'ไอติม-กมธ.การเมือง' รุดขอความชัดเจนศาลธรน. หวังได้คำตอบปมทำประชามติ 2 ครั้ง

21 พ.ย.2567 - ที่บริเวณหน้าศาลรัฐธรรมนูญ นายพริษฐ์ วัชรสินธุ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคประชาชน ในฐานะประธานกรรมาธิการการเมืองการมีส่วนร่วม สภาผู้แทนราษฎร ให้สัมภาษณ์ก่อนเข้าร่วมหารือกับประธานศาลรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับกระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ว่า อย่างที่เราทราบกันดีว่าการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เป็นวาระที่รัฐบาลได้เสนอไว้กับประชาชน และเป็นวาระที่แกนนำพรรคฝ่ายค้านอย่างพรรคประชาชนได้เห็นชอบด้วย ซึ่งเรายึดตามแผนที่รัฐบาลได้เสนอไว้ คือใช้กระบวนการการทำประชามติ 3 ครั้ง โดยยังไม่ทำประชามติรอบแรกจนกว่าจะมีการแก้ไขพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การทำประชามติเสร็จ ซึ่งเราเห็นว่าโอกาสที่เราจะมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ทันการเลือกตั้งแทบจะไม่มีเลย เพราะปัจจุบันการแก้ไขพ.ร.บ.ประชามติ ยังไม่ได้ข้อสรุป อีกทั้งเมื่อวานนี้ ( 20 พ.ย.) คณะกรรมาธิการร่วม 2 สภา ได้มีการลงมติเห็นชอบตามร่างของวุฒิสภา ที่ใช้เกณฑ์เสียงข้างมาก 2 ชั้น ฉะนั้นหากส่งมาที่สภาผู้แทนราษฎร แล้วเรายืนยันหลักการเดิม จะทำให้กระบวนการดังกล่าวต้องใช้เวลา 6 เดือน ดังนั้นในมุมมองของตน การจะจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ให้บังคับใช้ทันการเลือกตั้งครั้งต่อไป หนทางเดียวคือลดการทำประชามติจาก 3 ครั้งให้เหลือ 2 ครั้ง

นายพริษฐ์ กล่าวว่า ที่ผ่านมามีข้อถกเถียงว่าประชามติควรทำกี่ครั้ง ต้นต่อมาจากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ 2/2564 ไม่เหมือนกัน ในขณะที่พรรคประชาชน พรรคเพื่อไทย ได้ตีความคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ว่าการทำประชามติต้องทำ 2 ครั้ง แต่จะมีบางฝ่ายที่ไปตีความว่าต้องทำ 3 ครั้ง ดังนั้นวันนี้เราจึงมาหารือ เพื่อหวังว่าทั้งศาลรัฐธรรมนูญจะขยายความเรื่องนี้ให้ชัดเจน ว่าคำวินิจฉัยดังกล่าวระบุว่าจะต้องทำประชามติกี่ครั้ง หวังว่าวันนี้จะได้รับความชัดเจนกลับมาว่าการทำประชามติต้องทำเพียง 2 ครั้ง โดยมีเหตุผลที่ว่า 1.ในคำวินิจฉัยดังกล่าวไม่ได้มีการเขียนว่าจะต้องทำประชามติ 3 ครั้ง เขียนเพียงว่าจะต้องทำประชามติ 1 ครั้งก่อน และ 1 ครั้งหลัง และที่ผ่านมามีการถกเถียงกันว่าคำว่า "ทำก่อน" คือก่อนอะไร 2.ถ้าไปดูคำวินิจฉัยส่วนตนของตุลาการทั้ง 9 คน จะเห็นว่าตุลาการเสียงข้างมากที่เขียนไว้ว่าสามารถตีความได้ว่าจำเป็นต้องทำเพียง 2 ครั้ง และ 3. ถ้าเราไปดูอินโฟกราฟฟิคของศาลรัฐธรรมนูญที่ได้ทำไว้ จะเห็นว่าขั้นตอนที่เขียนไว้มีการทำประชามติเพียง 2 ครั้ง

นายพริษฐ์ กล่าวด้วยว่า อย่างไรก็ตามถ้าเราได้ความชัดเจนในวันนี้ เราก็มีกำหนดเข้าพบอีก 2 ฝ่ายคือวันที่ 27 พ.ย. นี้จะเข้าพบประธานรัฐสภา เพื่อชี้แจงว่าการทำประชามติเพียง 2 ครั้งก็เพียงพอแล้ว จะทำให้ประธานสภา มีความสบายใจมากขึ้นและก็ทบทวนการออกแบบก่อนหน้านี้ และบรรจุร่างแก้ไขเกี่ยวกับสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ที่อดีต พรรคก้าวไกล และพรรคเพื่อไทยเคยยื่นไว้ก่อนหน้านี้ และเราจะเข้าพบนายกรัฐมนตรี แต่ยังไม่มีกำหนดวันเข้าพบ โดยการเข้าพบครั้งนี้ก็เพื่อที่จะหารือกับทางซีกกับรัฐบาลเพื่อให้มีความเห็นตรงกัน และทำให้โอกาสในแผนดังกล่าวได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภามากขึ้น

ถามว่าถ้าศาลยืนยันว่าการทำประชามติ 2 ครั้งแน่นอน การดำเนินการจะสามารถทันรัฐสภาได้มากน้อยแค่ไหน นายพริษฐ์ กล่าวว่า เป็นไปได้มากถ้าเราได้รับความชัดเจน ว่าสิ่งที่พรรคประชาชนตีความว่าทำ 2 ครั้ง เพราะเชื่อว่าถ้าเราได้รับความชัดเจนประการแรกจะทำให้ประธานสภาทบทวนจากเดิมที่ไม่บรรจุร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเรื่องสสร. อาจจะทบทวนให้มาบรรจุร่าง จากนั้นก็จะเข้าสู่การพิจารณา เมื่อผ่านก็จะมีการทำประชามติรอบแรกว่าจะมีสสร. หรือไม่ และถ้าประชาชนเห็นชอบก็จะนำไปสู่การเลือกตั้งสสร. และมีการยกร่างฉบับใหม่ ดังนั้นคิดว่าถ้าเราได้รับความชัดเจนในวันนี้ก็จะมีความหวังมากขึ้นว่าจะมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ใช้ทำการเลือกตั้งครั้งหน้า


เมื่อถามว่า การมาหารือในวันนี้จะเป็นการกดดันกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญจะประชุมว่าจะไม่รับ หรือไม่รับคำร้อง กรณีนายทักษิณ ชินวัตร ล้มล้างการปกครองในวันพรุ่งนี้ (22 พ.ย.) หรือไม่ นายพริษฐ์กล่าวว่า วาระการหารือครั้งนี้ถูกกำหนดไว้มาก่อนแล้ว ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าว ถ้าพูดในนามของพรรคประชาชนต้องแยกเป็น 2 ส่วน ในมุมหนึ่งมีแน่นอนถึงการกระทำบางอย่างที่เราในฐานะพรรคฝ่ายค้านถูกตรวจสอบอยู่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องกระบวนการยุติธรรมเกี่ยวกับนายทักษิณ MOU 44 เกาะกูด แต่ในมุมมองของพรรคประชาชน มองว่าการกระทำดังกล่าวไม่ควรจะนำไปสู่การใช้ยุบพรรค อย่างที่พรรคประชาชนพูดมาตลอดว่าไม่เห็นด้วยกับการยุบพรรคในลักษณะนี้ อีกครั้งอยากเชิญชวนทุกพรรคการเมือง มาร่วมกันแก้ไขกฎหมายเฉพาะพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยพรรคการเมือง ทำให้การยุบพรรคไม่ได้เกิดขึ้น ดังนั้นเราในฐานะแกนนำพรรคฝ่ายค้าน มองว่าบุคคลในรัฐบาลสมควรถูกตรวจสอบ แต่เราไม่เห็นด้วยกับวิธีการยื่นยุบพรรค

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กมธ.มั่นคงฯ ขอดูลาดเลาปม MOU44 ให้รอบด้าน

'กมธ.มั่นคง' ขอฟังข้อมูลปม MOU 44 รอบด้าน หลังหลายฝ่ายมีความเห็นต่าง 'โรม' ยันยึดประโยชน์ประเทศชาติเป็นหลัก เล็งใช้กลไกสภาเดินหน้าตรวสอบ เหตุเรื่องรื้อรังมานาน

'เอ็ดดี้ อัษฎางค์' มีคำตอบให้! 'พิธา' ไม่เข้าใจทำไมกลายเป็นศัตรูเพื่อไทย

เอ็ดดี้-อัษฎางค์ ยมนาค อินฟลูเอ็นเซอร์การเมือง โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า "พิธา ลิ้มเจริญรัตน์" ไม่เข้าใจทำไมกลายเป็นศัตรูกับเพื่อไทย อัษฎางค์ ยมนาค มีคำตอบให้

รู้ไว้ซะ 'ปิยบุตร' เผย 'ทักษิณ' ได้กลับบ้าน เพราะก้าวไกลชนะเลือกตั้ง!

นายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้า โพสต์เฟซบุ๊กว่า สัปดาห์ที่ผ่านมา มีเรื่องหนึ่งที่ถูกหยิบยกมาถกเถียงกันอีกครั้ง

'ปชน.' ฮึด! ลุยปักธงภูมิภาค เปิดตัว 'ผู้สมัครนายกอบจ.' 12 จว. ชู 5 นโยบายหลัก

'ปชน.' หวังปักธงทุกภูมิภาค เปิดตัว 'ผู้สมัคร นายก อบจ.' 12 จังหวัด ชู นโยบาย 5 ด้าน ยกระดับคุณภาพชีวิตคนไทย 'ศรายุทธิ์' ย้ำ ทำได้จริง ไม่ใช่เทคนิคหาเสียงแน่นอน 'ณัฐพงษ์' ยัน ไม่ได้ชกใต้เข็มขัด แค่ชี้แจงทำความเข้าใจ

สุดลิ่ม! ‘วันชัย’ มั่นใจ ‘ทักษิณ-พท.’ ตั้งหลักได้อะไรก็ฉุดไม่อยู่ ปล่อยนักร้องอกแตกตาย

ถ้าคุณทักษิณและพรรคเพื่อไทยตั้งหลักได้เมื่อไร อะไรก็รั้งไม่หยุดฉุดไม่อยู่ ถึงกับกล้าประกาศว่าเลือกตั้งคราวหน้าจะคว้าให้ได้ถึง 200 เสียงขึ้น