นิกร จำนง” เผย ร่าง พ.ร.บ.ประชามติ ให้ สส.-สว. จ่อบรรจุเข้าระเบียบวาระหลังเปิดสมัยประชุม ย้ำ ไม่ใช่กฎหมายการเงิน ลดจาก 180 เหลือ 10 วันไม่ได้
24 พ.ย. 2567 – นายนิกร จำนง เลขานุการคณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. สภาผู้แทนราษฎร เปิดเผยว่า ในวันที่ 4 ธันวาคม 2567 จะมีการประชุมเพื่อพิจารณาร่างรายงานของ กมธ. โดยคาดว่าจะเสนอรายงานต่อ สส. และ สว. ในวันที่ 4 ธันวาคมนี้ เพื่อให้สามารถบรรจุระเบียบวาระการประชุมของแต่ละสภาเมื่อเปิดสมัยประชุม คาดว่าวุฒิสภาจะพิจารณารายงานของ กมธ. ในวันที่ 16 ธันวาคม 2567 ส่วนสภาผู้แทนราษฎรคาดว่าจะพิจารณาในวันที่ 18 ธันวาคม 2567
ทั้งนี้ เชื่อว่ารายงานจะได้รับความเห็นชอบจากฝั่งวุฒิสภา เพราะเป็นหลักการ 2 ชั้น ตามร่างที่วุฒิสภาได้แก้ไขไว้เดิม แต่ตนเชื่อว่าในฝั่งสภาผู้แทนราษฎรจะไม่ให้ความเห็นชอบแน่ เพราะจะถูกยับยั้งไว้ก่อน 180 วัน ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 137 เพื่อที่ทางสภาฯ จะได้ยกร่างฉบับของสภาฯ ขึ้นมาพิจารณาใหม่ แล้วยืนยันเพื่อให้ถือว่าได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาแล้ว โดยไม่ต้องอาศัยเสียงวุฒิสภาแต่อย่างใด จากนั้นจะดำเนินการตามมาตรา 81 เพื่อประกาศเป็นกฎหมายบังคับใช้ต่อไป
นายนิกร ระบุต่อไปว่า ตามที่ได้มีความคิดเห็นที่จะนำเสนอให้ร่างกฎหมายฉบับนี้เป็นร่าง พ.ร.บ. เกี่ยวกับการเงิน เพื่อลดเวลาการยับยั้งไว้จาก 180 วัน ให้เหลือเพียงแค่ 10 วันนั้น ส่วนตัวเห็นว่าถ้าทำได้จริงก็จะเป็นเรื่องดี เพราะขณะนี้จากสภาพบังคับของกฎหมายประชามติตามที่เป็นอยู่ จะทำให้การทำประชามติเพื่อขอความเห็นชอบจากประชาชนในการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ครั้งแรกไม่ได้ล่าช้าไปเพียง 180 วันเท่านั้น หากแต่จะต้องรวมเอาเวลาของขั้นตอนอื่นๆ ตามกฎหมายอื่นด้วย จะทำให้ระยะเวลาต้องยืดไปอีกเป็นปี คาดว่าจะสามารถทำประชามติครั้งแรกได้ช่วงเดือนมกราคม 2569 ไม่สามารถจะลดห้วงเวลาโดยอาศัยช่องทางว่าเป็นกฎหมายเกี่ยวกับการเงินได้ ถ้าฝืนทำก็อาจสุ่มเสี่ยงถูกร้องว่า ออกกฎหมายโดยมิชอบได้
“จนถึงขณะนี้เป็นกรณีเป็นที่เด็ดขาดแล้วว่าร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ไม่ใช่ร่าง พ.ร.บ.เกี่ยวด้วยการเงินตามที่สภาฯ แจ้งต่อวุฒิสภา ตามมาตรา 136 วรรค 4 ของรัฐธรรมนูญ สภาฯ จะหยิบยกร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวที่ต้องยับยั้ง ซึ่งไม่เกี่ยวด้วยการเงินขึ้นพิจารณาใหม่ หลังพ้นกำหนด 180 วัน นับแต่วันที่สภาใดสภาหนึ่งไม่เห็นชอบ กรณีจึงล่วงพ้นช่วงเวลาในการสงสัยว่า เป็นร่าง พ.ร.บ.เกี่ยวด้วยการเงินหรือไม่นั้นไปแล้ว ที่ประชุมร่วมกันของประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานคณะกรรมาธิการสามัญของสภาผู้แทนราษฎรทุกคณะ จึงไม่มีอำนาจในการวินิจฉัยอีก หากมีการดำเนินการดังกล่าว อาจส่งผลถึงกระบวนการตรากฎหมายที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญได้”
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'นิกร' เชื่อแก้รธน. มาตรา 256 ฉบับพรรคส้ม โอกาสผ่านยาก เหตุหักอำนาจ สว.
นายนิกร จํานง เลขานุการกรรมาธิการ (กมธ.) ร่วมเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ กล่าวถึงกรณีสภาผู้แทนราษฎร เตรียมพิจารณาร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 และหมวด 15/1
กมธ.ประชามติ สรุปใช้เสียงข้างมาก 2 ชั้น ชงรายงานให้ สส.-สว. ถ้าเห็นแย้งจะถูกแขวน 180 วัน
คณะกรรมาธิการ (กมธ.) ร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ นำโดย นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร สว. โฆษก กมธ., นายกฤช เอื้อวงศ์ โฆษก กมธ. และนายนิกร จำนง เลขานุการ กมธ. ร่วมกันแถลงถึงมติของกมธ.ร่วมกันฯ
'นิกร' ชี้เหตุปัจจัยยังไม่พอ 'สนธิ' ปลุกระดมปีหน้า บอกนักการเมืองโฟกัสเลือกตั้งนายก อบจ.
นายนิกร จำนง ผู้อำนวยการพรรคชาติไทยพัฒนา กล่าวถึงกรณีที่นายสนธิ ลิ้มทองกุล ออกมาประกาศ ว่า ในปีหน้า 2568 จะมีการจัดเวทีทุกเดือนและอาจมีการลงถนน ว่า เป็นเรื่องในอนาคตต้องรอดู จะว่าไม่กังวลก็กังวล
'นิกร' ยอมรับสภาพ พรบ.ประชามติ แก้รธน.ล่าช้าไป 1 ปี คาดทำครั้งแรกต้นปี 69
นายนิกร จำนง ในฐานะกรรมาธิการ (กมธ.) ร่วมเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ กล่าวถึงกรณีที่มีการระบุว่ากฎหมายประชามติเป็นกฎหมายการเงิน เพื่อลดเวลาพักร่างกฎหมาย 180 วัน
'ชูศักดิ์' รับเลือกตั้งครั้งหน้า คงต้องใช้ รธน.ฉบับเดิม ขอแค่ตั้ง ส.ส.ร. ทันรัฐบาลนี้
นายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวถึงกรณีนายนิกร จำนง เลขานุการคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ยืนยันว่าการจะแปลงร่างกฎหมายประชามติเป็นกฎหมายการเงินไม่สามารถทำได้
นิกรหักเพื่อไทย เตือนส่อผิดกม. ให้กมธ.ตีความ
“นิกร” หักข้อเสนอ “ชูศักดิ์” เลยช่วงเวลาแปลงร่างประชามติเป็นกฎหมายการเงินแล้ว