'พริษฐ์' แนะ 'รัฐบาล' ควรยื่นร่างแก้ไข รธน.เกี่ยวข้องกับ ส.ส.ร. ประกบฝ่ายค้าน มอง มี 2 ด่านต้องผ่าน ชี้ 'นายกฯ' ต้องเป็นผู้ยุติร้อยร้าว เชื่อยิ่งร่วมมือฝ่าฟันเท่าไหร่ โอกาสสำเร็จมากขึ้นเท่านั้น
18 ธ.ค. 2567 - นายพริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บัญชีรายชื่อ และโฆษกพรรคประชาชน ให้สัมภาษณ์ก่อนการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การออกเสียงประชามติของคณะกรรมาธิการร่วมเพื่อพิจารณาร่าง พ.ร.บ.การออกเสียงประชามติ ว่า สิ่งที่จะต้องพิจารณากันในวันนี้ คือการเห็นด้วยกับร่าง พ.ร.บ.ของกรรมาธิการร่วม ซึ่งเป็นร่างเดียวกันที่ถูกแก้ไขโดยวุฒิสภา ที่เสนอเกณฑ์เสียงข้างมาก 2 ชั้น หรือปฏิเสธร่างดังกล่าว เพื่อรอเวลาอีก 180 วัน และยืนตามร่างเดิมของสภาผู้แทนราษฎรที่เสนอให้ใช้เสียงข้างมาก 1 ชั้น
นายพริษฐ์ กล่าวว่า เข้าใจว่า เสียงของสภาผู้แทนราษฎรส่วนใหญ่ น่าจะเห็นชอบกับทางเลือกที่ 2 ซึ่งส่งผลกระทบต่อกรอบเวลาการทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โจทย์ที่สำคัญคือทำอย่างไรให้กรอบเวลาไม่กระทบต่อความเป็นไปได้ในการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ทันต่อการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นหมุดหมายสำคัญที่ทางรัฐบาลได้สัญญาไว้ต่อประชาชน
นายพริษฐ์ กล่าวถึงทางออกที่เสนอคือการลดจำนวนครั้งในการทำประชาชมติจาก 3 เหลือ 2 ครั้ง เพื่อให้กรอบเวลาลดลง ในช่วงเวลา 180 วัน ที่รอร่าง พ.ร.บ.ประชามติกลับมาพิจารณาอีกครั้ง สามารถพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องกับสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ผ่าน 3 วาระของรัฐสภาคู่ขนานกัน
นายพริษฐ์ กล่าวด้วยว่า การผลักดันให้สำเร็จต้องผ่าน 2 ด่านคือ ด่านแรก ทำอย่างไรให้ประธานสภาบรรจุร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องกับ ส.ส.ร. ที่ทางพรรคก้าวไกล และพรรคเพื่อไทย เคยยื่นไปตั้งแต่ต้นปี และประธานสภาไม่บรรจุ ดังนั้น ครั้งนี้ทางพรรคประชาชนจะยื่นร่างดังกล่าวเข้าสู่สภา ในวันที่ 12 ธ.ค. ที่ผ่านมา หากทางคณะกรรมการได้เห็นถึงคำวินิจฉัยรายบุคคล หวังว่าการวินิจฉัยจะออกไปในทิศทางที่มองว่าการทำประชาชมติ 2 ครั้งเพียงพอ ซึ่งทางประธานสภา ได้นัดหารือในเรื่องดังกล่าว ในวันที่ 23 ธ.ค เวลา 10.00 น.
“ด่านที่ 2 ถึงแม้ประธานสภาจะบรรจุแล้ว สามารถเปิดประชุมร่วมรัฐสภา เพื่อพิจารณาโจทย์ต่อไป คือจะต้องทำอย่างไรให้รัฐสภาเห็นชอบด้วย ฉะนั้น ต้องไปดูรอยร้าวของทั้ง 2 รัฐสภาว่า เป็นรอยเดียวกันกับรอยร้าวของพรรคร่วมรัฐบาลหรือไม่ เพราะบุคคลที่จะยุติรอยร้าว คือนายกฯ เป็นสิ่งที่เราคาดหวังให้นายกฯ แสดงบทบาทความเป็นผู้นำ รวมทั้งแสดงความจริงใจในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เนื่องจากไม่มีอะไรรับประกันว่า เราจะสำเร็จผ่าน 2 ด่านนี้ แต่เชื่อว่ายิ่งคณะรัฐมนตรีให้ความร่วมมือในการพยายามฝ่าฟันเท่าไหร่โอกาสสำเร็จก็จะมีมากขึ้นเท่านั้น ทางที่ดีควรเสนอร่างในลักษณะเดียวกันเข้ามาประกบกับร่างของพรรคประชาชน”
ส่วนที่ทางรัฐบาลระบุว่า การทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ จะไม่ทันในรัฐบาลสมัยนี้ แต่จะตั้ง สสร.ให้ได้นั้น นายพริษฐ์ ระบุว่า ไม่อยากให้รัฐบาลยอมแพ้ และปรับลดเป้าหมายเร็วเกินไป ยังมีความเป็นไปได้ที่จะทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดย ส.ส.ร.จะเสร็จทันการเลือกตั้งครั้งต่อไป หากสามารถลดจำนวนการทำประชามติสำเร็จ ยิ่งรัฐบาลร่วมมือกับเราเท่าไหร่ โอกาสที่จะสำเร็จจะมากขึ้นเท่านั้น ไม่อยากให้รัฐบาลเร่งปรับลดเป้าหมาย เพราะทุกครั้งที่รัฐบาลสัญญาอะไรไว้ต่อประชาชน หากไม่สามารถรักษาได้ ท้ายที่สุดประชาชนจะแสดงออกผ่านการเลือกตั้งครั้งถัดไป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ปชน.หวัง ป.ป.ช.สอบปมป่วยทิพย์อย่างเที่ยงตรง!
'พริษฐ์' ชี้ ป.ป.ช. สอบปมทักษิณ ชั้น 14 เป็นตัวอย่างที่ประชาชนสนใจ หวังเห็นสอบอย่างเที่ยงตรง ให้กลไกกมธ.สอบคู่ขนาน
พรรคประชาชนจองกฐินซักฟอกรัฐบาลตามมาตรา 151
ปชน.จ่อเปิดซักฟอกรัฐบาล เข้มข้นเหมือนเดิม ย้ำ ายค้านเดินหน้าเต็มที่ ทั้งตรวจสอบ รบ.-เสนอกฎหมาย โยนถาม 'ทสท.' มีสส.ฝ่ายค้านกี่คน โว 'พรรคประชาชน' 140 คนพอแล้ว
ปชน.เปิดเพิ่ม 6 ชื่อชิงนายก อบจ.พ่วงขอบริจาค!
เปิดเพิ่ม 6 รายชื่อ ว่าที่ผู้สมัครนายก อบจ. พรรคประชาชน
'พริษฐ์' เข้าทำเนียบ ฝากนายกฯโน้มน้าว สส.-สว.ทำประชามติ 2 ครั้ง ให้ทันเลือกตั้งปี 70
นายพริษฐ์ วัชรสินธ์ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) พัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน สภาผู้แทนราษฎร ให้สัมภาษณ์ก่อนหารือกับนายชูศักดิ์ ศิรินิล รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
'บิ๊กป้อม' เมินร่วมวง 'ดินเนอร์ฝ่ายค้าน' แค่ส่งตัวแทน พปชร.
นายไพบูลย์ นิติตะวัน เลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) กล่าวถึงกรณีผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ได้นัดแกนนำพรรคร่วมฝ่ายค้านรับประทานอาหารเย็น ในวันพุธที่ 18 ธ.ค.นี้
'แก้วสรร' แพร่บทความ 'อนาคตรัฐบาลชินวัตร 4 ใต้กรอบกฎหมายไทย'
นายแก้วสรร อติโพธิ วิชาการอิสระ อดีตรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อดีตคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ออกบทความเรื่อง "อนาคตรัฐบาลชินวัตร 4 ใต้กรอบกฎหมายไทย"