'ดร.ณัฏฐ์' นักกฎหมายมหาชน ชำแหละทุกแง่มุม ผลกระทบคดีตากใบขาดอายุความ

“ดร.ณัฏฐ์” นักกฎหมายมหาชน ชำแหละทุกแง่มุม ผลกระทบคดีตากใบขาดอายุความ เพิ่มความรุนแรงไม่สงบ ความนิยมพรรคเพื่อไทยลดลง แม้จำเลยจะหลบหนีกฎหมายได้ แต่กฎแห่งกรรมหนีไม่พ้น
 
26 ต.ค.2567 -  ดร.ณัฐวุฒิ วงศ์เนียม หรือ “ดร.ณัฏฐ์” นักกฎหมายมหาชนคนดัง กล่าวถึงคดีตากใบที่ไม่สามารถนำตัวจำเลยมาศาลได้ ภายในอายุความ 20 ปี ทำให้คดีขาดอายุความ เมื่อวันที่  25 ต.ค. ที่ผ่านมาว่าผลกระทบในคดีตากใบ มีหลายมิติ หลายแง่มุมทั้งในแง่มุมกฎหมาย การเมือง เศรษฐกิจและสังคม โดยอายุความในคดีอาญา ที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา ตาม ปอ.มาตรา 95 “จะต้องฟ้องและได้ตัว” ที่มาตรานี้ ได้กำหนดระยะเวลาอัตราโทษตามกฎหมายไว้ ในคดีตากใบ เป็นความผิดฐานฆ่าผู้อื่นฯ มาตรา 288 หรือมาตรา 289 มีอายุความ 20 ปีนับแต่เหตุเกิด โดยอายุความตามกฎหมายอาญา ต้องพิจารณา ตามมาตรา 95 วรรคหนึ่ง (1) เป็นระยะเวลาสิ้นสิทธิ  แนวคิดขยายระยะเวลาคดีตากใบ เฉพาะคดี เป็นตรากฎหมายเรื่องอายุความย้อนหลังมีผลร้ายต่อจำเลยในคดีอาญา จะกระทำไม่ได้ ทั้ง พรก.รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ต้องเป็นเงื่อนไขในเรื่องจำเป็น เร่งด่วนสำคัญของประเทศ ในเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งที่กระทบต่อคนส่วนใหญ่ของประเทศ หากมองคดีตากใบ ยึดโยงกระแสการเมือง สามารถมองได้หลายตัวแปร อยู่ที่จะมองผลกระทบภายหลังคดีขาดอายุความอย่างไร เพราะคดีขาดอายุความไปแล้ว หากผู้เสียหายหรือทายาท หรือพนักงานอัยการไม่สามารถยื่นฟ้องจำเลยทั้งหลายได้ หรือหากผู้เสียหายเป็นโจทก์ฟ้องคดีด้วยตนเอง คดีอยู่ระหว่างพิจารณาของศาล ย่อมมีผลทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องเช่นกัน  ภาษาชาบ้าน จะเรียกว่า ผู้เสียชีวิตในคดีตากใบ “ตายฟรี” ก็ได้ 
             
ดร.ณัฐวุฒิ กล่าวว่าหากพิจารณาแง่มุมกฎหมาย อายุความสิทธิในการฟ้องและได้ตัวมาศาล โดยเจ้าหน้าที่ของรัฐในการติดตามตัวจำเลยให้ได้ตัวมาภายในอายุความ โดยผู้เสียหายฟ้องคดีเองใกล้ขาดอายุความ โดยราษฎรฟ้องเองจะต้องไต่สวนมูลฟ้อง ตาม ป.วิอาญามาตรา 162 ประกอบมาตรา 165 และศาลมีคำสั่งมีมูล ออกหมายจับ แต่ผู้เสียหายหรือราษฎรไม่มีเครื่องมือไปจับกุม ต้องอาศัยเจ้าหน้าที่ของรัฐตาม ป.วิอาญา ส่วนสำนวนที่พนักงานอัยการเพิ่งมาปัดฝุ่นมีคำสั่งฟ้องใกล้ขาดอายุความ โดยแถลงข่าวและสื่อประโคมข่าว ให้ผู้ต้องหารู้ล่วงหน้า แล้วใครที่ไหนจะอยู่ให้จับกุมตัว เพราะส่วนใหญ่เป็นอดีตข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ที่มีความรู้กฎหมาย ย่อมเผ่นไปตั้งหลักเพื่อให้ระยะเวลาผ่านพ้นไป หมายจับย่อมสิ้นผลเมื่อคดีขาดอายุความวันที่ 25 ตุลาคม ที่ผ่านมา ทำให้จำเลยหรือผู้ต้องหาเหล่านั้น ไม่ต้องรับผิดต่อผลของการกระทำของตน
           
แม้รัฐธรรมนูญ มาตรา 29 วรรคสอง เป็นหลักการคุ้มครองสิทธิผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญา โดยให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า ผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิด ก่อนมีคำพิพากษาอันถึงที่สุดจะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนว่ากระทำความผิดไม่ได้  
           
ดร.ณัฐวุฒิ กล่าวต่อว่า แต่ในชั้นการติดตามตัวจำเลยให้มาอยู่ในการควบคุมตัวในอำนาจศาลหรือเจ้าพนักงานตามหมายจับของศาล หรือกรณีติดตามตัวมาฟ้องคดีของพนักงานอัยการภายในอายุความ ถือว่า เป็นคนละขั้นตอนกัน กับข้อสันนิษฐานของรัฐธรรมนูญที่คุ้มครองสิทธิผู้ต้องหาหรือจำเลยที่ได้บัญญัติไว้ 
           
หากพิจารณาถึงอายุความคดีอาญาข้อหาร่วมกันฆ่าผู้อื่นตามาประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288 หรือ 289  มีอายุความ 20 ปี ต้องกลับไปถามว่า เหตุการณ์เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2547 ระยะเวลา 20 ปี ที่ผ่านมา ทั้งผู้เสียหายและหน่วยงานของรัฐ เหตุใดถึงตื่นตัวและใช้สิทธิฟ้องคดีระยะเวลากระชั้นชิดใกล้ขาดอายุความ หากมองอีกแง่มิติหนึ่ง ผลกระทบเป็นความล้มเหลวของรัฐหรือไม่ เพราะเปลี่ยนมาหลายรัฐบาล หากเทียบเคียงกับคดีอาชญากรสงคราม สมัยรัฐบาล จอมพล ป.ที่รัฐบาลสมัยนั้น ตรากฎหมายย้อนหลังเอาผิด จอม พล.ป. ศาลฎีกาได้วินิจฉัยว่า เป็นการออกกฎหมายอาญาย้อนหลัง เป็นผลร้ายแก่จำเลย เป็นผลให้กฎหมายดังกล่าวไม่อาจใช้บังคับโทษตามกฎหมายได้ ทำให้จอมพล ป.กับพวก หลุดคดี ไม่ต่างจาก แนวคิดต่ออายุความในคดีตากใบ หากรัฐบาลขยายอายุความเอาใจคนบางกลุ่ม สุดท้าย หากจับกุมตัวจำเลยได้ ช่องข้อกฎหมายนี้ เชื่อว่า จำเลยจะต้องหยิบไปต่อสู้ ทำให้หลุดคดี ตรงนี้แหละที่ตนบอกว่า กระทบต่อการอำนวยความยุติธรรมทางอาญา  
 
ส่วนในแง่มุมทางการเมืองนั้น  เผือกร้อนอยู่ในมือรัฐบาลแพทองธาร แม้ระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมา เปลี่ยนมาหลายรัฐบาล แต่เกิดขึ้นในรัฐบาลนายทักษิณ ชินวัตร ผู้เป็นบิดา แต่จังหวะ นางสาวแพทองธาร ชินวัตร บุตรสาว เป็นนายกรัฐมนตรีพอดี ย่อมหนีไม่พ้นจากความรับผิดทางการเมือง ย่อมส่งผลกระทบต่อคะแนนนิยมต่อพรรคเพื่อไทยโดยตรง แม้วานนี้ นางสาวแพทองธาร ชินวัตร ออกมาแถลงขอโทษพี่น้องประชาชน และแถลงว่า ไม่สามารถต่ออายุคดีตากใบได้ เพราะไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามรัฐธรรมนูญ โดยหารือกับคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้วทำไม่ได้ 
 
"ตรงกับที่ตนได้วิเคราะห์ก่อนหน้านี้ว่า ไม่เป็นเรื่องจำเป็นเร่งด่วนสำคัญของประเทศและกระทบต่อการอำนวยความยุติธรรมทางอาญา ไม่สามารถขยายระยะเวลาได้เพราะไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามรัฐธรรมนูญ ส่งผล หากมีการเลือกตั้งครั้งหน้า ปี 2570  เชื่อว่า พื้นที่สามจังหวัดภาคไต้ คะแนนนิยมพรรคเพื่อไทยจะผันแปรลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญ พรรคการเมืองอื่นอาศัยช่วงชุลมุนนี้ สร้างคะแนนให้แก่พรรคการเมืองของตน ให้สังเกต พรรคที่เป็นนั่งประมุขฝ่ายนิติบัญญัติและนั่งโควตารัฐบาลผสม เป็น รมต.ว่าการกระทรวงยุติธรรม ทำเป็น นิ่งเงียบ แต่ฟาดเรียบ"
 
