โฆษกรัฐบาล สวน 'พิธา-ฝ่ายค้าน' เสาหลักอะไรกัน เห็นมีแต่โดดร่วมม็อบ-ซดเกาเหลา

โฆษกรัฐบาล22 ม.ค.2565 - นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรคก้าวไกล ระบุว่า ปัญหาความขัดแย้งภายในพรรคพลังประชารัฐจะส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพทางการเมืองของรัฐบาลแน่นอน ฝ่ายค้านต้องเป็นเสาหลักในการสู้วิกฤติขณะที่รัฐบาลไม่มีสมาธิในตอนนี้ว่า ยืนยันว่ารัฐบาลภายใต้การนำของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ยังบริหารประเทศเพื่อแก้ปัญหาความเดือดร้อนให้กับประชาชนอย่างเต็มที่ พรรคร่วมรัฐบาลยังคงเหนียวแน่น ร่วมกันทำงานอย่างเข้าขา

ขณะที่สถานการณ์ในพรรคพลังประชารัฐนั้นถือเป็นเรื่องปกติของพรรคการเมือง ซึ่งทุกพรรคก็เคยเป็น แต่สุดท้ายก็จบลงด้วยดี ดังนั้นหากจะมีคนที่เสียสมาธิ ก็น่าจะเป็นนายพิธามากกว่า ที่สบช่อง เห็นโอกาสหลังจากที่ฝ่ายค้านไร้ประสิทธิภาพในการทำงานมานาน จึงเสียสมาธิ รีบโดดเกาะกระแส กลัวตกขบวนไปกับเขาด้วย

"หากฝ่ายค้านเป็นเสาหลักในการทำหน้าที่ตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลอย่างเข้มแข็ง ประชาชนย่อมได้ประโยชน์สูงสุด แต่ที่ผ่านมาเห็นมีแต่โดดไปร่วมกับม็อบบนถนนบ้าง ทะเลาะกับพรรคร่วมฝ่ายค้านด้วยกันเองบ้าง จึงไม่แน่ใจว่าอยากจะเป็นเสาหลักให้กับใครกันแน่ อยากให้ถามใจตัวเองก่อน ถ้านายพิธาอยากเป็นเสาหลักให้กับประชาชน ก็ควรกลับมาทำหน้าที่ฝ่ายค้านในสภาฯ ให้เต็มที่ ไม่ใช่คอยจ้องแต่จะเล่นเกมส์การเมืองจนลืมหน้าที่ที่ฝ่ายค้านควรต้องทำ และถ้ารัฐบาลจะต้องเสียสมาธิ ก็เพราะต้องมาคอยแก้ข่าวที่ฝ่ายค้านทำให้ประชาชนสับสนรายวัน แทนที่จะได้เร่งแก้ปัญหาให้กับประชาชนอย่างที่ควรจะเป็นมากกว่า" นายธนกร กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 20)

รัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490

'เศรษฐา' อย่าสับสน! โพลวัดผลงาน ไม่ใช่เรตติ้งนายกฯ

นายเทพไท เสนพงศ์ อดีต สส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า อย่าสับสน !!! ระหว่างผลงาน กับการเลือกนายกฯ คนต่อไป

'นิพิฏฐ์' จะเสียภาษีให้น้อยที่สุด หวั่นถูกนำไปสร้างความเข้มแข็งให้นักการเมือง

นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ อดีตสส.พัทลุง โพสต์เฟซบุ๊กว่า มีคำกล่าวว่า “หากต้องการรู้ว่าประชาชนเป็นอย่างไรให้เป็นนักการเมือง หากต้อง