'นิกร' ยอมรับสภาพ พรบ.ประชามติ แก้รธน.ล่าช้าไป 1 ปี คาดทำครั้งแรกต้นปี 69

“นิกร” ยัน พ.ร.บ.ประชามติ ไม่ใช่กม.การเงิน ชี้ หากเป็นกฎหมายการเงิน ต้องเป็นตั้งแต่ปี 64 แล้ว เหตุเงิน 3 พันล้านที่ใช้ทำประชามติ เป็นเรื่องที่รู้อยู่แล้ว หากทักท้วงตอนนี้ถือว่าสายเกินไป หวั่น หากให้ปธ.กมธ.ทุกคณะร่วมตัดสินกับประธานสภาฯ อาจผิดรธน.ได้

25 พ.ย.2567 - ที่รัฐสภา นายนิกร จำนง ในฐานะกรรมาธิการ (กมธ.) ร่วมเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ กล่าวถึงกรณีที่มีการระบุว่ากฎหมายประชามติเป็นกฎหมายการเงิน เพื่อลดเวลาพักร่างกฎหมาย 180 วัน ว่า ตนเชื่อว่าร่างกฎหมายประชามติไม่เป็นกฎหมายการเงิน เพราะการสงสัยว่าเป็นกฎหมายการเงินหรือไม่ ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ทั้ง 4 ฉบับที่เสนอเข้ามาตนตรวจสอบดูแล้ว ประธานสภาฯลงนามชี้ไปแล้วว่า ไม่เป็นกฎหมายการเงิน ซึ่งหลักการในการพิจารณา ตามข้อบังคับการประชุมสภาฯหากสมมติว่ามีใครสงสัยหรือประธานมองเห็นเองว่าเป็นกฎหมายการเงิน ก็จะชี้ว่าเป็นกฎหมายการเงิน และเมื่อประธานชี้ว่าเป็นกฎหมายการเงิน ผู้ที่ยื่นอาจจะมีข้อสงสัยว่าไม่เป็นกฎหมายการเงิน เมื่อไม่เป็น ตามกลไกของสภาฯ หากตกลงกันไม่ได้ ก็ต้องเชิญประธานกรรมาธิการทุกคณะมาตัดสิน ร่วมกับประธานสภาฯ แต่ขั้นตอนตรงนั้นมันเลยมาแล้ว และในระหว่างที่เราพิจารณาอาจจะมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง จากไม่เป็นพ.ร.บ.การเงิน ก็กลายเป็นพ.ร.บ.การเงินขึ้นมา ก่อนจะโหวตวาระ 3 มีข้อสงสัยก็สามารถทำได้อีกครั้งหนึ่ง แต่สภาฯโหวตวาระ 3 ไปแล้ว ซึ่งไม่มีข้อสงสัย จึงถือว่าเลยจุดนั้นมาแล้ว และเป็นร่างกฎหมายที่พิจารณาเห็นชอบกันหมดแล้ว โดยไม่มีใครชี้ว่าเป็นพ.ร.บ.การเงิน

“จริงๆ แล้วมันไม่เป็นพ.ร.บ.การเงิน ตอนที่เราทำกฎหมายนี้ เราก็รู้อยู่แล้วว่ามันต้องใช้เงินจำนวน 3 พันกว่าล้านบาท ซึ่งถือว่ารู้อยู่ก่อนแล้ว แล้วมาแก้ว่าจะเอาสัดส่วนเกณฑ์ออกเสียงประชามติ 2 ชั้นหรือ 1 ชั้น เท่านั้นเอง และถ้าเป็นพ.ร.บ.การเงิน ก็เป็นตั้งแต่ปี 64 แล้ว ไม่ใช่มาเป็นพ.ร.บ.การเงินตอนนี้ เพราะเราแก้เพียงบางมาตรา และเมื่อเสร็จสิ้นชั้นสภาฯไปแล้ว”นายนิกร กล่าว

นายนิกร กล่าวต่อว่า ตอนที่เสนอไปวุฒิสภา ประธานสภาฯยืนยันไปยังประธานวุฒิสภาว่าไม่ใช่พ.ร.บ.การเงิน ซึ่งประธานวุฒิสภาก็นำเข้าพิจารณาในชั้นนั้น อาจจะมีข้อสงสัยได้ แต่ก็ไม่มีข้อสงสัยเพราะไม่ใช่พ.ร.บ.การเงิน เมื่อถึงตอนนี้ถือว่าเลยเวลาข้อสงสัยมาแล้ว ซึ่งในความเห็นส่วนตัว ถ้าเราไปเชิญประธานกรรมาธิการทุกคณะมาร่วมกันพิจารณาแล้วใช้เสียงข้างมาก อาจจะผิดรัฐธรรมนูญได้ เพราะไม่เป็นพ.ร.บ.การเงิน หรือแม้จะเป็นก็เลยเวลาที่จะทักท้วงไป ซึ่งถือว่าสายไปแล้ว

นายนิกร กล่าวว่า ตนมีความเป็นห่วง เพราะอยากให้พ.ร.บ.ประชามติ ออกมาเร็ว จริงๆแล้วไม่อยากให้ชะลอแม้แต่วันเดียว ถ้าเป็นแบบนี้ให้ไปตามเส้นทางดีกว่า เพราะถ้ามีปัญหาก็จะบวกอีก 180 วัน และไม่ใช่แค่นั้น เมื่อ 180 วันแล้ว ขั้นตอนการเสนอทูลเกล้าฯ ขั้นตอนการทำกฎหมายลูกของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) อีก ต่อจากนั้นต้องใช้เวลาประมาณ​ 100 วัน ในการทำประชามติครั้งแรก ตนจึงประเมินว่าน่าจะทำประชามติต้นเดือนม.ค. ปี 69 เท่ากับเราหายไป 1 ปี ซึ่งตนไม่ได้ชอบแบบนี้ ถ้าแต่สุ่มเสี่ยงต่อการผิดกฎหมายแม้ไม่ชอบตนก็ต้องยอมรับสภาพ

เมื่อถามว่า แสดงว่ามีโอกาสที่จะไปไกลกว่านี้ใช่หรือไม่ นายนิกร กล่าวว่า ตนเชื่อว่าการทำประชามติครั้งแรกอย่างไรก็ผ่านเพราะใช้รูปแบบอย่างง่ายของสส. ก็จะไปลงประชามติปลายปี 68 หรือต้นปี 69 แต่น่าจะเป็นต้นปี 69 มากกว่า ไม่มีทางหลีกเลี่ยง เพราะเมื่อพักร่างไว้ 180 วัน บวกกับทำประชามติอีก 3 เดือน รวมเป็น 9 เดือน ฉะนั้น รวมช่วงรอยต่อและการเสนอทูลเกล้าฯก็ใช้เวลาพอสมควร ก็เชื่อว่าใช้เวลา 1 ปี พอดี

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'วันนอร์' ลุยถกแก้รธน. 14-15 ม.ค. ถือเป็นข่าวดีปีใหม่ หวังทันเลือกตั้งปี 70

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา กล่าวถึงการพิจารณาร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ว่า ได้คุยกับวิป 3 ฝ่ายไปแล้วว่าเรามีร่างรัฐธรรมนูญที่แก้รายมาตรา 17 ฉบับ และยังมีร่างที่แก้ทั้งฉบับของพรรคประชาชน(ปชน.)

‘ณัฐวุฒิ’ ย้ำ ‘เพื่อไทย-พรรคส้ม ’ อยู่ก๊กเดียวกัน ชี้ ภท. ก๊กอนุรักษ์นิยมขวางแก้รธน.

นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี โพสต์เฟซบุ๊ก ว่าผลการลงมติร่างพ.ร.บ.ประชามติ คืออีกรูปธรรมหนึ่งของก

ขวากหนามแก้รัฐธรรมนูญ คนกันเอง...เล่นเกมต่อรอง

เมื่อวันที่ 18 ธ.ค.ที่ผ่านมา ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรมีมติไม่เห็นชอบกับ ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ฉบับคณะ กมธ.ร่วมกันพิจารณาเสร็จแล้ว

ดร.ณัฏฐ์ ชี้ชัด 'ประชามติชั้นเดียว' แค่ยกแรก 'แก้รธน.ทั้งฉบับ' เจอด่านหิน-นโยบายขายฝัน!

“ดร.ณัฏฐ์” มือกฎหมายมหาชน ชี้ กลไกแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับผ่านด่านหินยาก แม้เพื่อไทยใช้เทคนิคช่องทางพ้น 180 วัน ผ่านร่าง พรบ.ประชามติ เป็นเพียงนโยบายในฝัน  

'เอกนัฏ' มั่นใจไม่กระทบเอกภาพรัฐบาล ปมโหวตต่างกฎหมายประชามติ

นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รมว.อุตสาหกรรม ในฐานะเลขาธิการพรรครวมไทยสร้างชาติ(รทสช.) ให้สัมภาษณ์กรณีพรรคร่วมรัฐบาลโหวตแตกต่างร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติว่า สส.พรรครทสช.