุ่มการเมืองภาคประชาชน แต่ยังไม่สุกงอมและยังจุดกระแสไม่ติด เพราะรัฐบาลแพทองธาร เพิ่งเข้ามาบริหารบ้านเมือง

ดร.ณัฐวุฒิ กล่าวอีกว่าแม้รัฐบาลกุมเสียงข้างมากในสภา บางพรรคร่วมรัฐบาล ทำตัวเป็นอีแอบ ส่งซิกและส่งข้อมูลให้แก่ภาคประชาชน รวมถึงส่งคนของตนเองมาเป็นแกนนำร่วม ประหนึ่งว่า การเมืองภาคประชาชนแยกต่างหากจากพรรคการเมือง แม้การเมืองในยุคดิจิทัล การตื่นตัวทางการเมืองของประชาชนในการเลือกตั้งท้องถิ่นระดับ อบจ.ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2568 ในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ กระทบต่อปัญหาปากท้องของประชาชน การแข่งขันการเมืองท้องถิ่นรุนแรง จะพบปรากฎการณ์ในการแจกเงินซื้อเสียงเลือกตั้งในระดับสูงขึ้น พลวัตการเมืองสนามท้องถิ่นเป็นการเมืองอุปถัมภ์ ย่อมกระทบถึงระดับการเมืองสนามใหญ่ในปี 2570 อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

"ดังนั้น การเมืองไทยในปี 2568 ปีมะเส็ง งูเล็ก รัฐบาลอยู่ยาวลากยาวถึงปี 2570 เกือบครบเทอม เพราะเสถียรภาพความเข้มแข็งของรัฐบาล ยังไม่มีตัวแปรใดมาล้มรัฐบาลได้ เพราะเกมการเมืองของเพื่อไทยยังเหนือกว่า" ดร.ณัฐวุฒิ กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

2 สว. “ชาญวิศว์-พิสิษฐ์” ปักธงพิทักษ์รธน. ปกป้องสถาบันฯ พวกเราเป็นอิสระ ไม่มีรับใบสั่ง

กระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญและการทำประชามติเพื่อนำไปสู่การให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูยเพื่อมายกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ตามนโยบายของรัฐบาลเพื่อไทย ที่ต้องการทำให้เสร็จก่อนการเลือกตั้งที่จะมีขึ้น

ไม่กลัวรัฐประหาร ‘ภูมิธรรม’ ลั่น! จัดการได้รัฐบาลอยู่ครบเทอมแน่

“ภูมิธรรม” โวยเอ็มโอยู 44 ถูกปลุกปั่นไปไกล แทบจะออกนอกอวกาศอยู่แล้ว ไม่กังวลใจกับคำถามที่ว่าในปี 2568 สถานการณ์การเมืองจะวุ่นวายและโดนรัฐประหาร

'ภูมิธรรม' การันตีไม่มีปัญหาพรรคร่วมเห็นต่าง

นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ให้สัมภาษณ์ถึงสถานกานณ์ทางการเมือง ที่หลายคนถามรัฐบาลจะอยู่ครบ 4 ปีหรือไม่ ว่า หากดูจา

'ภูมิธรรม' เซ็ง 'เอ็มโอยู44' ถูกปลุกปั่นจนออกนอกอวกาศ

นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ให้สัมภาษณ์ถึงเอ็มโอยู 44 ว่า ตนยังยึดหลักเดิม เพราะควรใช้ความอดทนอดกลั้นและความเข้าใจ เพราะเอ็มโอยู 44 ซึ่งรัฐบาลยังไม่ได้ทำอะไร

'อนุทิน​' โวรัฐบาลชุดนี้​ มีเสถียรภาพมากสุด เชื่ออยู่ครบเทอม

นายอนุทิน​ ชาญ​วี​ร​กูล​ ​รอง​นายก​รัฐมนตรี​และ​รัฐมนตรี​ว่าการ​กระทรวง​มหาดไทย​ ในฐานะหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย (ภท.) ให้สัมภาษณ์กรณี