'บิ๊กเล็ก' ยันกองทัพไม่ได้อ่อนแอ รัฐบาลสั่งก็พร้อม ลั่นรบว้าแดงไม่ยาก แต่ผลกระทบเกินเยียวยา

“บิ๊กเล็ก”ยัน“กองทัพ”ไม่ได้อ่อนแอ ปมยอม”ว้าแดง”ตั้งฐาน เหตุต้องดูผลกระทบทางเศรษฐกิจ -ประชาชนตามแนวชายแดน ชี้รบกันไม่ยาก แต่ผลกระทบเกินเยียวยา ลั่นทหารมีหน้าที่ปกป้องอธิปไตย อยู่ที่นโยบายรัฐบาลสั่งการ

20 ธ.ค.67 ที่กองบัญชาการกองทัพบก พลเอก ณัฐพล นาคพาณิชย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวถึงสถานการณ์ตามแนวชายแดนไทยเมียนมา กรณีพื้นที่ที่มีการพิพาทเกิดขึ้นกับกลุ่มว้าแดงในขณะนี้ ว่า ประเด็นนี้ไม่ขอลงรายละเอียด แต่ขอให้ประชาชนมั่นใจว่า กองทัพพร้อมปกป้องอธิปไตยหากเกิดการรุกล้ำอธิปไตยเข้ามา เช่นเดียวกับกรณีที่เมียนมายังคงไม่ปล่อยตัว 4 ลูกเรือประมงไทย ไม่อยากจะลงในเรื่องของรายละเอียด เนื่องจากอยู่ระหว่างการพูดคุย ซึ่งอาจกระทบต่อขั้นตอนการเจรจา อาจทำให้คนไทยที่อยู่ฝั่งนู้นได้รับผลกระทบ

เมื่อถามว่า ยืนยันได้หรือไม่ว่าหน่วยงานความมั่นคง ไม่ได้อ่อนเกินไป พลเอก ณัฐพล กล่าวว่ายืนยันอย่างหนักแน่นว่า ไม่ได้อ่อน เราพร้อมปฏิบัติการเมื่อรัฐบาลสั่งการ แต่การพูดคุยจะต้องคำนึงถึงผลกระทบอย่างรอบด้าน ทั้งสังคม เศรษฐกิจ การท่องเที่ยว แต่อยากให้เชื่อใจ หากเป็นเรื่องอธิปไตย กองทัพปกป้องแน่นอน ไม่ยอมให้ใครมารุกล้ำอธิปไตย แต่ในขณะเดียวกัน การพูดคุยก็ต้องคำนึงถึงทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเมืองระหว่างประเทศ เศรษฐกิจ สังคม รวมถึงประชาชนที่อยู่ตามแนวชายแดน

"การรบกัน การปะทะกัน เป็นอาชีพของทหาร และความรับผิดชอบอยู่แล้ว แต่ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับพี่น้องประชาชนตามแนวชายแดน เราต้องคำนึงถึงเรื่องนี้ด้วย"

เมื่อถามว่ากลุ่มว้าแดง ไม่ได้รุกล้ำมาเพียงแค่จุดเดียว แต่ตลอดแนวชายแดนไทยเมียนมา มีการรุกล้ำถึง 80 จุด พลเอก ณัฐพล กล่าวว่า ไม่ถึงขนาดนั้น ซึ่งพื้นที่ตามแนวชายแดน เช่น เชียงใหม่ เชียงราย ปัจจุบันยังปักปันชายแดนไม่แล้วเสร็จ จึงมีพื้นที่ที่ไม่ชัดเจนหลายแห่ง ก็ต้องมีการพูดคุยกันในคณะกรรมการชายแดนส่วนท้องถิ่น ไทย - เมียนมา (TBC)!และยืนยันว่าไม่มีเดดไลน์อย่างที่เป็นข่าว

เมื่อถามว่า กระทรวงกลาโหมมีแนวทางอื่นหรือไม่ ในเมื่อการปักปันเขตแดนไม่สามารถทำได้ในพื้นที่ที่เกิดการสู้รบ เพื่อหาข้อสรุปในเรื่องนี้ พลเอกณัฐพล ระบุว่า ที่ผ่านมาก็มีอยู่แล้ว แม้ไม่มีแนวเขตแดน แต่เรามีเส้นปฏิบัติการที่กำหนดว่าทั้งสองฝ่ายจะอยู่กันบริเวณไหน เพื่อเป็นกรอบการปฏิบัติของแต่ละฝ่าย อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันเรามีคนไทยในการพูดคุยอยู่แล้ว และมีความแน่นแฟ้นกับชนกลุ่มน้อย แต่พื้นที่ตรงนั้น เป็นพื้นที่ที่เราไม่ได้พูดคุยกับเมียนมาโดยตรง มีชนกลุ่มน้อย ที่ประกอบด้วยหลายกลุ่มอยู่ตรงนั้น เราจึงใช้กลไกทั้ง TBC และกลไกอื่น ๆ เข้ามาเสริม

นอกจากนี้ พลเอกณัฐพล ยังฝากไปถึงสื่อโซเชียลที่มีการวิพากษ์วิจารณ์ในประเด็นนี้ว่า ขอให้มั่นใจ กองทัพพร้อมปกป้องอธิปไตย และในการพูดคุยเราไม่ได้มองแค่ประเด็นด้านความมั่นคงหรือการทหารเพียงอย่างเดียว มีเรื่องการเมืองระหว่างประเทศ เศรษฐกิจ ผลกระทบต่อประชาชน การรบการปะทะกันกันน่ะง่าย แต่เรื่องความเดือดร้อนของประชาชนเมื่อเกิดขึ้นแล้ว ยากที่จะเยียวยา กองทัพจึงคำนึงถึงเรื่องนี้ แต่ไม่ได้หมายความว่า คำนึงจนอ่อนอย่างที่สังคมวิจารณ์ เมื่อไหร่ก็ตามที่เกี่ยวข้องกับอธิปไตย เราก็พร้อม ปฏิบัติการได้ทันที

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ทอ. ส่งเครื่องบินขับไล่ เอฟ-16 สกัดกั้นอากาศยานไม่ทราบฝ่าย ชายแดนไทย-เมียนมา

กองทัพอากาศส่งเครื่องบินขับไล่ F-16 ขึ้นบินเพื่อพิสูจน์ฝ่ายและสกัดกั้นอากาศยานไม่ทราบฝ่าย บริเวณแนวชายแดนไทย-เมียนมา จังหวัดตาก

'บิ๊กเล็ก' คาดร่างพ.ร.บ.จัดระเบียบกลาโหม เสร็จอย่างช้า ก.พ.68

พล.อ.ณัฐพล นาคพาณิชย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวถึงการตรวจเยี่ยมกองบัญชาการกองทัพบก ว่า เป็นไปตามที่นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีแ

ทภ.3 แจงปมชายแดนไทย-ว้า ย้ำความสัมพันธ์อยู่ในระดับดีใช้ชีวิตได้ตามปกติ

กองทัพภาคที่ 3 ได้ออกเอกสารชี้แจงถึงกรณี ที่ได้ปรากฏข้อมูลข่าวสารในสื่อสังคมออนไลน์ ประเด็นเกี่ยวกับความมั่นคงในพื้นที่ชายแดน

'มาริษ' เผย 6 ชาติประชุมแก้ปัญหาเมียนมากับเพื่อนบ้าน เป็นไปด้วยดี

นายมาริษ เสงี่ยมพงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ แถลงถึงการประชุมอย่างไม่เป็นทางการระหว่างประเทศเมียนมาและประเทศเพื่อนบ้าน 6 ประเทศ (สปป.ลาว จีน อินเดีย บังกลาเทศ เมียนมา และไทย)

ไทยจัดเวทีประชุม 6 ชาติ ถกสถานการณ์ในเมียนมา 19-20 ธ.ค.นี้

นายนิกรเดช พลางกูร อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ เปิดเผยถึงรายละเอียดที่จะเกิดขึ้นในการหารือร่วม ระหว่าง 6 ประเทศ ได้แก่ บังกลาเทศ จีน อินเดีย สปป.ลาว เมียนมา และไทย ที่กรุงเทพฯ ในวันที่ 19 ธ.ค. นี้ว่า

ปธ.กมธ.มั่นคง แนะ กต. ถกชาติมหาอำนาจช่วยกดดัน 'ว้าแดง' ถอนทัพเขตแดนไทย

นายรังสิมันต์ โรม สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทยยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุม