นายกฯอิ๊งค์ลั่นประเทศไทยต้องยืนหนึ่งบนเวทีโลก

ประเทศไทยต้องยืนหนึ่งบนเวทีโลก นายก ฯ “แพทองธาร” ย้ำบนเวทีระดับโลก ไทยแลนด์พร้อมแล้วสำหรับการลงทุนและความร่วมมือเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ ขอบคุณเปรูให้ความสำคัญกับผู้นำไทย ขณะที่สื่อมวลชนให้ความสนใจผู้นำไทยในเวทีเอเปคอย่างมาก

17 พ.ย. 2567 – นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า “ก่อนการเดินทางกลับประเทศไทยช่วงเวลา 18 นาฬิกาของวันนี้ (วันเสาร์ที่ 16 พฤศจิกายน) ตามเวลาเปรู ซึ่งจะใช้เวลาเดินทางประมาณ 27 ชั่วโมง โดยจะถึงประเทศไทยในวันจันทร์ที่ 18 พฤศจิกายน ประมาณ 11 นาฬิกา ตามเวลาในประเทศไทย นายกรัฐมนตรี นางสาวแพทองธาร ชินวัตร ให้สัมภาษณ์สรุปภาพรวมภารกิจ การประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 31 และการประชุมอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ณ กรุงลิมา สาธารณรัฐเปรู ดังนี้

นายกรัฐมนตรี กล่าวชื่นชม เปรูในการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเอเปค ซึ่งเป็นครั้งที่ 3 แล้ว โดยไทยได้เป็นเจ้าภาพเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา ภายใต้แนวคิด BCG Economy หรือ Bio-circular -Green ecocomy สำหรับการประชุมครั้งที่ 31 นี้มีหัวข้อหลัก เช่นการเสริมสร้างพลังการมีส่วนร่วม และการเติบโตที่ยั่งยืน (Empower Inclusive Growth) เพื่อให้สมาชิกเติบโตไปพร้อมๆกัน นอกจากนี้ ยังมีการขับเคลื่อนการลงทุน และผลักดันให้เกิดการค้าเสรี หรือ FTA ขณะเดียวกัน ก็ส่งเสริมเรื่องนวัตกรรม ดิจิทัลและการเติบโตที่ยั่งยืน ซึ่งตรงกับนโยบายที่ไทยกำลังผลักดันอยู่ในขณะนี้ ทั้งนี้ สมาชิกเขตเศรษฐกิจเอเปคมีแนวทางเดียวกันในการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainability) ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาพลังงานแห่งอนาคตที่ยั่งยืน และวิธีการรับมือกับอุปสรรคและปัญหาจากภัยธรรมชาติ การนำเทคโนโลยีที่แต่ละประเทศมีไม่เหมือนกัน มาสนับสนุนและแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน

นายกรัฐมนตรีกล่าวต่อไปว่า เวทีการหารือกับสภาที่ปรึกษาทางธุรกิจเอเปค (ABAC Dialogue with APEC Economic Leaders ) ถือว่าเป็นส่วนสำคัญ โดยได้คุยกับนักธุรกิจระดับผู้นำแต่ละเขตเศรษฐกิจ อาทิ พลังงาน รถยนต์ไฟฟ้า และ AI ซึ่งหลายบริษัทสนใจลงทุนในประเทศไทยมาก และได้เชิญชวนเข้ามาลงทุนในประเทศไทยโดยเน้นไปที่เทคโลโลยี AI Semiconductor และ Data center และ ยังได้พูดคุยกับเอกชนยักษ์ใหญ่ 3 บริษัท ประกอบด้วย Tiktok Microsoft และ Google ที่แจ้งว่าสนใจที่จะมาลงทุนในประเทศไทยเพิ่ม

“การลงทุนอย่าง Data center จะทำให้คนไทยเกิดการจ้างงานแบบใหม่ๆ ซึ่งการเติบโตทางเศรษฐกิจหรือ จีดีพี ของไทยตอนนี้เติบโตไม่เต็มศักยภาพ การหาเม็ดเงินใหม่ๆเข้าประเทศจะให้คนไทยมีรายได้และมีอาชีพจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ไทยจะต้องพัฒนาทุกด้านไปพร้อมๆกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเงินหมื่น การสร้างรายได้ใหม่ ซอฟต์พาวเวอร์ การลงทุน และการหาเม็ดเงิน เพื่อให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจในภาพรวมทั้งประเทศ ซึ่งทุกกรอบการประชุมต่างๆ ได้ระบุไปว่า ไทยพร้อมแล้วที่จะมุ่งมั่นพัฒนาเศรษฐกิจ โดยจะทำให้ไทยเป็นศูนย์กลางด้านเกษตรกรรมอัจฉริยะ หรือ Smart farming อย่างแท้จริง”
ส่วนการหารือทวิภาคีกับ นางดินา เอร์ซิเลีย โบลัวร์เต เซการ์รา ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐเปรู นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ขอชี่นชมเปรูในการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเอเปคปี 2024 นี้ ยืนยันว่า ไทยพร้อมที่จะทำงานร่วมกันโดยเฉพาะการเจรจาการค้าเสรี หรือ FTA ระหว่างไทย-เปรู ซึ่งเปรูเพิ่งเปิดท่าเรือชางใค ที่จะเป็นการเพิ่มโอกาสในการส่งสินค้าเกษตรของไทยได้เป็นอย่างมาก และสามารถเชื่อมโยงกับโครงการแลนด์บริดจ์ของไทยในอนาคตได้อีกด้วย

“จะให้คณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ นำไปพิจารณาถึงผลิตภัณฑ์ ขนสัตว์อัลปากาของเปรูที่มาทำเป็นเสื้อผ้า มาผสมผสานกับผ้าไหมของไทย เพื่อให้เกิดเนื้อผ้าพิเศษขึ้นมาเพื่อนำเสนอเป็น “ซอฟต์พาวเวอร์” ของทั้งสองประเทศ มารวมกันเพื่อช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจได้อีกทางหนึ่ง”

ส่วนการหารือทวิภาคีกับ นายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้พูดคุยถึงความร่วมมือกันในปีหน้า ที่ไทย-จีน จะเฉลิมฉลองความสัมพันธ์ครบรอบ 50 ปี โดยจีนได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ หรือ พระเขี้ยวแก้ว มาประดิษฐานไว้ที่ประเทศไทยในวันที่ 4 ธันวาคมนี้ และจีนยืนยันที่จะมอบหมีแพนด้ายักษ์มาประเทศไทยอีกครั้ง
นอกจากนี้ ประเทศไทยพร้อมที่จะเรียนรู้รูปแบบการพัฒนาประเทศของจีน ในการลดความยากจนในประเทศรวมทั้งเทคโนโลยีต่างๆ และได้เชิญชวนให้ภาคเอกชนจีนเข้ามาลงทุนที่ไทยเพิ่มมากขึ้น ซึ่งประธานาธิบดีจีนกล่าวยินดีและยืนยันว่าจะส่งเสริมความร่วมมือต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติ Online scam ระหว่างกัน และจะสนับสนุนไทยเข้าร่วม BRICS ด้วย

นายกรัฐมนตรียังกล่าวถึงการเข้าร่วมงานกาล่าดินเนอร์ทั้ง 2 คืน ทั้งในงานเลี้ยงอาหารค่ำ APEC CEOs-Leaders Dinner และ งานเลี้ยงอาหารค่ำเพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคว่า “ได้สร้างความมั่นใจให้กับประเทศไทยและเชิญชวนภาคเอกชนเขตเศรษฐกิบสมาชิกมาลงทุนที่ประเทศไทย ตลอด 3 วัน ถือว่าเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยอย่างมาก เพราะได้แลกเปลี่ยนมุมมองกับผู้นำแต่ละเขตเศรษฐกิจ ทั้งเรื่องที่เป็นประโยชน์ต่อกัน ขณะเดียวกันย้ำถึงศักยภาพของประเทศไทยในเวทีโลกด้วยว่า ประเทศไทยพร้อมแล้ว สำหรับการลงทุนเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศและสมาชิกเอเปค โดยมั่นใจว่าการได้พูดคุยกันจะทำให้ประเทศไทยสามารถเดินหน้าความร่วมมือกับประเทศต่างๆ และหาโอกาสให้กับประเทศไทยได้ง่ายขึ้น” นายกรัฐนตรีกล่าว

นายจิรายุ กล่าวถึงบรรยากาศการประชุมในครั้งนี้ ว่าเจ้าภาพเปรูเป็นประธานจัดงานได้อย่างยอดเยี่ยมโดยเฉพาะเวทีการประชุมในแต่ละเวทีตลอด 3 วัน ได้สอดแทรกศิลปะวัฒนธรรมของเปรูไว้ทุกเวที นายกรัฐมนตรี ผู้นำของประเทศไทยได้รับความสนใจอย่างมาก ในทุกครั้งที่ขึ้นกล่าวหรือแสดงวิสัยทัศน์ในการประชุม โดยสื่อมวลชนต่างชาติ ต่างให้ความสนใจนายกรัฐมนตรีสุภาพสตรี 1 ใน 2 คนของไทยในการประชุมครั้งนี้อย่างมาก

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวดี มท.รับรอง บัตรปชช. แอปฯ ThaID ใช้เช็กอินแทนบัตรจริงแล้ว

นายกฯ ขอบคุณ ส่วนราชการเร่งดำเนินการนโยบาย“รัฐบาลดิจิทัล”ลดขั้นตอนยุ่งยากให้ ปชช.ล่าสุด มท.รับรอง บัตร ปชช.จากแอปฯ ThaID สามารถโชว์รูปบัตรเช็กอินในประเทศโดยไม่ต้องใช้บัตรตัวจริงได้แล้ว

โฆษกรัฐบาล เผยปี 2568 นายกฯอิ๊งค์ จะทำให้ประเทศไทยเจริญทุกตารางนิ้ว!

นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า จากผลการสำรวจความคิดเห็นของนอร์ทกรุงเทพโพล มหาวิทยาลัยนอร์ท กรุงเทพ ในประเด็น “ท่านเห็นว่าบุคคลใดที่สมควรได้รับการยกย่องให้เป็นนักการเมืองแห่งปี 2567 ” พบว่า ประชาชนชื่นชมและชื่นชอบ

ศปช. อัปเดตสถานการณ์น้ำท่วม 6 จังหวัดภาคใต้ ปริมาณฝนมีแนวโน้มลดลง

นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษกศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศปช.) เปิดเผยว่า ศปช. วันนี้ได้รายงานสถานการณ์อุทกภัยใน 6 จังหวัด ได้แก่ ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ตรัง และพัทลุง  

รบ.เปิดตัวเลขนักท่องเที่ยว 11 เดือนปี 67 เข้าไทยทะลุ 32 ล้านคน

รบ.เปิดตัวเลขนักท่องเที่ยว 11 เดือน เข้าไทยทะลุ 32 ล้านคนแล้ว จีนยังครองอันดับ 1 ส่วนชาวมาเลฯชื่นชอบเที่ยวไทยมากกว่า 4.6 ล้านคน

'พิชัย' ชวนสมาชิกหอการค้าอเมริกันลงทุนไทยเพิ่ม

“พิชัย” ชวนสมาชิกหอการค้าอเมริกัน AMCHAM ลงทุนไทยเพิ่ม เร่งใช้แต้มต่อ FTA ไทย ผลักดัน ศก. ไทยเติบโตรวดเร็ว หลังเตรียมเยือนดาวอส ประกาศความสำเร็จ FTA ไทย-เอฟตา ฉบับแรกกับยุโรป