ผบ.ทร. พร้องส่ง ‘จนท.อุทกศาสตร์-พระธรรมนูญ’ ร่วมวง ‘เจทีซี’ เจรจา ‘กัมพูชา’ พื้นที่อ้างสิทธิทางทะเล ชี้ต้องอาศัย ‘นักเทคนิค’ ควบคู่ ‘นักกฎหมาย’ เตรียมเปิดวงเสวนาชี้แจงสังคม 3 ธ.ค.นี้ ไม่หวั่นกระแส ‘คนนอก’ ครอบงำ ‘เจทีซี’ ย้ำยึดกฎหมาย-อนุสัญญาระหว่างประเทศ
20 พ.ย.2567 - พล.ร.อ.จิรพล ว่องวิทย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ (ผบ.ทร.) กล่าวภายหลังทำพิธีวันสถาปนากองทัพเรือ ครบรอบ 118 ปี กรณี MOU ไทย-กัมพูชา ปี 2544 ว่า ตนเคารพความคิดของทุกท่าน เพราะทุกคนล้วนมีความเป็นห่วงกองทัพเรือ ไม่ว่าอดีตผบ.ทร.จะเกษียณอายุราชการไปนานเท่าไหร่แล้วก็ตาม เพราะอดีตผู้บังคับบัญชาของกองทัพเรือก็อยากให้กองทัพเรือเดินหน้าไปได้ และมีความต่อเนื่องในการพัฒนาในทุกด้าน
พร้อมย้ำว่ากองทัพเรือมีหน้าที่ดูแลพื้นที่และปัจจุบันก็ดูแลเส้นเขตแดนทางทะเลที่ประเทศไทยประกาศ ซึ่งเราดูแลได้อย่างเรียบร้อยและไม่มีความขัดแย้งเส้นเขตแดนกับประเทศเพื่อนบ้าน เพราะเข้าใจกันทั้ง 2 ฝ่าย
“แต่เมื่อมีกระแสสังคมถึง MOU 44 กองทัพเรือในฐานะหน่วยงานทางเทคนิคที่มีผู้เชี่ยวชาญด้านเขตแดนทางทะเล คือ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ เตรียมจัดงานเสวนาในเรื่องนี้ ในเรื่องเส้นเขตแดนในทะเลและข้อตกลง-ข้อขัดแย้งต่างๆ วันที่ 3 ธ.ค.นี้ ที่เปิดให้ผู้สนใจทั่วไปเข้ารับฟังได้ อีกทั้งแบ่งวงเสวนาให้ความรู้เรื่องการเจรจาข้อตกลงต่างๆอีกด้วย เพื่อสื่อสารให้สังคมเข้าใจ ว่าการเจรจาตกลงมีรูปแบบใดบ้าง รวมถึงกระบวนการเข้าสู่ศาลโลกที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายทางทะเล เพื่อให้สังคมได้เห็นภาพเหตุการณ์ที่หลากหลายรูปแบบที่เกี่ยวข้องกับข้อตกลงระหว่างประเทศ” ผบ.ทร. กล่าว
ส่วนความคืบหน้าในการตั้งคณะกรรมการร่วมทางเทคนิค (JTC) ที่ นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกฯและรมว.กลาโหม ได้ระบุว่าจะต้องมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องครอบคลุม ที่มีกรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ ร่วมด้วยนั้น ผบ.ทร. กล่าวย้ำว่า ถ้า นายภูมิธรรม ร้องขอมาก็ยินดีสนับสนุน เพราะเรื่องเขตแดนทางทะเล กองทัพเรือก็ต้องศึกษาให้ถ่องแท้เช่นเดียว ตามที่จะมีการจัดเสวนาดังกล่าวขึ้นมา ซึ่งเจ้าหน้าที่กรมอุทกศาสตร์ จะมีความรู้ในเรื่องทางเทคนิค แต่ถ้าเป็นเรื่องกฎหมายก็จะเป็นสำนักพระธรรมนูญ กองทัพเรือ อยู่ที่จะมีการเลือกเจ้าหน้าที่ทางเทคนิคแบบใด เข้าไปร่วมเจทีซี
