30 ต.ค. 2567 - ดร.ณัฐวุฒิ วงศ์เนียม หรือ “ดร.ณัฏฐ์” นักกฎหมายมหาชน กล่าวถึงกระแสข่าวรัฐบาลมีโอกาสชิงยุบสภา จะเกิดขึ้นก่อนที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยคดียุบพรรคการเมือง ว่ามาตรา 103 รัฐธรรมนูญ การยุบสภาเป็นพระราชอำนาจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยนายกรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอและสนองพระบรมราชโองการ นายกรัฐมนตรีมีอำนาจทำได้เสมอ นอกจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่ยอมลงพระปรมาภิไธย แต่ก็ไม่เคยปรากฏลักษณะเช่นนี้มาก่อน ตัวแปรในการยุบสภาในอดีตที่ผ่านมามีหลายตัวแปร และหากพิจารณาจากเงื่อนไขเวลา ฝ่ายบริหาร รัฐบาลนางสาวแพทองธาร ชินวัตร เหลืออายุในการบริหารเช่นเดียวกับฝ่ายนิติบัญญัติ หากเวลานับตั้งแต่วันที่ 14 พ.ค.2566 สภาฯมีวาระดำรงตำแหน่ง 4 ปี ครบกำหนดในวันที่ 14 พ.ค.2570 ยังเหลือระยะเวลาประมาณ 2 ปี 6 เดือนเศษ รัฐบาลนี้ ยังพอมีเวลาบริหารประเทศและขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาล ที่ตนให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน เป็นการให้ความรู้ทางกฎหมายมหาชนแก่พี่น้องประชาชนอีกแง่มุมหนึ่ง เป็นไปตามหลักวิชาการ โดยไม่ได้รู้จักกับฝ่ายรัฐบาลหรือฝ่ายค้าน
ดร.ณัฐวุฒิ กล่าวว่าแต่หากพิจารณาคดียุบพรรค ที่ กกต.รับไต่สวน ยังมีระยะเวลาอีกนาน เพราะหลักการรัลฟังพยานหลักฐานทั้งสองฝ่ายและระเบียบ กกต.ว่าด้วยการรวบรวมข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานของนายทะเบียนพรรคการเมือง พ.ศ.2566 ยังเปิดช่องให้ขยายระยะเวลาในการสืบสวน หรือไต่สวนได้ โดยข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานยังไม่แน่ชัดว่า กกต.มีวินิจฉัยชี้ขาดยุบพรรคเพื่อไทยกับ 6 พรรคร่วมหรือไม่ แม้เป็นความเสี่ยง แต่ในการรวบรวมข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานในการยุบพรรคเพื่อไทยกับ 6 พรรคร่วม แตกต่างจากการยุบพรรคก้าวไกล หรือพรรคไทยรักษาชาติ เพราะข้อเท็จจริงต่างกัน
หากพิจารณาตัวแปรที่รัฐบาลชิงยุบสภาเพราะเหตุโอกาสยุบพรรคเพื่อไทยกับ 6 พรรคการเมือง ยังไม่เกิดขึ้น ตามที่นักการเมืองหรือนักวิเคราะห์การเมืองบางคนเพ้อฝัน เป็นการฝันกลางวัน ดับฝันสลายนักเลือกตั้งไปได้เลย แม้รัฐลบาลนี้ จะเจอการร้องเรียนแทบทุกเรื่อง จากฝ่ายตรงกันข้าม แต่ข้อเท็จจริงที่ร้องเรียนจะต้องฟังความสองฝ่าย คำร้องที่ยื่นร้องเรียน ทำอะไรรัฐบาลไม่ได้ วืดเป้า ดังนั้น ประเด็นที่ศาลรัฐธรรมนูญจะยุบพรรคเพื่อไทยกับ 6 พรรคการเมือง ที่ไปบ้านจันทร์ส่องหล้า ยังไม่มีโอกาสเกิดขึ้น หากเทียบเคียงกับ คดีล้มล้างการปกครอง ที่นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ผู้ร้อง ศาลรัฐธรรมนูญยังมีหนังสือไปสอบถามอัยการสูงสูดว่า ผู้ร้องได้ยื่นหนังสือจริงหรือไม่ หากยื่นแล้วมีคำสั่งอย่างไร เป็นการตรวจสอบอำนาจยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ตามความมุ่งหมาย มาตรา 49
นักกฎหมายมหาชน กล่าวอีกว่าหากพิจารณาจากประวัติศาสตร์การเมืองของประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2475 เป็นต้นมา ฝ่ายบริหารยุบสภาหลายครั้ง เกิดจากตัวแปร 1.เพื่อให้ฝ่ายบริหารใช้เป็นเครื่องมือถ่วงดุลอำนาจฝ่ายนิติบัญญัติ 2. เพื่ออุทธรณ์ข้อขัดแย้งต่อประชาชน 3. เพื่อประโยชน์ของพรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาล 4. เพื่อหาทางออกหรือทางตันเกี่ยวกับปัญหาทางการเมืองการปกครอง โดยรัฐธรรมนูญมาตรา 103 วรรคสองได้บัญญัติให้การยุบสภา จะกระทำได้เฉพาะในเหตุการณ์เดียว ส่วนโอกาสที่รัฐบาลชิงยุบสภาเพื่อหนีคดียุบพรรคคงไม่เกิดขึ้นในประวัติการเมืองการปกครองไทย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ดร.เสรี ถามลั่น มีกิน มีใช้ มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี เกิดขึ้นกี่โมง?
ดร.เสรี วงษ์มณฑา นักวิชาการด้านการตลาอดและการสื่อสาร โพสต์เฟซบุ๊กว่า ทำงานไม่เป็น ไม่เห็นผลงานเชิงประจักษ์ใดๆ ที่หาเสียง
ไทยในสายตาต่างชาติ (ตอนที่ 45: พระราชกฤษฎีกา 1 เมษายน 2476 คือ การทำรัฐประหารเงียบหรือ ?)
ในตอนที่แล้ว ผู้เขียนได้สรุปเหตุการณ์สำคัญต่างๆที่เป็นเงื่อนไขที่นำมาสู่การประกาศพระราชกฤษฎีกาวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476 อันเป็นพระราชกฤษฎีกาปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎร
‘พปชร.’ ปลดแอก ‘สามารถ’ โยนระเบิดเข้า ‘เพื่อไทย’ ต่อ
‘พลังประชารัฐ’ ฝั่งบ้านป่าฯ สถาปนาตัวเองเป็น ‘ฝ่ายค้าน-ฝ่ายแค้น’ เต็มตัว
109 นักวิชาการ กลุ่มเศรษฐศาสตร์เพื่อสังคม ออกแถลงการณ์คัดค้าน รัฐบาลครอบงำแบงก์ชาติ
109 นักวิชาการ และกลุ่มเศรษฐศาสตร์เพื่อสังคม ออกแถลงการณ์ห่วงใยธนาคารแห่งประเทศไทย ถูกแทรกแซงจากกลุ่มการเ
ดร.เสรี ฟันธง 'พรรคเพื่อไทย' คือต้นตอทำให้ 'พรรคประชาชน' ชนะการเลือกตั้งครั้งหน้า
ดร.เสรี วงษ์มณฑา นักวิชาการด้านการตลาดและการสื่อสาร โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กว่า
'สส.ส้ม' จี้ 'รัฐบาล' ตอบให้ชัดทำไมกลับลำชัก 'นิรโทษกรรม ม.112' ออก
นางสาวศศินันท์ ธรรมนิฐินันท์ สส.กทม. พรรคประชาชน ในฐานะโฆษกคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการตรา