ซูเปอร์โพลชี้ประชาชนเคลือบแคลงนักการเมืองในผลประโยชน์ธุรกิจบุหรี่ไฟฟ้า

ความเคลือบแคลงสงสัยของสาธารณชนต่อนักการเมืองในผลประโยชน์ธุรกิจ บุหรี่ไฟฟ้า

23 ม.ค. 2565 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) มูลนิธิ สถาบันวิจัยความสุขชุมชนและความเป็นผู้นำ เสนอผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง ความเคลือบแคลงสงสัยของสาธารณชนต่อ นักการเมืองในผลประโยชน์ธุรกิจ บุหรี่ไฟฟ้า กรณีศึกษาประชาชนทุกสาขาอาชีพกระจายทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ โดยดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) จำนวน 2,205 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 20 – 22 มกราคม 2565 ที่ผ่านมา พบว่า

ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 78.3 รู้สึกเคลือบแคลงสงสัยทำไม ฝ่ายการเมือง และข้าราชการระดับสูงบางคนของ กระทรวงสาธารณสุขไม่ออกมาต่อต้าน บุหรี่ไฟฟ้า ในขณะที่ร้อยละ 77.9 รู้สึก เคลือบแคลงสงสัยว่า มีนักการเมืองและข้าราชการบางคนแสวงหาผลประโยชน์จาก บริษัท บุหรี่ไฟฟ้า

ที่น่าพิจารณาคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 77.5 ระบุ ควรปรับรัฐมนตรีออกจากตำแหน่งที่ไม่ตอบสนองนโยบายรัฐบาลเพื่อสังคม สุขภาวะ ของประชาชน ร้อยละ 77.4 ระบุ การที่ รัฐมนตรีกระทรวง ดิจิทัล ออกมาให้สัมภาษณ์ สนับสนุนบุหรี่ไฟฟ้า เป็นการขัดนโยบายของนายกรัฐมนตรี ร้อยละ 77.1 เห็นด้วยกับ การห้ามขายบุหรี่ไฟฟ้า ในประเทศไทย ในขณะที่ร้อยละ 76.5 ชื่นชม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ที่ออกมา ต่อต้าน บุหรี่ไฟฟ้า ตามนโยบายเพื่อสังคมสุขภาวะของประชาชน นอกจากนี้ยังพบด้วยว่า ร้อยละ 76.1 ระบุ รัฐมนตรี กระทรวงดิจิทัล ทำงานมีประสิทธิภาพไม่เพียงพอในการปราบปรามบุหรี่ไฟฟ้า ที่มีการขายกันเกลื่อนในโลกออนไลน์

อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 74.1 เห็นด้วยกับรัฐบาลไทย โดยนายกรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา มีนโยบายว่าบุหรี่ไฟฟ้าเป็นสิ่งผิดกฎหมาย ห้ามนำเข้า ห้ามจำหน่าย และครอบครอง และร้อยละ 72.8 ชื่นชม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ที่ออกมา ระบุ ว่า สถานะของบุหรี่ไฟฟ้าเป็นสินค้าห้ามนำเข้าโดยประกาศของกระทรวงพาณิชย์ และบุหรี่ไฟฟ้าก็เป็นสิ่งของต้องห้ามนำเข้าตาม พ.ร.บ.ศุลกากร มีโทษจำคุกและโทษปรับไม่เกิน 5 แสนบาท ฉะนั้นรัฐบาลไม่มีนโยบายหรือแนวทางที่จะทำให้บุหรี่ไฟฟ้าเป็นสินค้าถูกกฎหมายแต่ประการใด

ในขณะที่ ร้อยละ 71.1 ระบุว่า การที่ รมว. ดิจิทัล บอกว่า ควรพิจารณาให้บุหรี่ไฟฟ้าถูกกฎหมาย เพราะจะสามารถลดอันตรายแก่ผู้สูบได้ เป็นการให้ข้อมูลเท็จแก่ประชาชนเพราะผลิตภัณฑ์บุหรี่ไฟฟ้า ประเภทให้ความร้อน มีอันตรายต่อสุขภาพ และยังไม่มีหลักฐานชัดเจนเพียงพอว่าการเปลี่ยนจากการสูบบุหรี่ซิกาแรต มาใช้ผลิตภัณฑ์บุหรี่ไฟฟ้าลดอันตรายจากโรคภัยที่เกิดจากการสูบบุหรี่ซิกาแรต