เมื่อถามว่ามีความเป็นห่วงเรื่องความเป็นอิสระของคณะกรรมการเจทีซี ที่จะไม่ถูกครอบงำจากบุคคลใดหรือไม่ ผบ.ทร. กล่าวว่า อยู่ที่การอธิบาย หรือความต้องการในกระบวนการทำงาน ในเรื่องทางกฎหมายและเทคนิค เพราะในบางส่วนอาจไม่เชี่ยวชาญเรื่องทางกฎหมาย ซึ่งกฎหมายก็จะมีช่องให้เดิน ขึ้นอยู่กับว่าจะหยิบมาตราใดมาใช้ ซึ่งเจ้าหน้าที่ทางเทคนิคก็จะเข้ามาช่วยในเรื่องเหล่านี้ได้ กรณีที่มีการเจรจาเกิดขึ้นจะต้องใช้กฎข้อใดหรือต้องอ้างอนุสัญญาใด
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
จี้รัฐบาลประท้วงกัมพูชา
"สนธิรัตน์" นำทีมพลังประชารัฐลงพื้นที่ตราด "ดร.ม.ล.กรกสิวัฒน์" ชี้อันตรายมาก แนวสันเขื่อนดินที่กัมพูชาสร้างต่อเติมออกไป หากไม่มีการประท้วงหรือไม่มีข้อคัดค้านใดๆ ก
พปชร. ลงตราด ชวนชาวบ้านในพื้นที่ร่วมคัดค้าน MOU 44
นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ ประธานร่วมศูนย์นโยบาย และวิชาการ และ ดร.ม.ล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี กรรมการบริหาร พรรคพลังประชารัฐ ได้เดินทางมาเยี่ยมพี่น้องประชาชนในจังหวัดตราด โดยได้รับการประสานงานจากประชาชนในพื้นที่
'อดีตบิ๊กทอ.' ไล่บี้นายกฯอิ๊งค์ ใช้กฎหมายรักษาผลประโยชน์ทางทะเล ลบล้าง MOU 44
พลอากาศโทวัชระ ฤทธาคนี หรือ เสธ.นิด อดีตนายทหารนักบินกองทัพอากาศ โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กว่า ผมไม่แน่ใจว่า “นายกรัฐมนตรี อ.อ.” เคยรู้เห็นเรื่องเกี่ยวกับ พรบ.การรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ปี ๒๕๖๒ หรือไม่
‘เกาะกูด’ สงครามที่ ‘ทักษิณ’ ไม่มีทางชนะ จับตาจะถอยอย่างไร ไม่ให้ตัวเองเสียหน้า และ ‘ฮุนเซน’ เสียใจ
ประเด็นเรื่องเกาะกูดเป็นของไทยหรือไม่ นั้น ได้ข้อยุติจากคุณทักษิณเมื่อวานนั้น ว่ารัฐบาลไทยก็เห็นด้วย ว่าเป็นของคนไทย แต่จะเห็น
เปิดข้อเสนอ 'ครูทหารเรือ' เจรจาเส้นเขตแดนไทย-กัมพูชาให้จบก่อน หากถึงทางตันต้องไปที่ศาลโลก
เปิดข้อเสนอ “ครูทหารเรือ” ให้เจรจาเส้นเขตแดนไทย-กัมพูชาให้จบก่อน มองสูตรของกัมพูชาเจรจาขุมทรัพย์ก่อนทำได้ยาก ชี้2เรื่องละเอียดอ่อน-ซับซ้อน ปลายทางอาจจบที่ศาลโลก
'วรงค์' สวน 'ทักษิณ' โคตรควาย! จะเอาแต่ผลประโยชน์ ไม่สนใจเสียดินแดนตามมา
นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ที่ปรึกษาพรรคไทยภักดี โพสต์เฟซบุ๊กว่า #ควายหรือโคตรควาย