'นิกร' สอน 'ไอติม' อย่ารีบ! ยันคำวินิจฉัยศาล รธน.ต้องทำประชามติ 3 ครั้ง

'นิกร' ยันคำวินิจฉัยศาลรัธรรมนูญให้ทำประชามติแก้ รธน. 3 ครั้ง หวั่นทำผิดขั้นตอนจากเร็วขึ้นจะกลายเป็นช้าแทน

27 พ.ย.2567 - นายนิกร จำนง ผู้อำนวยการพรรคชาติไทยพัฒนา ให้สัมภาษณ์กรณีนายพริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน(ปชน.) พยายามให้นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา บรรจุระเบียบวาระสภาผู้แทนราษฎรเพื่อขอให้พิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 และให้ทำประชามติแก้รัฐธรรมนูญเพียง 2 ครั้ง ว่า ในฐานะที่เคยเป็นเลขานุการคณะกรรมาธิการ (กมธ.)พิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พ.ศ.... (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 256 และเพิ่มหมวด 15/1) และได้ร่วมจัดทำรายงานที่เสนอต่อรัฐสภา มองว่าตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อ 11 มี.ค. 2564 ที่ระบุให้รัฐสภามีหน้าที่และอำนาจจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ โดยต้องให้ประชาชนประชามติก่อนว่าจะต้องการให้มีฉบับใหม่หรือไม่ และระบุว่าเมื่อจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เสร็จต้องส่งให้ประชาชนลงประชามติอีกครั้ง ดังนั้นการทำตามคำวินิจฉัยจำเป็นต้องทำประชามติสอบถามประชาชนก่อนการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ

“การแก้ไขรัฐธรรมนูญที่จะเกิดขึ้นถูกกำหนดเป็นสภาพบังคับว่าต้องทำประชามติรวม 3 ครั้ง โดยไม่มีทางใดให้เลี่ยงได้ ส่วนการเข้าพบประธานรัฐสภาของกรรมาธิการพัฒนาการเมืองนั้นไม่มีผลให้ลดจำนวนทำประชามติ เนื่องจากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญมีผลผูกผันต่อรัฐสภา การไปเรียกร้องบังคับให้ประธานรัฐสภาบรรจุวาระให้ได้นั้น ประธานรัฐสภาอาจถูกร้องได้ว่ากระทำขัดหรือแย้งกับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ที่ไม่มีใครรับผิดแทนประธานรัฐสภาได้”นายนิกร กล่าว

นายนิกร กล่าวด้วยว่า หากมีการบรรจุเนื้อหาและฝืนพิจารณา ขอให้คำนึงถึงเหตุการณ์ระหว่างการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ เมื่อปี 2564 ที่ สว.กังวลกับการลงคะแนนเห็นชอบในวาระ 3 ด้วยเกรงว่าจะเป็นการกระทำที่ขัดรัฐธรรมนูญ แต่ในครั้งนี้อาจเป็นไปได้ว่าจะมีปัญหาตั้งแต่การลงคะแนนเห็นชอบในวาระแรกชั้นรับหลักการได้ และหากการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 ไม่สำเร็จ ต้องกลับไปนับหนึ่งในสมัยประชุมถัดไป ทั้งที่เวลาการพิจารณาของรัฐสภาเหลือไม่มาก

“ภารกิจการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ให้สำเร็จ จำเป็นต้องรับฟังความเห็นจากภาคส่วนต่างๆ เพื่อให้เกิดการประนีประนอมร่วมกัน เพราะถ้าทำขั้นตอนใดผิดพลาดล้มเหลว แทนที่จะเร็วขึ้นกลับจะกลายเป็นช้าลงไปอีกมาก เหมือนที่เป็นมาให้เห็นๆ กันจนจะไม่ทันการอยู่แล้ว แม้จะมีการลดธงเป้าหมายให้เหลือเพียงแค่ให้ได้แค่ ส.ส.ร.ก็ตามที” นายนิกรกล่าว.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เด็ก ปชน.ยันพรรคตรวจสอบรัฐบาลผ่านกลไกสภาเท่านั้น!

'พริษฐ์' ย้ำ 'ปชน.' เดินหน้าตรวจสอบรัฐบาลผ่านกลไกสภาฯ​ แม้ 'สนธิ' ปลุกม็อบลงถนน ชี้ชุมนุมเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของ ปชต. แต่ต้องไม่ละเมิดหลักการขั้นพื้นฐาน

'พริษฐ์' ตีขลุมย้ำทำประชามติ 2 ครั้งก็เพียงพอชำเรา รธน.

'พริษฐ์' เผยหลังหารือ 'ปธ.สภา' ย้ำทำประชามติ 2 ครั้งเพียงพอเสนอเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจ ด้าน ‘วันนอร์’ ให้ยื่นร่างแก้ไข รธน. เพิ่มหมวด ส.ส.ร. เข้ามาใหม่อีกครั้ง

'ไพบูลย์' เย้ยรัฐบาลไม่มีทางแก้รธน.ทั้งฉบับได้ทัน คาดอยู่ไม่ถึง 1 ปี

นายไพบูลย์ นิติตะวัน เลขาธิการพรรค พปชร. กล่าวถึงกรณีนายชูศักดิ์ ศิรินิล รมต.ประสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย (พท.) ระบุว่าร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ จะตีความเป็นกฎหมายการเงิน

ติดสลักกม.ประชามติ รธน.ใหม่ส่อลากยาว

สัปดาห์ที่ผ่านมา คณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ได้ข้อสรุปหลักเกณฑ์ที่จะใช้สำหรับการแก้ไขรัฐธรรมนูญเรียบร้อย โดยให้ยึดเสียงข้างมาก 2 ชั้น กล่าวคือ 1.ต้องมีผู้ออกมาใช้สิทธิ์เกินกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิ์ทั้งหมด และ 2.ต้องได้เสียงเห็นชอบเกินกึ่งหนึ่งของผู้ออกมาใช้สิทธิ์

'นิกร' ยอมรับสภาพ พรบ.ประชามติ แก้รธน.ล่าช้าไป 1 ปี คาดทำครั้งแรกต้นปี 69

นายนิกร จำนง ในฐานะกรรมาธิการ (กมธ.) ร่วมเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ กล่าวถึงกรณีที่มีการระบุว่ากฎหมายประชามติเป็นกฎหมายการเงิน เพื่อลดเวลาพักร่างกฎหมาย 180 วัน

'ชูศักดิ์' รับเลือกตั้งครั้งหน้า คงต้องใช้ รธน.ฉบับเดิม ขอแค่ตั้ง ส.ส.ร. ทันรัฐบาลนี้

นายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวถึงกรณีนายนิกร จำนง เลขานุการคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ยืนยันว่าการจะแปลงร่างกฎหมายประชามติเป็นกฎหมายการเงินไม่สามารถทำได้