28 พ.ย.2567 - ที่รัฐสภา นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน ในฐานประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การทหาร สภาผู้แทนราษฎร ให้สัมภาษณ์ก่อนการประชุมกมธ.กรณีการสร้างค่ายสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก หรือร. 23 พัน 4 โดยหลีกเลี่ยงพื้นที่เขากระโดงว่า มีประชาชนร้องเรียนว่าค่ายดังกล่าวไม่ได้สร้างในพื้นที่ที่ขออนุญาต และปรากฎว่าที่ตั้งของค่ายดังกล่าวในปัจจุบัน ปรากฏว่ามีสนามกอล์ฟเขากระโดงด้วย จึงมีข้อสงสัยว่าไม่ได้สร้างในพื้นที่ที่ได้รับอนุญาต แต่กลับมาสร้างในพื้นที่อีกแปลงหนึ่งที่ห่างออกมาประมาณ 2 กม.
ประเด็นสำคัญคือทำไมค่ายหทารจึงไม่ไปตั้งในพื้นที่ที่ได้รับอนุญาต ซึ่งที่ได้รับอนุญาตคือ น.ส.ล.4130 ประมาณ 400 ไร่ ปรากฏว่าในนสล.4130 มีที่อีก 1 แปลงคือ 24 ไร่เศษ ซึ่งมีการฟ้องร้องกัน โดยผู้ครอบครองพื้นที่ฟ้องร้องการรถไฟแต่การรถไฟฟ้องแย้งและสู้คดี 5 ปี จนมีคำพิพากษาศาลฎีกาเป็นที่สิ้นสุดเด็ดขาดว่าที่แปลงนั้นเป็นที่การรถไฟ โดยปัจจุบันผู้ที่ฟ้องการรถไฟก็ชำระค่าปรับและออกจากพื้นที่นั้นแล้ว
นายวิโรจน์ กล่าวต่อว่า ประเด็นสำคัญที่จะมีการซักถามในที่ประชุมกมธ.คือ พื้นที่ 400 ไร่ดังกล่าวจริงๆ แล้วควรเป็น ค่ายสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก แล้วทำไมจึงไม่เป็นค่ายทหาร ทำไมค่ายทหารจึงต้องหนีห่างออกมา 2 กม.เศษ จนต้องไปฟ้องขับไล่ราษฎร เมื่อปี 2524 ซึ่งประชาชนมีความรู้สึกว่าหากจะนำพื้นที่เป็นค่ายทหารก็สามารใช้ได้ แต่กลับมีสนามกอล์ฟเขากระโดงขึ้นมา โดยสนามกอล์ฟดังกล่าวเพิ่งจะเข้าสู่ระบบทะเบียนเมื่อปี 2566 จึงถูกตั้งคำถามในเรื่องของการบริหารเงินนอกงบประมาณ ดังนั้น วันนี้จึงต้องสืบหาข้อเท็จจริงว่าค่ายทหารสร้างถูกที่หรือไม่ และถ้าสร้างไม่ถูกที่ทำไมต้องหลบออกมา ทำไมไม่ไปสร้างที่เขากระโดงหรือเป็นพื้นที่ร้อน หรือมีใครลงอาถรรพ์หรืออย่างไร
ผู้สื่อข่าวถามว่าสนามกอล์ฟที่เขากระโดงใครเป็นผู้บริหารหรือเป็นของกองทัพ นายวิโรจน์ กล่าวว่า สนามกอล์ฟเป็นของมณฑลทหารบกที่ 26 หรือ มทบ.26 ซึ่งเป็นการบริหารจัดการและเป็นธุรกิจของกองทัพเพื่อสวัสดิการกองทัพ
เมื่อถามว่า ทำไมกองทัพต้องถอยห่างออกมาจากพื้นที่ที่ขออนุญาต นายวิโรจน์ กล่าวว่า วันนี้เราต้องตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อนว่าค่ายสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกสร้างถูกที่หรือไม่ จากที่ขออนุญาตหนังสือสำคัญที่หลวง น.ส.ล.4130/2515 แต่ทำไมไปสร้างในที่ น.ส.ล. ที่บร.3239 ซึ่งเพิ่งขอในปี 2543 และได้รับอนุญาต หนังสือออกเมื่อปี 2544 และหนังสืออนุญาตจากผู้ว่าบุรีรัมย์ในขณะนั้นให้สร้างในพื้นที่ น.ส.ล.4130/2515
คำถามคือตกลงแล้วสร้างที่ไหนกันแน่ และถ้าสร้างผิดที่จะเอาอย่างไร ก็จะเป็นกรณีที่ทางรถไฟเคยฟ้องกรมทางหลวงว่ามีการสร้างถนนทางหลวง สายบุรีรัมย์-ประโคนชัย ที่ส่วนหนึ่งเข้าไปที่ของการรถไฟ ทำให้ต้องมีการเสียค่าเช่าย้อนหลังกัน
ผู้สื่อข่าวถามอีกว่า มีการเชื่อมโยงกับคนตระกูลใหญ่ในบุรีรัมย์ที่เป็นข่าวในขณะนี้หรืไม่ นายวิโรจน์ กล่าวว่า เรื่องที่มาของที่ดินก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่เรื่องนี้ไม่เชื่อมก็คงต้องเชื่อมกับคนตระกูลใหญ่ แต่เราอย่าเพิ่งไปกล่าวหาใคร เพราะการได้ที่ดินมาเมื่อ 40 ปีก่อนหน้านี้แล้ว ซึ่งส่วนใหญ่เป็นส.ค. 1 แล้วเอาไปออกโฉนด ซึ่งการออกโฉนดอาจจะถูกหรือผิดก็ได้ เราอย่าเพิ่งไปกล่าวหาว่าเป็นเจตนาทุจริต หรือสุจริตอะไร แต่เบื้องต้นเราต้องตรวจสอบก่อนว่าค่ายทหารสร้างถูกที่หรือไม่ เพราะจริงๆแล้วในสมัยก่อนการปักหมุดที่ดินไม่ยากอะไร ถ้าผิดจริงก็ตกใจเหมือนกันเพราะอนุญาตให้สร้างแปลงนี้ แต่กลับมาสร้างอีกแปลงหนึ่ง
“เกิดอะไรขึ้น หรือมีโหรไปดูแล้วมีเหตุการณ์อะไรหรือไม่ จึงต้องระเห็จออกมาสร้างอีกที่หนึ่ง หรือที่ร้อนหรือไม่ วันนี้รู้กันสุดท้ายความจริงต้องปรากฎเวทมนต์ คุณไสยใดๆที่สร้างหมอกบังตา สร้างแดนสนทยาขึ้นมา สุดท้ายแพ้แสงตะวันอยู่แล้ว ถึงแม้จะไม่สว่างวันนี้ก็สว่างวันหน้า ผมหวังว่ากมธ.ทหารจะมีความขลังที่จะคลี่คลาย ฝุ่นควัน แดนสนธยาในพื้นที่นี้ ถ้าสายสิญจน์ที่วันนี้เราขึงไม่พอ ก็ต้องไปสู้กันต่อไป สักวันเวทมนตร์ มนต์ดำ คุณไสยสู้ความถูกต้องไม่ได้ “ นายวิโรจน์ กล่าว
นายวิโรจน์ กล่าวด้วยว่า ในการพิจารณาของกมธ.วันนี้เราพยายามหาข้อสรุปให้ได้มากที่สุด ถ้ายังไม่ได้ข้อสรุปอย่างไร คิดว่าคงต้องได้เบาะแส และข้อเท็จจริงบางอย่าง ซึ่งกมธ.ทหารตั้งใจว่าอาจจะส่งเบาะแสไปต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน แสวงหาข้อเท็จจริงเพิ่มเติม และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ให้จับตาในกรณีนี้ว่าจะมีหน่วยงานราชการหรือรัฐวิสาหกิจ ทั้งการรถไฟ และกรมที่ดิน อาจจะมีพฤติกรรมและพฤติการณ์เข้าข่ายการละเว้นปฏิบัติหน้าที่หรือไม่ เพราะค่ายทหารต้องอยู่ที่ น.ส.ล.4130/2515 หากไปอยู่ที่อื่นถือเป็นเรื่องใหญ่ เพราะพื้นที่ตรงนี้มีการสงวนไว้เป็นบ่อหินใกล้รางรถ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'ลุงสุทิน' พูดแทงใจดำ! หาเขตที่ดินเขากระโดงให้ได้ก่อน ค่อยมาว่ากันเรื่องหลักเขตแดนไทย-กัมพูชา
นายสุทิน วรรณบวร อดีตผู้สื่อข่าวสำนักข่าวต่างประเทศ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Sutin Wannabovorn ว่า หาเขตที่ดินเขากระโดงให้ได้ก่อน
'แก้วสรร' แพร่บทความ คดีที่ดินเขากระโดง : กระโดงใคร?
นายแก้วสรร อติโพธิ เผยแพร่บทความในรูปแบบถาม-ตอบ เรื่อง "คดี “ที่ดินเขากระโดง”: กระโดงใคร? มีเนื้อหาดังนี้
กมธ.ที่ดิน แถลงไม่ได้คำตอบ สอบที่ดินเขากระโดง
ที่รัฐสภา นายพูนศักดิ์ จันทร์จำปี สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน ฐานะประธานกรรมาธิการ (กมธ.) การที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวด
ดร.ณัฏฐ์ ชี้การเมืองยังไม่สุกงอม ปลุกม็อบล้มร้ฐบาลแพทองธาร จุดไม่ติด!
ดร.ณัฐวุฒิ วงศ์เนียม หรือ “ดร.ณัฏฐ์” นักกฎหมายมหาชน กล่าวถึงกรณีที่นายสนธิ ลิ้มทองกุล ผู้ก่อตั้งสื่อเครือผู้จัดการ ระบุว่าขณะนี้สถานก
เขากระโดงลาม! กมธ.ทหารข้องใจ มทบ.26 ก่อสร้างผิดจุดที่ขออนุญาต
'กมธ.ทหาร'แฉกองทัพ สร้างค่ายทหารผิดจุดจากที่ขออนุญาต เลี่ยงพื้นที่เขากระโดงที่ครอบครองโดย 'ตระกูลใหญ่บุรีรัมย์' เรียก รฟท., ผบ.มทบ.26, มท. แจง 28 พ.ย.นี้ 'วิโรจน์' เหน็บมีอิทธิพลขนาดค่ายทหารยังย้ายหนี
'ปรเมศวร์' ย้ำชัดๆถึงอธิบดีกรมที่ดิน ต้องทำตามคำพิพากษาศาล ที่ดินเขากระโดงเป็นของการรถไฟ
นายปรเมศวร์ อินทรชุมนุม อัยการอาวุโส สำนักงานการสอบสวน สำนักงานอัยการสูงสุด ได้ไลฟ์สดทางเฟซบุ๊กว่า เรื่องที่ดินเขากระโดงนั้นศาลมีคำพิพากษาแล้วทั้ง ศาลฎีกา ศาลอุทธรณ์ และศาลปกครองกลาง ว่าที่ดินเขากระโดงเป็นที่ดินของการรถไฟ เมื่ออธิบดีกรมที่ดินจะไปตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ ตามมาตรา 61 วรรค 1