ดร.ณัฏฐ์ ชำแหละ 92 ปีรัฐธรรมนูญ วัฏจักรการแย่งชิงอำนาจ!

ดร.ณัฏฐ์ วงศ์เนียม ระบุครบรอบ 92 ปีวันรัฐธรรมนูญ ยังวนเวียนอยู่กับวัฏจักรการแย่งชิงอำนาจของนักการเมือง  มากกว่าคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน

10 ธ.ค. 2567 - ดร.ณัฐวุฒิ วงศ์เนียม หรือ “ดร.ณัฏฐ์” นักกฎหมายมหาชน กล่าวเนื่องในวันครบรอบ 92 ปีวันรัฐธรรมนูญ ว่าแม้ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญ เป็นกฎกติกาหลักของประเทศ ก่อให้เกิดสถาบันทางการเมือง ดังจะเห็นได้จากรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน 2540 เกิดองค์กรอิสระ และเกิดระบบเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ ควบคู่กับระบบเลือกตั้งแบบแบ่งเขต เพื่อออกแบบให้เป็นรัฐบาลผสม และการมีส่วนร่วมทางการเมืองทุกสาขาอาชีพ

แต่บริบทการเมืองในปัจจุบัน เปลี่ยนไปจากเดิม ประชาชนตื่นตัวทางการเมืองในระดับที่สูงขึ้น เข้าใจสิทธิ์ในการหย่อนบัตรของตนมากขึ้น เพราะปัจจุบันไทยเข้าสู่ยุคดิจิทัล สามารถสืบค้นข้อมูลทางการเมืองได้ จากโทรศัพท์มือถือและประชาชนทุกคน สามารถเข้าถึงระบบสื่อสารอินเทอร์เนต ในราคาถูกได้

ดร.ณัฐวุฒิ กล่าวว่าแต่ปัญหาระบบการเมือง การแข่งขันทางการเมืองมีความรุนแรงมากขึ้น การซื้อเสียงเข้าสู่อำนาจรุนแรงทุกระดับโดยเฉพาะการเมืองระดับท้องถิ่น โดยจะเห็นการเมืองระดับชาติ รัฐบาลแพทองธาร ชินวัตร แต่งตั้งคณะรัฐมนตรีบางคน ผิดฝาผิดตัว เอาพลเรือนอดีตสหายที่เคยเข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์ มาใช้งานคุมกองทัพไทย

ทั้งยังพยายามจะกินรวบ โดยการเสนอแก้กฎหมาย จัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม ในการแต่งตั้งทหารชั้นนายพล เลียนแบบมาจากการแต่งตั้ง ผบ.ตร.ให้นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และอ้างสกัดการรัฐประหาร เอาทหารของพระราชา มาเป็นทหารของนักการมือง โดยลืมไปว่า รัฐธรรมนูญ มาตรา 8 พระมหากษัตริย์ทรงดำรงตำแหน่งจอมทัพไทย ทหารนั้น เป็นทหารของพระราชา ค้ำจุนราชบัลลังก์ สถาบันกษัตริย์ ให้อยู่คู่กับประเทศไทย  

ดร.ณัฐวุฒิ กล่าวต่อไปว่าทั้งยังเหิมเกริม มีแนวคิดจะแก้ไขมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พ.ศ.2457 อ้างกฎหมายล้าหลัง โบราณ โดยจะใช้โมเดลของรัฐสภาเกาหลีใต้มาใช้เป็นโมเดลของประเทศไทย ให้อำนาจสส.ในรัฐสภามีอำนาจต่อต้านการรัฐประหาร หวังใช้กลไกสภา ประกาศยกเลิกกฎอัยการศึกได้

นอกจากนี้การเสนอ ร่าง พรบ.ประชามติ ที่เสนอแก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 13 เปลี่ยนระบบสองชั้นมาเป็นระบบชั้นเดียว ให้เหลือเพียงระบบเสียงข้างมากธรรมดา แต่ก็ล้มไม่เป็นท่า ส่งผลกระทบต่อนโยบายแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ ที่พรรคเพื่อไทยแกนนำจัดตั้งรัฐบาลหาเสียงไว้

นัยยะสำคัญคือ รัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษรของไทย ร่างโดยนายมีชัย ฤชุพันธ์ แก้ไขยาก เพราะมาตรา 256 วางหมากไว้อีกชั้นหนึ่ง จะต้องมี สว.เห็นชอบด้วยหนึ่งในสาม ในวาระที่ 3 ประกอบกับ การจัดทำประชามติปัจจุบันเป็นระบบสองชั้นและตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ

จะต้องจัดทำประชามติถึง 3 ครั้ง ทำให้แก้ไขทั้งฉบับ ยากกว่าเข็นครกขึ้นภูเขา

“การแย่งชิงอำนาจ แม้เป็นรัฐบาลผสม ระหว่างค่ายสีแดง กับค่ายสีน้ำเงิน โดยนำประเด็นที่ดินเขากระโดง กล่องดวงใจของครูใหญ่เนวิน บุรีรัมย์ มาประลองกำลัง โดยสวนกลับที่ดินสนามกอล์ฟอัลไพน์ ถูกขุดคุ้ยเพื่อใช้ช่องจริยธรรม มาตีกลับรัฐบาลแพทองธาร ชินวัตร ผู้ถือหุ้นในบริษัทดังกล่าว

พร้อมกับเกาะกูด ตาม MOU 2544 โดยให้นายสนธิ ลิ้มทองกุล อดีตแกนนำพันธมิตร ฟื้นคืนชีพมาเปิดเกม เหมือนในปี 2548-2549 เพื่อล้มนายกรัฐมนตรีทับซ้อนบางคน เพื่อเรียกแขกให้ทหารเข้ามารัฐประหาร เหมือนกับนายทักษิณ เคยโดนมาแล้วในปี 2549 เหมือนกับกรณี นายสุเทพ เทือกสุบรรณ แกนนำ กปปส.เคยทำมาแล้วในปี  2557

ยุทธศาสตร์เดินหน้า แก้เกมกฎหมายป้องกันทหารปฏิวัติมีสะดุด แทนที่ ครม.จะยึดอำนาจทหาร กลับเพิ่มแรงทวีคูณให้รัฐบาลแพทองธาร ไปเร็วยิ่งกว่าเดิม แทนที่จะนิ่งอยู่ครบเทอม แต่เป็นทรงเดียวกับนายทักษิณ ผู้เป็นบิดา ส่งกลิ่นให้ทหารเอาคืนทุกดอกในไม่ช้าไม่นาน

โดยเฉพาะร่างกฎหมายที่ออกแบบให้ อำนาจของนายกรัฐมนตรี โดยมติ ครม.กรณีได้กลิ่นรัฐประหาร มีอำนาจสั่งปลดกลางอากาศ แต่ทหารนายใด เอากรณีของ นายถวิล เปลี่ยนศรี อดีต เลขา สมช. มาประยุกต์ใช้โดยใช้อำนาจศาล ศรนั้นจะกลับไปหาผู้ออกคำสั่ง เพราะเป็นสั่งย้ายโดยมิชอบ ซึ่งนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เคยโดนมาแล้ว”

ดร.ณัฐวุฒิ กล่าวอีกว่า ทันทีที่กระแสสังคมตีกลับและหลายพรรคการเมืองโดยเฉพาะพรรคร่วมรัฐบาลไม่เห็นด้วยกับร่างพรบ.จัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม  นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกฯรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ก็โยนว่าการเสนอส่วนตัวของนายประยุทธ์ ศิริพานิชย์ สส. บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย

“พรรคการเมืองอื่นที่ถอยกรูด เพราะเป็นนกรู้ว่า รัฐธรรมนูญบัญญัติว่า พระมหากษัตริย์ทรงเป็นจอมทัพไทย ไปแตะทหารของพระราชา เท่ากับเอาการเมืองไปแทรกแซงทหาร เอาทหารของพระราชาเป็นทหารของรัฐบาล ไม่ต่างจากการแก้ไขมาตรา 112 โดยไม่สำเหนียกว่า กรณีทหารจะทำการรัฐประหาร เกิดจากการกระทำไม่สุจริตของนักการเมืองฝ่ายรัฐบาล การรัฐประหารก็เพื่อหยุดยั้งรัฐบาลที่กระทำให้เกิดความเสียหายต่อชาติบ้านเมือง”

ดร.ณัฐวุฒิ มองว่าผ่านมา 92 ปี แต่การแย่งชิงอำนาจเหมือนเดิม  ปัจจุบันได้รัฐบาลผสมต่างขั้วอำนาจ ต่างอุดมการณ์แต่เป็นการรวมตัวกันเพียงชั่วคราว และแม้รัฐบาลแพทองธาร คุมเสียงข้างมากในสภา แต่อย่าลืมบทเรียน นายทักษิณ ชินวัตร ผู้เป็นบิดานางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ผู้เป็นอา ผ่านประสบการณ์ถูกทหารยึดอำนาจมาแล้ว

“การเสนอแก้กฎหมาย ที่เหมือนเป็นการเขียนเสือให้วัวกลัวนั้น แต่เมื่อยึดอำนาจสำเร็จ ผู้นำรัฐประหาร ฉีกรัฐธรรมนูญทันที มีอำนาจสูงสุดเป็น รัฎฐาธิปัตย์ตามคำพิพากษาศาลฎีกา 45/2496 เคยวินิจฉัยไว้”

ดร.ณัฐวุฒิ  กล่าวด้วยว่า การเมืองสุกงอมหรือไม่ ประชาชนเจ้าของอำนาจจะเป็นผู้ชี้ขาด แม้รัฐธรรมนูญจะออกแบบสถาปนาอำนาจสถาบันทางการเมืองไว้อย่างไร คุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ ของประชาชนไว้อย่างไร แต่เมื่อเสือหลับไปแหย่ให้เสือตื่น ไม่ต่างจากเอาไม้แหย่กรงเสือ ดังนั้นการรัฐประหารของกองทัพ ย่อมเกิดขึ้นได้ จากตัวแปรหลัก คือ นักการเมืองขี้ฉ้อ

แต่หากรัฐบาลมุ่งแก้ปัญหาปากท้องประชาชน ไม่โยนหินถามทาง เพิ่มภาระเกินควร โดยเพิ่มภาษี Vat 15-20 เปอร์เซ็นต์ ส่งผลให้เป็นการรีดภาษีประชาชนเพื่อคืนทุน โดยการแจกหว่านผู้มีรายได้น้อย หัวละหนึ่งหมื่นบาท ไม่ต่างจากพ่อค้าเงินกู้นอกระบบ

หลายเรื่อง แทนที่รัฐบาลจะได้คะแนนนิยมแต่กลับพลาดท่า ไม่ว่าจะเป็นการแก้ไข ร่าง พรบ.ประชามติ ร่าง พรบ.นิรโทษกรรม ร่างพรบ.การจัดระเบียบกระทรวงกลาโหม รวมถึงแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ ล้วนแต่กระทำเพื่อคนของตนเอง และพรรคการเมืองของตนเองทั้งสิ้น

ดร.ณัฐวุฒิ ย้ำว่าแม้การออกแบบรัฐธรรมนูญไทยในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นผลผลิตในช่องทางใด โดยอ้างว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน เหมือนรัฐธรรมนูญฉบับ 2540 แต่เป้าหมายเพื่อแย่งชิงอำนาจ ให้พรรคการเมืองของตนเองได้เปรียบทุกช่องทางเพื่อครองอำนาจนานที่สุด มากกว่าการออกแบบเพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน

“ดังนั้นวันเวลาเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว รุ่นต่อรุ่น ในโอกาสครบ 92 ปี การแย่งชิงอำนาจทางการเมืองยังเป็นวัฏจักรการเมืองวนเวียนไม่จบสิ้น  แม้ไม่มีมิตรแท้ศัตรูถาวรในทางการเมือง  แต่ ตราบใดเมื่อผลประโยชน์ลงตัวความร่วมมือกันก็เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา

แต่เมื่อขัดแย้งกัน และเป็นฝ่ายแค้นก็ใช้กลุ่มมวลชน เป็นเครื่องมือ  ควักมือทหารเข้ามาเป็นคนกลาง ยึดอำนาจ เพื่อยับยั้งปัญหา ด้วยกาาฉีกรัฐธรรมนูญและเขียนรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งเป็นวัฏจักรการเมืองไทยแบบดั้งเดิม  นี่คือระบบการเมืองไทยภายใต้รัฐธรรมนูญแบบไทยๆ” ดร.ณัฐวุฒิ ระบุ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'สุริยะ' ชี้ 'วิโรจน์' พูดให้ดูดี ไม่สนนามสกุลเดียวกับ 'ธนาธร' ก็จะตรวจสอบ

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คมนาคม กล่าวกรณีฝ่ายค้านออกมาระบุว่าเตรียมจองคิวอภิปรายไม่ไว้วางใจกระทรวงคมนาคมว่า เป็นการทำหน้าที่ของฝ่ายค้านที่จะตรวจสอบรัฐบาลถือว่าเป็นเรื่องปกติ

นายกฯอิ๊งค์ ตรวจความเรียบร้อยโต๊ะ-เก้าอี้ทำงาน เตรียมต้อนรับน้องๆ…

ผู้สื่อข่าวรายงานความเคลื่อนไหว น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในช่วงเช้าได้ประชุมคณะที่ปรึกษานโยบายของนายกรัฐมนตรี ที่บ้านพิษณุโลก เขตดุ

รู้ทันกลเกมนักการเมือง แก้รัฐธรรมนูญมาตรา 256 ใครได้ใครเสีย?

ประชาธิปไตยจะไม่มีทางเบ่งบานได้เลย หากประชาชนยังไม่รู้เท่าทันกลเกมของนักการเมือง ที่มักแอบอ้างประชาชนในการกระทำสิ่งต่างๆ เพื่อผลประโยชน์ส่วนตน การเมืองไทยทุกวันนี้ยังคงเป็นพื้นที่ของคนรวยที่อยากมีอภิสิทธิ์เหนือคนทั่วไป หรืออยากได้อำนาจรัฐมา

'ผู้การติ๊บ' ลุยคุมเข้มสกัดภัยคุกคามทุกรูปแบบ รักษาอธิปไตยไทย

พ.อ.ณัฐกร เรือนติ๊บ หรือ “ผู้การติ๊บ” ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจราชมนู ซึ่งดูแลพื้นที่ชายแดนไทย-เมียนมา 5 อำเภอชายแดน จังหวัดตาก (แม่สอด-ท่าสองยาง-พบพระ-อุ้มผาง-แม่ระมาด)