ผอ.ซูเปอร์โพล กล่าวว่า ผลโพลชิ้นนี้ชี้ให้เห็นว่า ประชาชนส่วนใหญ่สนับสนุนนโยบายของรัฐบาลในการเสริมสร้างสังคมสุขภาวะของประชาชนที่ไม่สนับสนุนบุหรี่ไฟฟ้าแต่เมื่อมีการออกมาสนับสนุนบุหรี่ไฟฟ้าของรัฐมนตรีบางคนจึงทำให้ประชาชนส่วนใหญ่เกิดความเคลือบแคลงสงสัยว่ารัฐมนตรีและข้าราชการบางคนอาจจะได้รับผลประโยชน์จากบริษัทบุหรี่ไฟฟ้าและต้องการให้มีการปรับคณะรัฐมนตรีให้รัฐมนตรีที่ไม่ทำหน้าที่ป้องกันภัยคุกคามสังคมสุขภาวะของประชาชนออกไปเพื่อเป็นการเปลี่ยนแปลงการเมืองใหม่อย่างแท้จริงอันนำผลประโยชน์สูงสุดให้แก่ประชาชนคนไทยทั้งประเทศมากกว่าผลประโยชน์ทางการเมืองและผลประโยชน์ทางธุรกิจต่างชาติ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'สุริยะใส' กะเทาะบทเรียนแก้รธน. เสียงข้างมากไร้ความชอบธรรม ไม่มีความหมายเสมอไป

“สุริยะใส” กระตุกนักการเมือง บทเรียนแก้รัฐธรรมนูญเสียงข้างมากในสภาที่ไร้ซี่งความชอบธรรม ไม่มีความหมายเสมอไป

หนุน 'ปชน.' ยุติรื้อจริยธรรม ไม่เห็นด้วยยังดันทุรังแก้รธน.รายมาตรา

นายเทพไท เสนพงศ์ อดีต สส.นครศรีธรรมราช โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า เห็นด้วยกับการยุติแก้ไขประมวลจริยธรรมนักการเมือง ของพรรคประชาชน

'มิวอ้อน ATLAS' สำนึกผิด โพสต์ขอโทษแฟนๆ-เพื่อนร่วมวงและต้นสังกัด

ก่อนหน้านี้เคยมีการแชร์คลิปของศิลปินวัยรุ่นคนหนึ่งที่กำลังยืนสูบบุหรี่ไฟฟ้าในที่สาธารณะ แต่ก็ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าคนในคลิปดังกล่าวคือใคร จนมีแฟนคลับบางส่วนของวงการ T-POP ได้ออกมาโพสต์ตำหนิและเรียกร้องความรับผิดชอบต่อสังคมและเพื่อนร่วมวง และถึงแม้แฟนคลับของเจ้าตัวจะทราบว่าศิลปินคนดังกล่าวคือใครและมีการบอกกล่าวว่าเจ้าตัวรู้สึกผิด แต่ก็ยังไม่เห็นการเคลื่อนไหวหรือการออกมาขอโทษแฟนๆและผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการกระทำดังกล่าวแต่อย่างใด

นักเขียนซีไรต์ ถามแก้ รธน.แล้ว ประชาชนจะอยู่ดีมีสุข ทำมาหากินได้ตามปรกติไหม?

ประชาชนไม่ได้หวังพึ่งนักการเมือง ส่วนมากหวังพึ่งเงินแจก แต่ทั้งหมดหวังจะให้มีชีวิตที่ดี ทำมาหากินได้อย่างปรกติ ซึ่งนักการเมืองทำให้พวกเขาไม่ได้