22 ม.ค.2565 - ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “ทำไม พรรคประชาธิปัตย์ชนะพรรคพลังประชารัฐในการเลือกตั้งซ่อมภาคใต้” ทำการสำรวจระหว่าง วันที่ 19-20 มกราคม 2565 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป และมีสิทธิเลือกตั้งในจังหวัดชุมพรและจังหวัดสงขลา กระจายทุกระดับการศึกษา อาชีพและรายได้ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,329 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับสาเหตุที่ทำให้พรรคประชาธิปัตย์ชนะพรรคพลังประชารัฐในการเลือกตั้งซ่อมภาคใต้ การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0
จากการสำรวจเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อสาเหตุที่ทำให้พรรคประชาธิปัตย์ชนะพรรคพลังประชารัฐในการเลือกตั้งซ่อม จังหวัดชุมพร เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2565 ที่ผ่านมา พบว่า ตัวอย่างที่มีสิทธิเลือกตั้งในจังหวัดชุมพร
ร้อยละ 69.80 ระบุว่า ฐานคะแนนเดิมของพรรคประชาธิปัตย์ดีกว่าพรรคพลังประชารัฐ
รองลงมา ร้อยละ 29.87 ระบุว่า ผู้สมัครของพรรคประชาธิปัตย์ได้รับความนิยมมากกว่าผู้สมัครของพรรคพลังประชารัฐ
ร้อยละ 12.08 ระบุว่า คนชุมพรแสดงออกในความต้องการ “คืนความเป็นธรรมให้อดีต ส.ส. ลูกหมี (ชุมพล จุลใส)”
ร้อยละ 11.58 ระบุว่า พรรคประชาธิปัตย์มีกลยุทธ์ในการหาเสียงได้ดีกว่าพรรคพลังประชารัฐ
ร้อยละ 7.38 ระบุว่า พรรคประชาธิปัตย์สามารถปราศรัยโน้มน้าวใจประชาชนได้ดีกว่าพรรคพลังประชารัฐ
ร้อยละ 2.01 ระบุว่า พรรคประชาธิปัตย์ไม่มุ่งโจมตีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ในระหว่างการหาเสียงเลือกตั้ง
ร้อยละ 1.51 ระบุว่า ประชาชนไม่ไว้ใจพรรคพลังประชารัฐว่าจะมีแผนล้ม พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ในอนาคตหรือไม่ และผู้อำนวยการเลือกตั้งของพรรคพลังประชารัฐไม่ได้เป็นคนใต้ ในสัดส่วนที่เท่ากัน
ร้อยละ 1.34 ระบุว่า พรรคพลังประชารัฐไม่ชู พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ในระหว่างการหาเสียงเลือกตั้ง
และร้อยละ 0.34 ระบุว่า เฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อสาเหตุที่ทำให้พรรคประชาธิปัตย์ชนะพรรคพลังประชารัฐในการเลือกตั้งซ่อมจังหวัดสงขลา เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2565 ที่ผ่านมา พบว่า
ตัวอย่างที่มีสิทธิเลือกตั้งในจังหวัดสงขลา ร้อยละ 71.90 ระบุว่า ฐานคะแนนเดิมของพรรคประชาธิปัตย์ดีกว่าพรรคพลังประชารัฐ
รองลงมา ร้อยละ 29.20 ระบุว่า ผู้สมัครของพรรคประชาธิปัตย์ได้รับความนิยมมากกว่าผู้สมัครของพรรคพลังประชารัฐ
ร้อยละ 9.69 ระบุว่า พรรคประชาธิปัตย์มีกลยุทธ์ในการหาเสียงได้ดีกว่าพรรคพลังประชารัฐ
ร้อยละ 7.64 ระบุว่า ประชาชนไม่พอใจการปราศรัยของเลขาธิการพรรคพลังประชารัฐชวนเลือกผู้แทนฯ ที่มีเงิน
ร้อยละ 6.68 ระบุว่า พรรคประชาธิปัตย์สามารถปราศรัยโน้มน้าวใจประชาชนได้ดีกว่าพรรคพลังประชารัฐ
ร้อยละ 2.46 ระบุว่า ผู้อำนวยการเลือกตั้งของพรรคพลังประชารัฐไม่ได้เป็นคนใต้
ร้อยละ 2.05 ระบุว่า ประชาชนไม่ไว้ใจพรรคพลังประชารัฐว่าจะมีแผนล้ม พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ในอนาคตหรือไม่
ร้อยละ 1.64 ระบุว่า พรรคประชาธิปัตย์ไม่มุ่งโจมตี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ในระหว่างการหาเสียงเลือกตั้ง
ร้อยละ 0.55 ระบุว่า พรรคพลังประชารัฐไม่ชู พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ในระหว่างการหาเสียงเลือกตั้ง
และร้อยละ 1.36 ระบุว่า เฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ประมงพื้นบ้านสงขลา อาศัยช่วงคลื่นลมไม่รุนแรง ออกจับปูม้ากำลังชุกชุม ขายได้ราคาดี
ที่ชายหาดบ้านบ่ออิฐ ต.เกาะแต้ว อ.เมือง จ.สงขลา ชาวประมงพื้นบ้านในชุมชนบ้านบ่ออิฐนำเรือหลายลำออกไปทำการประมงอวนปูกลางทะเล เนื่องจากในช่วงนี้คลื่นลมไม่รุนแรงสามารถนำเรือออกไปทำการประมงได้
ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 34): ‘กรมขุนชัยนาทนเรนทร’ ทรงตกเป็นเหยื่อการเมืองของหลวงพิบูลสงคราม
รัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490
'กูรูใหญ่' แฉเบื้องลึก! ทำไมนักการเมืองยุคนี้ไม่กลัว 'ยึดอำนาจ'
นายไพศาล พืชมงคล นักกฎหมาย และอดีตกรรมการผู้ช่วยรองนายกรัฐมนตรี (พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า การเมืองไทยกำลังเข้าสู่ทางตัน
18บอสหนาว ดีเอสไอจ่อฟัน ผิด‘แชร์ลูกโซ่’
คนส่วนใหญ่ยังเชื่อทนายความจิตอาสาไม่หิวแสงมีจริง แต่ไม่มาก “ดีเอสไอ” จ่อฟันแชร์ลูกโซ่เร็วๆ นี้
เพจพรรคประชาธิปัตย์ โพสต์ปลื้ม ‘คนคุณภาพประชาธิปัตย์’ ได้เป็นขรก.การเมือง
เฟซบุ๊กเพจ พรรคประชาธิปัตย์ โพสต์ข้อความว่า ครม. เห็นชอบ แต่งตั้ง “คนคุณภาพประชาธิปัตย์” เป็นข้าราชการการเมือง สังกัด ทส. และ สธ.