“ดร.ณัฏฐ์” นักกฎหมายมหาชน ชี้ มติเขากระโดง หักมุม ไม่เชื่อรูปแผนที่ในคำพิพากษาศาลฎีกา คำพิพากษาศาลฎีกาย่อมเหนือกว่าคำสั่งทางปกครอง
8 พ.ย.2567 - จากกรณีหนังสือกรมที่ดิน ที่ มท 0516.2(2)/22162 เรื่อง การเพิกถอนหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินที่ออกทับซ้อนกับที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 21 ต.ค.2567 ถึงผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย ลงนามโดย นายพรพจน์ เพ็ญพาส อธิบดีกรมที่ดิน ถึงเหตุผลไม่เพิกถอนที่ดินเขากระโดงที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทยนั้น
ดร.ณัฐวุฒิ วงศ์เนียม หรือ “ดร.ณัฏฐ์” นักกฎหมายมหาชน กล่าวถึงเรื่องนี้ มติคณะกรรมการสอบสวนที่ดินเขากระโดง ถือเป็นคำสั่งทางปกครอง การรถไฟแห่งประเทศไทย คู่กรณี ย่อมมีสิทธิโต้แย้งต่อคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ตามกฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ทั้งในปัญหาข้อกฎหมายและปัญหาข้อเท็จจริงภายใน 90 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งนั้น แต่ถ้าคณะกรรมการดังกล่าวเป็นคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาท สิทธิในการอุทธรณ์และกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ให้เป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการกฤษฎีกา ตามมาตรา 48 ประกอบมาตรา 44 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 เป็นเงื่อนไขการฟ้องคดีปกครองเพื่อเพิกถอนคำสั่งทางปกครองไม่ชอบด้วยกฎหมาย ตาม มาตรา 42 วรรคสองประกอบมาตรา 49 แห่ง พรบ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542
หากไม่ใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งภายในระยะเวลาที่กำหนดก่อนฟ้องคดีปกครอง ที่ดินเขากระโดงที่เป็นของการรถไฟแห่งประเทศไทย ที่เป็นสมบัติของแผ่นดิน จะตกเป็นของเอกชนทันที
โดยเฉพาะที่ดินบางส่วน กลุ่มพรรคพวกและบริวารของหมอผีเขมร ที่ใช้ประโยชน์ และเก็บผลประโยชน์เข้ากระเป๋าตนเอง โดยใช้อำนาจโดยพฤตินัย ผ่านพรรคการเมืองพรรคหนึ่ง เข้ามาเป็นรัฐบาลผสม คุมกรมที่ดินในกระทรวงมหาดไทย ถามว่า ประชาชนเจ้าของประเทศจะยินยอมหรือไม่ เอาที่ดินของรัฐมาเป็นของตนเอง ตนไม่ได้บอกว่า หมอผีเขมร คือใคร เป็นพรรคการเมืองอะไร สีอะไร ให้ประชาชนไปตรวจสอบกันเอง ตนมองด้วยความเป็นกลาง เพราะประชาชนต้องช่วยกันรักษาสมบัติของแผ่นดิน เชื่อว่าคนไทยทั้งประเทศ มึนงงกับมติคณะกรรมการสอบสวนที่ดินเขากระโดงใหญ่กว่าคำพิพากษาศาลฎีกาได้อย่างไร เป็นการให้ความรู้กฎหมายมหาชนแก่ประชาชนเพื่อประโยชน์สาธารณะทั้งสิ้น
ดร.ณัฐวุฒิ กล่าวว่ามติคณะกรรมการสอบสวนมีหลายประเด็น แต่ประเด็นที่เป็นตัวแปรสำคัญ คือ “รูปแผนที่ดิน” เป็นเหตุให้คณะกรรมการสอบสวนฯยุติเรื่อง และไม่เพิกถอนที่ดินเขากระโดงทั้งหมด ย้ำทั้งหมดทุกแปลง ประชาชนสับสน ตกใจกันทั้งประเทศ กับมติของคณะกรรมการสอบสวนว่า มติคณะกรรมการสอบสวนที่อธิบดีที่ดินตั้งขึ้นเพื่อวินิจฉัยชี้ขาดดัง จะมีอำนาจเหนือ อำนาจของตุลาการศาลยุติธรรมได้อย่างไร จึงเกิดตั้งคำถามถึงความยุติธรรมและอำนาจของคณะกรรมการสอบสวน หากใช้ดุลพินิจไม่ชอบด้วยกฎหมาย จะเป็นความผิดอาญาหรือไม่ เพราะมติคณะกรรมการสอบสวนที่ เป็นเพียงการใช้อำนาจตามกฎหมายที่มีผลกระทบต่อสถานภาพสิทธิต่อการรถไฟแห่งประเทศไทย ถือว่าเป็นเพียงคำสั่งทางปกครอง เป็นเพียงขั้นตอนเริ่มต้นในคดีปกครอง และยังไม่สิ้นสุด
ตนเห็นว่า กรณีมติคณะกรรมการสอบสวนฯที่ดินเขากระโดง ไม่เชื่อในรูปแผนที่ตามคำพิพากษาศาลฎีกา โดยคณะกรรมการสอบสวนฯได้หยิบเอาข้อเท็จจริงบางส่วน จากหนังสือจากจังหวัดบุรีรัมย์ได้มีหนังสือ ลับ ด่วนที่สุด ที่ บร 0020.4/186 ลงวันที่ 25 เมษายน 2565 แจ้งผลการตรวจสอบว่า รูปแผนที่ที่ผู้ฟ้องคดีอ้างสิทธินั้นได้จัดทำขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2531 และปี พ.ศ.2539 เป็นการจัดทำขึ้นตามมติที่ประชุมคณะกรรมการประสานการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐส่วนจังหวัด ซึ่งได้จัดทำขึ้นภายหลังที่ได้มีการออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินไปแล้วประมาณ 900 กว่าแปลง โดยผู้ฟ้องคดี(การรถไฟฯ) นำแผนที่ดังกล่าว ไปใช้ประกอบการต่อสู้คดีตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 846-476/2560 และคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8027/2561 มติคณะกรรมการสอบสวนไม่เชื่อว่า แผนที่ดังกล่าวจึงไม่ใช่แผนที่แนบท้ายพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการจัดซื้อที่ดินฯ ในที่ดินพิพาทแต่อย่างใด
นักกฎหมายมหาชนกล่าวต่อว่า มติดังกล่าว เป็นการหักมุมคำพิพากษาศาลฎีกา ที่วินิจฉัยเป็นที่สุดแล้ว ว่าเป็นที่ดินตามรูปแผนที่เป็นที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย โดยคณะกรรมการสอบสวนชุดนี้ แต่ใช้ดุลพินิจไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ อย่างไร หากเป็นการร่วมกันใช้ดุลพินิจโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นการปฎิบัติหน้าที่โดยมิชอบ การรถไฟฯ ย่อมเป็นผู้เสียหาย สามารถดำเนินคดีอาญาได้ แยกต่างหากจากคดีปกครอง
การใช้ดุลพินิจของคณะกรรมการสอบสวนฯ ไม่เชื่อรูปแผนที่ที่ปรากฎในคำพิพากษาศาลฎีกา โดยใช้ดุลพินิจเป็นอย่างอื่นว่า รูปแผนที่จัดทำขึ้นในภายหลัง พรฎ.จัดซื้อที่ดิน โดยการรถไฟแห่งประเทศไทยโดยไม่มีแผนที่มาแสดง ถึงแนวเขตที่ดินของการรถไฟแผ่นดินสายนครราชสีมา ถึงอุบลราชธานี ตอนแยกที่ย่อยศิลา ต.เขากระโดง จ.บุรีรัมย์ กิโลเมตรที่ 375+650 ตามแผนที่ท้าย พ.ร.ฎ.ว่าด้วยการจัดซื้อที่ดินแลอสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น เพื่อสร้างทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมรถไฟแผ่นดินจัดสร้าง ลงวันที่ 27 พ.ย.2465 แตกต่างจากศาลยุติธรรม โดยศาลฎีกาเชื่อในรูปแผนที่ของการรถไฟ ที่จัดทำขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2531 และปี พ.ศ.2539 ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการประสานการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐส่วนจังหวัด ซึ่งได้จัดทำขึ้นว่า เป็นที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย จึงเป็นที่มาของมติคณะกรรมการสอบสวนฯ ใช้ดุลพินิจเป็นอย่างอื่น โดยอ้างว่า แผนที่จัดทำภายหลังที่นำไปใช้ในคดีแพ่งที่ศาลฎีกาตัดสิน ไม่ใช่แผนที่แนบท้ายพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการจัดซื้อที่ดินฯ ในที่ดินพิพาท
อีกประการหนึ่ง คณะกรรมการสอบสวนได้หยิบประเด็นตรวจสอบสำเนารายงานการประชุมคณะกรรมการ กปร. จังหวัดบุรีรัมย์ ครั้งที่ 1/2538 เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2538 พิจารณา เรื่อง กรณีพิพาทระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทยกับราษฎรในพื้นที่ตำบลอิสาณ และตำบลเสม็ด อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ มีมติให้การรถไฟแห่งประเทศไทยดำเนินคดีทางศาลแก่ผู้บกรุก โดยมิได้มีการสั่งการเกี่ยวกับการจัดทำรูปแผนที่แต่อย่างใด การสำรวจทำแผนที่ทางกายภาพ ในพื้นพื้นที่รัศมี 1 กิโลเมตร สองข้างทางรถไฟ เมื่อปี พ.ศ.2537 สันนิษฐานว่า น่าจะจัดทำขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2539 และมีมติที่ประชุมการแก้ไขบัญหาความเดือดร้อนของเกษตรกรกลุ่มสมัชชาคนจน เมื่อวันที่ 15 เมษายน 2539 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำไปประกอบการพิจารณาแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของเกษตรกรกลุ่มสมัชชาคนจน ดังนั้น จึงน่าเชื่อได้ว่า แผนที่ที่ปรากฏตามคำพิพากษา ไม่ใช่ แผนที่ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการจัดซื้อที่ดินแลอสังหริมทรัพย์อย่างอื่นเพื่อสร้างทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมรถไฟหลวงจัดการสร้างประกาศลงวันที่ 7 พฤศจิกายน 2464ประกาศราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2464...”
"จะเห็นได้ว่า การใช้ดุลพินิจของคณะกรรมการสอบสวนฯเขากระโดงชุดนี้ เป็นการใช้ดุลพินิจเป็นอย่างอื่น ทำให้เกิดคำสั่งทางปกครองใหม่ เป็นช่องทางกฎหมายปกครองที่ประวิงเวลา ไม่เพิกถอนเอกสารสิทธิ์และยุติเรื่อง เป็นการใช้เทคนิคช่องทางกฎหมายมหาชน หากคู่กรณีไปใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งและฟ้องศาลปกครอง ซึ่งใช้เวลานาน หากพิจารณารูปแผนที่ศาลฎีกาหยิบไปใช้และรับฟังเป็นที่ยุติแล้วว่า ที่ดินเป็นของการรถไฟแห่งประเทศไทย แต่คณะกรรมการสอบสวนชุดนี้ กลับสบช่องในหนังสือที่กรมที่ดินนำไปสอบถามการรถไฟแห่งประเทศในเรื่องแผนที่ท้าย พรฎ.จัดซื้อฯและอ้างลอยๆว่า ไม่เชื่อแผนที่ ตามคำพิพากษาศาลฎีกา เป็นการหักมุมคำพิพากษาในศาลยุติธรรมในคดีปกครอง เพื่อให้แตกเป็นคดีใหม่ ซึ่งการใช้ดุลพินิจของคณะกรรมการสอบสวนจะต้องหยุดพยานหลักฐานและข้อเท็จจริงที่ฟังเป็นยุติในคำพิพากษาศาลฎีกาแล้ว มิฉะนั้น คำสั่งทางปกครองของคณะกรรมการที่ดินเขากระโดง จะเหนือกว่าคำพิพากษาศาลฎีกาที่เป็นที่สุดแล้ว ซึ่งจะขัดต่อหลักนิติรัฐในประเทศไทย"