'ดร.ณัฏฐ์' ชี้กรณี 'ทักษิณ-พท.' รอดคดีล้มล้างฯ ไม่ตัดอำนาจ 'กกต.' ไต่สวนยุบพรรคได้

“ดร.ณัฏฐ์” มือกฎหมายมหาชน เผยศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยไม่รับคำร้อง "ทักษิณ-พรรคเพื่อไทย” กรณีล้มล้างการปกครองฯ ไม่ตัดอำนาจ กกต.ไต่สวนกรณียุบ 6 พรรคร่วมรัฐบาลได้ แนะเพื่อไทย เป็นนักการเมือง บุคคลสาธารณะต้องใจกว้าง ไม่ใช่เอะอะก็จะฟ้อง "ทนายธีรยุทธ" ที่ทำหน้าที่ในฐานะประชาชนคนหนึ่ง 
 
24 พ.ย.2567 - ดร.ณัฐวุฒิ วงศ์เนียม นักกฎหมายมหาชน กล่าวถึงกรณีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ยกคำร้องของนายธีรยุทธ สุวรรณเกษร เพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยว่าการกระทำของนายทักษิณ ชินวัตร และพรรคเพื่อไทยเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขว่าตนน่าจะเป็นนักกฎหมายมหาชนคนแรกของประเทศที่มีความเห็นทางวิชาการ มุมมองทางกฎหมายว่าศาลรัฐธรรมนูญจะไม่รับคำร้องไว้พิจารณา แตกต่างจากนักวิเคราะห์การเมืองคนอื่นๆ ที่ส่วนใหญ่มองว่าศาลรัฐธรรมนูญจะรับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัย
 
ดร.ณัฐวุฒิ กล่าวว่าตนได้ยกเอาคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ที่ 1/2563 มาให้ความรู้แก่ประชาชนในกฎหมายมหาชนอีกแง่มุมหนึ่งว่า “...ข้อเท็จจริงคำร้อง 6 ประเด็น ที่นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ผู้ร้อง ไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่ศาลรัฐธรรมนูญจะรับคำร้องไว้วินิจฉัย ตรงกับที่ตนให้ความเห็นไว้ทุกประการ ที่ว่า “...บุคคลใดจะใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 วรรคหนึ่ง จะต้องปรากฏข้อเท็จจริงชัดเจนเพียงพอที่แสดงให้เห็นถึงความมุ่งหมายและความประสงค์ระดับที่วิญญูชนคาดเห็นได้ว่าน่าจะทำให้เกิดผลเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยการกระทำนั้น จะต้องกำลังดำเนินอยู่และไม่ห่างไกลเกินกว่าเหตุ” 
 
"เป็นการให้ความรู้แก่ประชาชน อันเป็นประโยชน์สาธารณะ ตนไม่ได้มีปัญหากับทนายธีรยุทธ และไม่ได้ไปเอาใจนายทักษิณและพรรคเพื่อไทย เพราะไม่รู้จักคู่ความทั้งสองฝ่าย โดยความเห็นทางวิชาการย่อมแตกต่างกันได้ ทั้งนี้ขึ้น ตัวแปรล้วนมาจากประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญของแต่ละคน ต่างกั นหากจิตใจไม่อคติและเป็นกลาง"
 
ถามว่า คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ไม่รับคำร้องล้มล้างการปกครอง กับคำร้องที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.)รับไต่สวนยุบพรรคเพื่อไทยกับ 6 พรรคร่วม คนละประเด็นกันหรือจะมีผลผูกพันต่อกกต.หรือไม่อย่างไรนั้น ดร.ณัฐวุฒิ อธิบายว่าโดยปกติคำวินิจฉัยในเนื้อหาศาลรัฐธรรมนูญย่อมเด็ดขาด มีผลผูกพันทุกองค์กร ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 211 วรรคสี่  แต่คำวินิจฉัยที่ศาลรัฐธรรมนูญไม่รับคำร้อง ต้องแยกพิจารณา 2 ส่วนด้วยกัน
 
ส่วนแรก กรณีข้อกล่าวอ้างในประเด็นที่ 1 และประเด็นที่ 3 ถึงประเด็นที่ 6   ยังไม่มีน้ำหนักพยานหลักฐานเพียงพอที่จะแสดงให้เห็นว่าการกระทำของผู้ถูกร้องทั้งสองน่าจะทำให้เกิดผลเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 วรรคหนึ่ง ดังนั้นกรณีไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 วรรคหนึ่ง ศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยในเนื้อหาแห่งคดีแล้ว  ย่อมส่งผลให้ผู้ร้องมายื่นคำร้องในประเด็นเดิมซ้ำไม่ได้ เว้นแต่มีข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานใหม่ ผลคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเสร็จเด็ดขาดและผูกพันทุกองค์กร ตามมาตรา 211 วรรคสี่      
 
ส่วนที่สอง  สำหรับประเด็นที่ 2 ศาลรัฐธรรมนูญมีมติโดยเสียงข้างมาก(7 ต่อ 2) มีคำสั่งไม่รับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัย  เห็นว่า ยังไม่มีน้ำหนักพยานหลักฐานเพียงพอที่จะแสดงให้เห็นว่าการกระทำของผู้ถูกร้องทั้งสองน่าจะทำให้เกิดผลเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 วรรคหนึ่ง เป็นกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญยังไม่ได้วินิจฉัยในการกระทำของเนื้อหา คำวินิจฉัยนี้ไม่ผูกพันทุกองค์กร
 
นักกฎหมายมหาชน อธิบายอีกว่าประเด็นล้มล้างการปกครองฯและกรณีครอบงำพรรคเพื่อไทย แม้เป็นคนละประเด็นกันก็ตาม แต่คำร้องที่กกต.ไต่สวนยุบพรรคเพื่อไทยกับ 6 พรรคร่วมตามระเบียบกกต.ว่าด้วยการรวบรวมข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานของนายทะเบียนพรรคการเมืองพ.ศ.2566 โดยอยู่ระหว่างสืบสวนหรือไต่สวนของคณะกรรมการที่กกต.แต่งตั้งขึ้น แม้กกต.จะใช้พรป.พรรคการเมือง มาตรา 28 มาตรา 29 และมาตรา 92 โดยอาศัยฐานข้อกล่าวหาครอบงำสั่งการระหว่างนายทักษิณกับพรรคเพื่อไทย ตรงกับประเด็นที่ 3 ถึงประเด็นที่ 6 ตามคำร้องของนายธีรยุทธ โดยคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยในเนื้อหาถึงการกระทำล้มล้างฯ  แม้ประเด็นกรณียุบพรรคจะเป็นคนละประเด็นก็ตาม แต่ข้อกล่าวหานายทักษิณสั่งการรัฐบาลก็ดี เป็นข้อกล่าวหา ข้อ 1 และข้อ 2 หรือกรณีนายทักษิณสั่งการพรรคเพื่อไทยก็ดี เป็นข้อกล่าวหา ข้อ 3 ถึง ข้อ 6 แม้คนละประเด็นกับการยุบพรรค ที่ กกต.ใช้อำนาจในการไต่สวน แต่เป็นข้อเท็จจริงเดียวกัน ส่งผลต่อน้ำหนักรับฟังพยานหลักฐานในชั้นกกต.
 
ดร.ณัฐวุฒิ กล่าวอีกว่าแม้ นายแสวง บุญมี เลขาธิการ กกต.จะอ้างว่าคนละประเด็นและใช้กฎหมายคนละฉบับกันก็ตาม แต่หากพิจารณาตามรัฐธรรมนูญมาตรา 211 วรรคสี่ กรณีที่ศาลยกคำร้องและไม่รับคำร้อง ย่อมมีผลกระทบต่อเนื้อหาโดยตรงที่ กกต.ไต่สวนยุบพรรคเพื่อไทยกับ 6 พรรคร่วม เพราะมีรายละเอียดประเด็นเดียวกัน การกระทำเดียวกัน และข้อเท็จจริงลักษณะเดียวกันที่ฝ่ายผู้ร้องกล่าวอ้าง  โดยศาลได้วินิจฉัยในเนื้อหากรณีล้มล้างฯแล้วว่า ไม่มีน้ำหนักพยานหลักฐานเพียงพอ โดยฝ่ายผู้ร้องอ้างข้อเท็จจริงเดียวกันที่ กกต.รับไต่สวนยุบพรรค แม้กกต.ลุยไต่สวนต่อ เป็นสิทธิและอำนาจของกกต.ย่อมที่กระทำได้เพราะเป็นองค์กรอิสระ 
 
แต่การที่ กกต.วินิจฉัยชี้ขาดให้ยุบพรรค จะต้องมีพยานหลักฐานมีน้ำหนักให้รับฟังได้ว่าเป็นการครอบงำ สั่งการพรรค ตามความมุ่งหมายของ พรป.พรรคการเมือง ที่เพิ่งจะบัญญัตินำมาใช้ในปี 2560 โดยเอกสารที่นายธีรยุทธ ยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญและที่ใช้ในชั้น กกต.เป็นชุดเดียวกัน ทำให้การรับฟังพยานหลักฐานยุบพรรคในชั้น กกต.มีน้ำหนักน้อยเช่นกัน ทำให้เปิดช่องให้ฝ่ายกฎหมายพรรคเพื่อไทยกับ 6 พรรคร่วมที่ถูกกล่าวหา หยิบเอาคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ มาหักล้างในชั้นกกต .แม้คนละประเด็นกันก็ตาม แต่พยานหลักฐานชุดเดียวกัน เนื้อหาแห่งคดีเดียวกันและพฤติการณ์การกระทำเดียวกัน ทำให้พยานหลักฐานมีน้ำหนักไม่เพียงพอ
 
ดร.ณัฐวุฒิว่า ส่วนกรณีที่แกนนำพรรคเพื่อไทย อาทินายชูศักดิ์ ศิรินิล บอกจะดำเนินการฟ้องร้องนายธีรยุทธ สุวรรณเกษร นั้นก็ถือว่าเป็นสิทธิตามกฎหมายของพรรคเพื่อไทย หากได้รับความเสียหาย  แต่การพิทักษ์รัฐธรรมนูญเป็นหน้าที่ของประชาชน ที่นายธีรยุทธ ทนายความอิสระ ทำหน้าที่ในฐานะประชาชนคนหนึ่ง เมื่อพบเห็นทราบการกระทำพฤติการณ์ล้มล้าง ย่อมใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญมาตรา 49 ที่ให้อำนาจไว้ มุมมองตนมองว่าเป็นการใช้สิทธิโดยสุจริตและรัฐธรรมนูญคุ้มครอง การกระทำไม่เป็นความผิด 
 
ทั้งนี้กรณีลักษณะนี้  ศาลอาญาในคดีหมายเลขดำ อ.308/2564 ที่พรรคก้าวไกล ขณะนั้น เป็นโจทก์ฟ้องยื่นฟ้องนายณฐพร โตประยูร อดีตที่ปรึกษาประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน เป็นจำเลย ในความผิดฐานแจ้งความเท็จ,หมิ่นประมาทฯและเรียกค่าเสียหาย กรณีกล่าวหาว่า พรรคอนาคตใหม่ล้มล้างฯ หากย้อนกลับไปหากจำกันได้ในคดี “อิลลูมินาติ” โดยศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ที่ 1/2563 ในขณะนั้น ยกคำร้องไม่มีพฤติการณ์ล้มล้างการปกครองฯ แล้วนำคดีมาฟ้องกลับแบบนี้เช่นกัน  แต่ล่าสุดในคดีอาญา ศาลได้วินิจฉัยตอนหนึ่งว่า “..การกระทำของจำเลยจึงมีเจตนาเพื่อให้มีการพิจารณาคำร้องไปตามบทบัญญัติของกฎหมาย ไม่ได้มีเจตนาแจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงาน และหมิ่นประมาทการกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิด..” 
 
"ลิ่วล้อทักษิณ และพรรคเพื่อไทย ทำท่าทางฟึดฟัด ขึงขัง นักการเมืองใจต้องกว้างเพราะเป็นบุคคลสาธารณะ ย่อมถูกตรวจสอบจากภาคประชาชนได้ สุดท้ายเป็นแค่มวยล้มต้มคนดูมากกว่า" ดร.ณัฐวุฒิ กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

‘ยิ่งลักษณ์’ กลับคุก ‘บิ๊กเสื้อแดง’ รู้มา! ว่าไปตามราชทัณฑ์ไม่ใช้สิทธิพิเศษ

“เลขาฯ แสวง” ยันเดินหน้าคดี “ทักษิณ-เพื่อไทย” ล้มล้างการปกครองต่อ เพราะใช้กฎหมายคนละฉบับกับศาล รธน. "จตุพร" ลั่นยังไม่จบ! ต้องดูสถานการณ์เป็นตอนๆ ไป

'ชินวัตร' ตีปีกดันรัฐบาลครบเทอม วิบากกรรมไล่ล่า 'ชั้น14' หลอกหลอน

ดูจากมติเอกฉันท์ของศาลรัฐธรรมนูญไม่รับคำร้องของ นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้พิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49

ลุ้นระทึก! เลือก ‘อบจ.’ 3 จว. ‘กกต.’ จับตาที่อุดรฯแข่งดุ

“เลขาฯ แสวง” มั่นใจเลือกตั้งนายก อบจ.อุดรธานี แข่งขันสูงไม่ใช่ปัญหา แต่ช่วยกระตุ้นประชาชนออกมาใช้สิทธิ เผยมีเรื่องร้องเรียน 2 เรื่อง ใส่ร้ายระหว่างผู้สมัคร เร่งตรวจสอบ

'วิสุทธิ์' เผยฝ่ายกฎหมายเพื่อไทย ร่างคําฟ้องเช็กบิล 'ธีรยุทธ' แล้ว

นายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวถึงความคืบหน้าการฟ้องร้องผู้ยื่นคําร้องกล่าวหาว่าพรรคเพื่อไทยล้มล้างการปกครอง ว่า ตนได้คุยกับนายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

'วรชัย' ชี้ 'ยิ่งลักษณ์' ไม่ได้รับความเป็นธรรม บอกกลับไทยตามกระบวนการไม่มีสิทธิพิเศษ

นายวรชัย เหมะ อดีตสส.สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย ให้สัมภาษณ์ กรณีนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ออกมาบอกว่าน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร