‘ภูมิธรรม’ ระบุ หากนายกฯกลับมา เรียกถก ตั้ง เจทีซี วันนี้ก็ เข้าครม.ทันพรุ่งนี้ โยน กต.เคาะรายชื่อ ลั่น เกาะกูดไม่จบซํ้ารอยเขาพระวิหารแน่ ยัน ไม่มีเหตุผลต้องยกเลิกเอ็มโอยู 44
18 พ.ย.2567-ที่ทำเนียบรัฐบาล นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม กล่าวถึงการตั้งคณะกรรมการทางเทคนิค (เจทีซี) เพื่อเจรจาพื้นที่อ้างสิทธิ์ระหว่างไทยและกัมพูชาว่า รอนายกฯ เดินทางกลับวันนี้ ยังไม่ทราบว่านายกฯ จะเข้าทำงานเลยหรือไม่ แต่เรื่องนี้ยังไม่ได้คุยกัน อย่างไรก็ตาม วันที่ 19 พ.ย. ตนต้องไปประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนที่ประเทศลาวด้วย จึงยังไม่แน่ใจว่าจะพูดคุยกันเมื่อไหร่
ถามว่า จะมีการนำเรื่องนี้เข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวันที่ 19 พ.ย.เลยหรือไม่ นายภูมิธรรม กล่าวว่า ตนไม่แน่ใจ แต่คิดว่าไม่น่าทัน ยกเว้นนายกฯ จะเรียกประชุมวันนี้ เมื่อถามย้ำว่า มีการกำหนดหรือไม่ว่าจะเริ่มประชุมเมื่อไหร่ นายภูมิธรรม กล่าวว่า หากนายกฯ กลับมาแล้วทำทัน ก็จะเสนอเข้า ครม.ในวันอังคารนี้เลย แต่ถ้าไม่ทันก็จะเร่งพิจารณาให้เร็วที่สุด ยํ้าว่าต้องรอให้นายกฯ กลับมาก่อน
เมื่อถามว่า เบื้องต้นได้วางคนที่จะเป็นคณะกรรมการไว้แล้วใช่หรือไม่ นายภูมิธรรม กล่าวว่า เป็นเรื่องของกระทรวงต่างประเทศที่ต้องทำการบ้านและมาพูดคุยกัน ทั้งนี้ ตนยังไม่ทราบว่าใครจะเป็นคณะกรรมการบ้าง เป็นเรื่องของกระทรวงต่างประเทศ
ถามว่า กรอบของเจทีซีคาดว่าจะได้ข้อสรุปชัดเจนอย่างไรบ้าง นายภูมิธรรม กล่าวว่า ต้องพูดคุยกัน และเดินตามเอ็มโอยู 44 เพราะเป็นกรอบที่วางไว้ให้พูดคุยกันอย่างสันติ เนื่องจากมีเรื่องที่ค้างคาใจหลายเรื่อง และยังไม่ได้ข้อสรุป เมื่อถามว่า ขณะนี้ที่ถูกวิจารณ์คือ พื้นที่อ้างสิทธิใต้ทะเล เป็นประเด็นหลักที่ต้องพูดคุยกันใช่หรือไม่ นายภูมิธรรม กล่าวว่า ต้องพูดคุยกัน เพราะเอ็มโอยูไม่ได้ระบุว่าต้องเป็นเรื่องอะไร เพราะฉะนั้น เรื่องความขัดแย้งชายแดน การเจรจาเป็นวิธีที่ดีที่สุด
พอถามว่า แสดงว่าเอ็มโอยู 44 ไม่สามารถยกเลิกได้แล้วใช่หรือไม่ นายภูมิธรรม กล่าวว่า ไม่มีอะไรต้องยกเลิก เป็นเรื่องที่พูดคุยกันยังไม่จบ ต่างคนต่างอ้างสิทธิ์แต่ละฝ่าย ต้องให้มาคุยกันตามเอ็มโอยู เมื่อถามว่า เพื่อให้เกิดความสบายใจกับคนในประเทศ เป็นไปได้หรือไม่ที่จะร่างเอ็มโอยูอันใหม่ นายภูมิธรรม กล่าวว่า มันไม่มีอะไร เอ็มโอยู 44 เป็นกรอบที่ดีอยู่แล้ว ไม่ได้ระบุว่าให้ใคร เพียงแต่บอกว่าเป็นเรื่องที่ยังไม่จบ เพราะฉะนั้น เรื่องนี้ต้องเจรจากัน และนำเข้าสภาของทั้งสองประเทศ ซึ่งต้องยึดกฎหมายระหว่างประเทศ และกฎหมายทางทะเลระหว่างประเทศ ดังนั้น ไม่มีอะไรต้องยกเลิก จะยกเลิกเพื่อให้ประชาชนตัดสินใจก็ไม่ควร หรือจะไม่ให้สภาตัดสินใจก็ไม่ควร หรือยกเลิกใช้กฎหมายทะเลก็ไม่ควร ไม่มีอะไรต้องยกเลิก ตนคิดว่ามีหลายคนยังไม่เข้าใจเอ็มโอยู 44 ต้องกลับไปอ่านให้ละเอียด
เมื่อถามว่า เรื่องนี้จะไม่ทำให้ประชาชนแคลงใจเหมือนกรณีเขาพระวิหารใช่หรือไม่ นายภูมิธรรม กล่าวว่า เราถึงต้องรีบทำ ไม่เช่นนั้นจะเป็นปัญหาใหญ่ในระยะยาว ทั้งนี้ ตนคิดว่าไม่มีอะไรต้องแคลงใจ และการที่เราเดินทางไปในพื้นที่ก็แสดงให้เห็นว่าเรายังเป็นเจ้าของดินแดนอยู่ หน่วยราชการก็ยังอยู่ เหมือนกรณีเขาพระวิหารที่เขาอ้างสิทธิ์ก็ลงไปเยี่ยมในพื้นที่ จึงคิดว่าไม่มีปัญหาอะไร ในส่วนของทหารก็ดูแลพื้นที่ของตัวเองตามอำนาจอธิปไตย แต่ที่สำคัญเราต้องเข้าใจเอ็มโอยู 44 ก่อน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ถึงบางอ้อ ดร.เสรี เผยเหตุ 'กัมพูชา' ยอมตกลง MOU44
ดร.เสรี วงษ์มณฑา นักวิชาการด้านการตลาดและการสื่อสาร โพสต์เฟซบุ๊กว่า คนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการลงนาม MOU44 มีหรือจะพูดว่า MOU44 ไม่ดีสำหรับประเทศไทย เขาย่อมพูดว่าเป็นผลดี
คปท.บุกทำเนียบฯ ยื่น นายกฯ-ครม. ค้าน ‘กิตติรัตน์’ นั่งปธ.บอร์ดแบงก์ชาติ
คปท. ยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี คัดค้านการเสนอชื่อนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง เป็นประธานกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ บอร์ดแบงก์ชาติ
ชาวนาต้นทุนกระฉูด! ปุ๋ยคนละครึ่งไม่ตอบโจทย์
บุรีรัมย์ ชาวนา เรียกร้องให้รัฐบาล ช่วยค่าเก็บเกี่ยวไร่ละพัน แบ่งเบาภาระต้นทุนที่เพิ่มขึ้น แต่ยังขายได้ราคาต่ำ
สมชาย กางเหตุผลทำไม ไทยถึงเสียดินแดน ถ้าไม่ปักปันเขตแดน ก่อนเจรจา MOU2544
นายสมชาย แสวงการ อดีตสมาชิกวุฒิสภา โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ระบุว่า ทำไมการดื้อเจรจาตาม MOU2544 แบ่งผลประโยชน์กัน ถ้าไม่ปักปันเขตแดนทางทะเลไทย-กัมพูชาให้ถูกต้องยุติก่อน
โพลชี้คนเกินครึ่งไม่เข้าใจ MOU44 - เกาะกูด
นิด้าโพลเผยผลสำรวจประเด็น MOU 44 และเกาะกูด พบว่าประชาชนไม่เข้าใจเลย สูงถึง 58.86% และส่วนใหญ่ไม่ต้องการเข้าใจข้อโต้แย้งและสถานการณ์ที่ชัดเจน ส่วนคนที่เข้าใจมากและค่อนข้างเข้าใจ ชี้ 1 ใน 3 ไม่ไว้วางใจรัฐบาลปกป้องผลประโยชน์ของชาติได้
คำนูณ ผ่าปม 2 ได้ 3 เสีย ถ้าไม่ยกเลิก MOU 2544
ความเคลื่อนไหวและการแสดงความคิดเห็นเรื่อง MOU 2544 ที่เชื่อมโยงถึงเกาะกูด, การหาแหล่งพลังงานแห่งใหม่ในพื้นที่อ้างสิทธิไทย-กัมพูชา ที่มีการประเมินกันว่ามีมูลค่าสูงถึง 10 ล้านล้านบาท ยั