“นพดล” แนะ “หมอวรงค์” หาความรู้เรื่องเอ็มโอยู 44 ให้ลึกซึ้ง โต้คนอย่างตนไม่ตอบมั่วๆ ชี้เอ็มโอยู 44 ไม่ได้ยอมรับเส้นไหล่ทวีปของกัมพูชา
23 พ.ย.2567 - นายนพดล ปัทมะ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวถึงการที่นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ประธานพรรคไทยภักดี ตอบโต้ว่านายนพดลตอบมั่วๆเรื่องที่ว่าไทยไม่เคยยอมเส้นไหล่ทวีปของกัมพูชา และหมอวรงค์อ้างแผนผังแนบท้ายเอ็มโอยู 44 ว่าเป็นหลักฐานว่าไทยยอมรับเส้นของกัมพูชา ในเรื่องนี้ขอเรียนหมอวรงค์ว่าตนจบกฎหมายจากออกซฟอร์ดและจบเนติบัณทิตไทยและเนติบัณทิตอังกฤษ ตนจึงไร้ความสามารถที่จะตอบแบบมั่วๆ และขอเรียนพี่น้องคนไทยว่า เอ็มโอยู 44 ไม่ได้ยอมรับเส้นของกัมพูชา เนื่องจาก 4 เหตุผลคือ
1)ไม่มีเนื้อหาของเอ็มโอยู 44 ตอนใดเลยที่ไปยอมรับเส้นที่กัมพูชาประกาศ 2)หมอวรงค์ต้องอ่านให้เข้าใจว่าแผนผังแนบท้ายเอ็มโอยู 44 เพียงสะท้อนเส้น 2 เส้นที่กัมพูชาประกาศฝ่ายเดียวและเส้นที่ไทยประกาศ มันคือการสะท้อนการอ้างสิทธิ์สูงสุด (maximum claim) ของทั้งสองฝ่ายเพื่อใช้ในการเจรจา ไม่ใช่เท่ากับว่าไทยไปยอมรับ (admit) เส้นของกัมพูชา ถ้าตีความว่าแผนผังนั้นเท่ากับไทยยอมรับเส้นของกัมพูชา มันก็ต้องตีความในทำนองเดียวกันว่ากัมพูชายอมรับเส้นที่ไทยยึดถือด้วยใช่หรือไม่
3) ฝ่ายไทยไม่เคยมีการกระทำหรือพฤติกรรมไปยอมรับเส้นของกัมพูชา 4) เนื้อหาในข้อ 5 ของเอ็มโอยู 44 ระบุไว้ชัดเจนว่าตราบใดที่ยังไม่มีข้อตกลงเรื่องการแบ่งเขตทางทะเล ให้ถือว่า เนื้อหาเอ็มโอยู 44 และการเจรจาตาม เอ็มโอยู จะไม่มีผลกระทบต่อการอ้างสิทธิ์ทางทะเลของทั้งไทยและกัมพูชา ในประเด็นนี้ กรมสนธิสัญญาและกฎหมายก็แถลงไปแล้วว่าเอ็มโอยูไม่ได้ยอมรับเส้นของกัมพูชา ตนจึงขอเรียกร้องให้หมอวรงค์เห็นแก่บ้านเมืองมากกว่าวาระการเมืองและยุติการให้ความเห็นผิดๆเสีย เพราะการตีความว่าเอ็มโอยู 44ไปยอมรับเส้นของกัมพูชานั้นไม่เป็นผลดีต่อท่าทีของประเทศไทย และมันไม่จริงอีกด้วย
นายนพดล กล่าวต่อว่า หมอวรงค์กล่าวหาว่าตนเป็นถึงอดีตรัฐมนตรีต่างประเทศอย่าตอบมั่วๆ ตนขอย้ำว่าคนอย่างตนไม่เคยมั่ว หมอวรงค์เคยสังกัดพรรคการเมืองที่เคยใส่ร้ายว่าตนซึ่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในปี 2551 ว่า ทำให้ไทยเสียดินแดนบริเวณปราสาทพระวิหารใช่หรือไม่ ทั้งๆที่ความจริงไทยยกปราสาทพระวิหารให้กัมพูชาตามคำตัดสินศาลโลกไปแล้วตั้งแต่ปี 2505 แต่ปัญหาคือในปี 2551 กัมพูชาจะขอขึ้นทะเบียนทั้ง 1)ตัวปราสาทพระวิหาร
และ 2) พื้นที่ทับซ้อน เป็นมรดกโลก แต่ตนได้เจรจาจนกัมพูชายอมตัด พื้นที่ทับซ้อนออก และยอมขึ้นทะเบียนมรดกโลกเฉพาะตัวปราสาท ซึ่งเป็นของเขามาเกือบ 50 ปีแล้ว แต่ตนถูกโจมตีใส่ร้ายเท็จและไปฟ้องเอาผิดตน ซึ่งต่อมาในปี 2558 ศาลฎีกาฯก็ได้พิพากษายกฟ้องตนและในคำพิพากษาก็ได้ระบุว่าสิ่งที่ตนทำถูกต้องตามสถานการณ์ ไม่กระทบสิทธิในดินแดนของไทยและไทยจะได้ประโยชน์จากการกระทำของตน ตนจึงไม่อยากเห็นการสร้างวาทกรรมเสียดินแดนอีกเพราะเคยสร้างความเสียหายให้ประเทศมาแล้ว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'หมอวรงค์' โต้ยิบ! 'นพดล' ช่วยใช้สติอ่าน MOU 44 อย่าเอาแต่พูดวนเวียนซ้ำซากแบบอุ๊งอิ๊ง
นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ประธานพรรคไทยภักดี โพสต์เฟซบุ๊กว่า ถึงนายนพดล ปัทมะ อีกครั้งช่วยใช้สติอ่านด้วยหมอจะสอนกฏหมายคุณ
กมธ.มั่นคงฯ ขอดูลาดเลาปม MOU44 ให้รอบด้าน
'กมธ.มั่นคง' ขอฟังข้อมูลปม MOU 44 รอบด้าน หลังหลายฝ่ายมีความเห็นต่าง 'โรม' ยันยึดประโยชน์ประเทศชาติเป็นหลัก เล็งใช้กลไกสภาเดินหน้าตรวสอบ เหตุเรื่องรื้อรังมานาน
ทร. เตรียมจัดเสวนาเรื่องเส้นเขตแดนทางทะเล ปม MOU 44 หวังสื่อสารให้สังคมเข้าใจ
พล.ร.อ.จิรพล ว่องวิทย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ (ผบ.ทร.) กล่าวภายหลังทำพิธีวันสถาปนากองทัพเรือ ครบรอบ 118 ปี เมื่อถามว่า อดีต ผบ.ทร. ได้ฝากถึงกรณี MOU 44
’ห้าพันตารางกิโลเมตร‘ เท่ากับกี่ตารางนิ้ว ? เงื่อนตายของ MOU 2544 ?
MOU 2544 ไม่ใช่กรอบการเจรจาเพื่อหาข้อตกลง ”แบ่งผลประโยชน์(ปิโตรเลียม)“ เท่านั้น แต่หาข้อตกลง “แบ่งเขตแดน(ทะเล)“ ด้วย !
สมชาย กางเหตุผลทำไม ไทยถึงเสียดินแดน ถ้าไม่ปักปันเขตแดน ก่อนเจรจา MOU2544
นายสมชาย แสวงการ อดีตสมาชิกวุฒิสภา โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ระบุว่า ทำไมการดื้อเจรจาตาม MOU2544 แบ่งผลประโยชน์กัน ถ้าไม่ปักปันเขตแดนทางทะเลไทย-กัมพูชาให้ถูกต้องยุติก่อน
โพลชี้คนเกินครึ่งไม่เข้าใจ MOU44 - เกาะกูด
นิด้าโพลเผยผลสำรวจประเด็น MOU 44 และเกาะกูด พบว่าประชาชนไม่เข้าใจเลย สูงถึง 58.86% และส่วนใหญ่ไม่ต้องการเข้าใจข้อโต้แย้งและสถานการณ์ที่ชัดเจน ส่วนคนที่เข้าใจมากและค่อนข้างเข้าใจ ชี้ 1 ใน 3 ไม่ไว้วางใจรัฐบาลปกป้องผลประโยชน์ของชาติได้