ดน.ณัฐวุฒิ กล่าวต่อไปว่าในแง่ทางเศรษฐกิจ ผลของคดีตากใบขาดอายุความ แม้ไม่กระทบต่อปากท้องของประชาชน แต่ในความเชื่อมั่นในกฎหมายภายในประเทศกับการเชื่อมั่นลงทุน เป็นของคู่กัน หลีกเลี่ยงไม่พ้น หากใครจำได้ในอดีต สยามประเทศเคยตกอยู่ภายใต้ “สนธิสัญญาเบาริ่ง” เสียสิทธิสภาพอาณาเขตทางศาล เพราะกระบวนการยุติธรรมมีผลต่อความเชื่อมั่นของต่างชาติในด้านการค้าขาย  ทำให้ถูกตั้งข้อสังเกตว่า รัฐขาดประสิทธิภาพในการติดตามผู้กระทำความผิดมาลงโทษหรือไม่ อย่างไร แม้ศาลยังไม่ได้พิจารณาว่า จำเลยกระทำความผิดหรือไม่ก็ตาม ย่อมมีผลกระทบโดยตรง ทำให้ต่างชาติขาดความเชื่อมั่น ไม่กล้ามาลงทุนในประเทศ 
 
ในแง่มิติทางสังคม ปัญหาความไม่สงบสามจังหวัดภาคใต้ ครั้งหนึ่ง หากพี่น้องประชาชนจดจำได้ ว่า อดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร สมัยนั้น เคยพูดปรามาสว่า กลุ่มก่อความไม่สงบเป็นพวกโจรกระจอก ทำให้นักข่าวตีข่าวโด่งดัง ส่งผลเป็นการเรียกแขก ทำให้เกิดความไม่สงบต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน เห็นไหมว่า คำพูดสั้นๆของผู้นำทางการเมืองของประเทศ กระทบต่อความสงบ  รัฐบาลในขณะนั้น จึงต้องนำองคาพยพ งบประมาณ บุคลากร ทหาร ตำรวจ ความมั่นคง ไปรักษาความสงบในพื้นที่ดังกล่าว จะเห็นว่าแม้คดีตากใบจะขาดอายุความ ผลกระทบทางสังคมเพิ่มความเกลียดชังต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐเพิ่มขึ้น เหมือนสาดน้ำมันเข้ากองไฟ  เป็นการเรียกแขกโดยทางอ้อม ให้สังเกตว่าจะพบเห็นปรากฏการณ์ก่อความไม่สงบเพื่อต่อต้านอำนาจรัฐมากขึ้น 
 
"ในแง่มิติทางความเชื่อ แม้คดีขาดอายุความ ไม่สามารถติดตัวตัวจำเลยทั้งหลายมาชำระคดีได้ แม้ในทางกฎหมาย ไม่สามารถดำเนินคดีได้ เพราะสิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับ ความเชื่อทางศาสนา แม้จำเลยเหล่านั้น แม้จำเลยจะหลบหนีกฎหมายได้ แต่กฎแห่งกรรมย่อมหนีไม่พ้น จำเลยเหล่านั้นต้องชดใช้กรรม แม้ผู้เสียชีวิตจะนับถือศาสนาอิสลามก็ตาม" ดร.ณัฐวุฒิ กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ที่ปรึกษาของนายกฯ โผล่ทำเนียบฯ สแกนแล้ว​ไม่มีม็อบการเมือง มีแต่ม็อบปากท้อง

นายณัฐวุฒิ​ ใสยเกื้อ​ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ว่า ความจริงได้มีโอกาสเข้ามาที่ทำเนียบฯหลายครั้งเพื่อมาพูดคุยกับทีมงาน แต่ยัง

หอบหลักฐานยุบ 6 พรรค มัด 'ทักษิณ' ครอบงำ ท้า 'พท.-ชินวัตร' สาบานวัดพระแก้ว

'พิราบขาว' หอบหลักฐาน แจง กกต. คำร้องยุบ 6 พรรค ยันสัมพันธ์ชัด 'ทักษิณ' ครอบงำสั่งการ บี้นายกฯอิ๊งค์เปิดภาพแค่กินข้าวจริงหรือไม่ ท้า 'พท.-ชินวัตร' สาบานวัดพระแก้ว

ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 33): ‘กรมขุนชัยนาทนเรนทร’ ทรงตกเป็นเหยื่อการเมืองของหลวงพิบูลสงคราม”

รัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490

'อิ๊งค์' คุย กกร. ชื่นมื่น! ปลื้มอวย 'พ่อนายกฯ' แก้เศรษฐกิจเก่งสุด

นายกฯ คุย ‘กกร.’ รับข้อเสนอแก้เศรษฐกิจ จับมือเอกชนหารายได้ใหม่เข้าประเทศ ด้าน ‘สนั่น’ เชื่อมั่นรัฐบาลอิ๊งค์ พร้อมช่วยดันจีดีพีโต ชมเปาะ 'ทักษิณ' เก่งสุด