'ชินวรณ์' วอน 21 ส.ส. อย่าทิ้งประชุมสภา ไม่เช่นนั้นจะถูกมองทำเพื่อประโยชน์ตัวเอง

20 ม.ค.2565 - ที่รัฐสภา นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะรองประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) กล่าวถึงกรณีพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) มีมติขับ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า ส.ส.พะเยา เลขาธิการพปชร. และ ส.ส.20 คน จะส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพของเสียงส.ส.รัฐบาล ในสภาหรือไม่ ว่า สถานการณ์ที่มีการขับ ส.ส. ออกไป หรือมีพรรคร่วมพรรคใดพรรคหนึ่งออกไปก็เคยมีมาแล้วในแต่ละยุค ซึ่งครั้งนี้ต้องให้ความเห็นใจพรรคที่มีสถานการณ์ทางการเมืองเช่นนี้

นายชินวรณ์ กล่าวต่อว่า ยังมั่นใจว่า เรามี ส.ส. 475 เสียงในขณะนี้ ซึ่งการประชุมสภาต้องใช้เสียงกึ่งหนึ่งคือ 238 เสียง โดยเสียงของรัฐบาลมีจำนวน 275 เสียง และจากที่มีการขับส.ส.ออกจากพรรค 21 คน เสียงของรัฐบาลก็จะคงเหลือ 254 เสียง ในเรื่องจำนวนตัวเลขยังทำให้การประชุมสภาดำเนินการต่อเนื่องได้ แต่ก็จะมีเสียงปริ่มน้ำ ซึ่งเป็นเรื่องที่วิปของแต่ละพรรคจะต้องปรึกษาหารือ และหามาตรการในการดำเนินการประชุมให้มีประสิทธิภาพ ขณะเดียวกันตนยังเชื่อมั่นว่า เพื่อนส.ส.ที่มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองคงจะต้องร่วมกันคำนึงถึงการทำงานของสภาให้เดินหน้าต่อไปได้ ไม่เช่นนั้นก็จะถูกกล่าวหาว่านักการเมืองทำเพื่อประโยชน์ของตนเอง

นายชินวรณ์ กล่าวต่อว่า การดำเนินการพิจารณากฎหมายสำคัญหรืออภิปรายไม่ไว้วางใจตามมาตรา 152 สามารถดำเนินการได้ปกติ เพราะเป็นการอภิปรายทั่วไปแบบไม่ลงมติ เมื่อวานนี้ (19 ม.ค.) จะเห็นได้ว่าเมื่อมีกฎหมายสำคัญก็สามารถผ่านความเห็นชอบของสภาได้ ดังนั้น ตนจึงขอให้ทุกฝ่ายร่วมมือกัน เพื่อให้การประชุมสภาเป็นไปได้ตามปกติต่อไป

เมื่อถามว่า ตอนสภาล่ม ส.ส. 21 คน ก็ไม่ได้เข้าสภา วิปรัฐบาลจะดำเนินการอย่างไร เพื่อให้การประชุมมีประสิทธิภาพ นายชินวรณ์ กล่าวว่า แต่ละพรรคต้องร่วมมือกันต่อไป สถานการณ์ทางการเมืองที่เสียงรัฐบาลปริ่มน้ำก็ดี หรือบางครั้งประธานรัฐสภาเป็นอีกฝ่ายหนึ่งกับฝ่ายรัฐบาลก็เคยมีมาแล้ว ดังนั้น อยู่ที่การประสานงานในการทำงานร่วมกัน เพื่อจะดำเนินการต่อไปให้มีประสิทธิภาพในการขับเคลื่อนให้สภาเกิดประโยชน์สูงสุดต่อพี่น้องประชาชน

"เมื่อวานนี้ ผมได้คุยกับประธานวิปรัฐบาลเบื้องต้นแล้วว่า เราได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีในการผ่านกฎหมายมาสองฉบับ แต่ในช่วงสุดท้ายมีการนับองค์ประชุมซึ่งเป็นเหตุการณ์เฉพาะหน้าที่เกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้คงจะมีการหารือของผู้บริหารพรรคแต่ละพรรคที่เป็นพรรคร่วมรัฐบาล ซึ่งวิปรัฐบาลจะต้องทำหน้าที่ในการดูแลมาตรการเพื่อรักษาองค์ประชุมต่อไป" นายชินวรณ์ กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

การเมืองไทยปี 68 เข้มข้น-ขับเคี่ยว-ร้อนแรง ซักฟอกมี.ค.-ปรับครม.กลางปี

การเมืองไทยไม่ว่าปีไหนๆ ก็มีประเด็นร้อนเกิดขึ้นได้ตลอด บางเรื่องเกิดขึ้นตามปฏิทินการเมือง แต่บางประเด็นเป็นความร้อนแรงที่แทรกขึ้นมาแบบไม่มีใครคาดคิดมาก่อน

'จุรินทร์' ยึดหลัก 4 ข้อ โหวตแก้รธน. เชื่อ สว. ลงมติมีเหตุผลอยู่แล้ว

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ สส. บัญชีรายชื่อ อดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงอุปสรรคในการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ประธานรัฐสภา จะบรรจุเข้าสู่ระเบียบวาระการประชุมร่วมรัฐสภา

'วันนอร์' ชี้นักการเมืองไม่ใช่อาชญากร บทลงโทษไม่ควรรุนแรงถึงขั้นตัดสิทธิ-ยุบพรรค 

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎร ให้สัมภาษณ์กรณีสถานการณ์การเมืองปี 2568 มีโอกาสเกิดคดีความที่นำมาสู่การยุบพรรคการเมือง และตัดสิทธิ สส. ว่า เรื่องนี้ขึ้นอยู่กับองค์กรที่มีหน้าที่วินิจฉัย

'ชูศักดิ์' ดักคอฝ่ายค้านยื่นซักฟอก บอกปม 'ชั้น14-MOU44' คุยนานแล้วไม่มีน้ำหนัก

นายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีฝ่ายค้านเตรียมยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจแบบมีการลงมติตามมาตรา 151 ในสมัยประชุมนี้ว่า ถือเป็นสิทธิของฝ่ายค้าน แต่ตนคิดว่าการอภิปรายไม่ไว้วางใจนั้นขึ้นอยู่กับประเด็น