“นพดล” ยัน “ชูศักดิ์” ไม่น้อยใจ ย้ำ “เพื่อไทย” ไม่เคยมีมติโหวตตีตกข้อสังเกตุ ชี้ เป็นเรื่องของแต่ละพรรคที่จะไปพิจารณาว่าจะเสนอกฎหมายนิรโทษกรรมหรือไม่ ยันไม่นิรโทษกรรมความผิดตามม. 112
26 ต.ค.2567 - นายนพดล ปัทมะ สส. บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงการที่สภาผู้แทนราษฎรโหวตไม่เห็นด้วยกับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญ ศึกษาแนวทางการตราพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) นิรโทษกรรม ซึ่งมีคนวิจารณ์ว่าญัตตินี้เสนอโดยพรรคเพื่อไทยและมี นายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีนั่งเป็นประธาน แต่ทำไม สส.พรรคเพื่อไทยโหวตไม่เห็นด้วยกับข้อสังเกตของคณะกมธ.และบางคนแสดงความคิดเห็นไปว่านายชูศักดิ์อาจจะน้อยใจในเรื่องนี้หรือไม่และพรรคเพื่อไทยยอมตามพรรคร่วมรัฐบาลเกินไปหรือไม่ ว่า เรื่องนี้ตนขอชี้แจงข้อเท็จจริงในแต่ละประเด็นเป็นข้อๆเพื่อความชัดเจนดังนี้ 1. รายงานผลการศึกษาของคณะกมธ.นั้นแบ่งเป็นสองส่วน ส่วนที่หนึ่งคือตัวรายงาน และส่วนที่สองคือข้อสังเกตของคณะกมธ. ซึ่งส่วนที่หนึ่งซึ่งเป็นตัวรายงานนั้น สภาผู้แทนราษฎรเพียงแค่รับทราบ โดยไม่ต้องลงมติในขณะที่ส่วนที่สอง ซึ่งเป็นข้อสังเกตนั้น ต้องมีการลงมติว่าจะเห็นชอบหรือไม่ แม้สภาโหวตไม่เห็นชอบกับส่วนที่สองซึ่งเป็นข้อสังเกต ตัวรายงานส่วนที่หนึ่งนั้นถูกรับทราบโดยสภาไปแล้วตามกฎหมาย 2. พรรคเพื่อไทยไม่เคยมีมติให้สส.ของพรรคโหวตไปทางหนึ่งทางใด ซึ่งผลปรากฏว่ามีสมาชิกประมาณ 115 คนโหวตไม่เห็นด้วยกับข้อสังเกต ซึ่งก็เป็นเอกสิทธิ์ของสส.แต่ละคนซึ่งมีเหตุผลแตกต่างกันไป นายชูศักดิ์เป็นผู้อาวุโส ไม่ได้น้อยใจใดๆ
นายนพดล กล่าวต่อว่า 3. แม้สมมุติว่าสภาเห็นด้วยกับข้อสังเกตของคณะกมธ. เพื่อส่งต่อให้คณะรัฐมนตรี(ครม.)ไปพิจารณา ผลการลงมติของสภาก็ไม่สามารถไปบังคับครม.และรัฐบาลให้ดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดได้อยู่ดี ดังนั้นผลในทางปฏิบัติจึงไม่เกิดขึ้น ส่วนครม.จะขับเคลื่อนการนิรโทษกรรมอย่างไรก็เป็นเรื่องที่ครม.หรือรัฐบาลจะไปพิจารณาร่วมกัน ซึ่งไม่ต้องผูกมัดกับมติของสภาผู้แทนราษฎร 4. ต่อไปนี้เป็นเรื่องของแต่ละพรรคที่จะไปพิจารณาว่าจะเสนอร่าง พรบ.นิรโทษกรรมหรือไม่ และถ้าเสนอจะนิรโทษความผิดใดบ้าง ซึ่งเป็นเรื่องของแต่ละพรรคที่จะรับผิดชอบทางกฎหมายและทางการเมืองของตนเอง และ 5. พรรคเพื่อไทยยืนยันอย่างหนักแน่นมาตลอดว่าพรรคเพื่อไทยไม่มีนโยบายและแนวคิดที่จะรวมความผิดตามมาตรา 110 และ 112 เพื่อนิรโทษกรรม พรรคเพื่อไทยจะไม่เสนอนิรโทษกรรมความผิดตามมาตรา 110 และมาตรา 112
“ การนิรโทษกรรมทางการเมืองนั้นจะต้องนำไปสู่ความปรองดองและสมานฉันท์ในชาติ และไม่ควรนำไปสู่ความขัดแย้งทางการเมืองในอนาคต หวังว่าทุกฝ่ายจะก้าวข้ามความขัดแย้งและนำประเทศสู่ความมั่นคงทางการเมืองต่อไป“ นายนพดล กล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'ดัชนีการเมืองไทย' หลังซักฟอก 'อิ๊งค์' เรตติ้งร่วง! 'เท้ง' แซง 10%
สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “ดัชนีการเมืองไทย ประจำเดือนมีนาคม 2568” กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 2,141 คน (สำรวจทางออนไลน์และภาคสนาม)
‘เทพไท’ สะท้อนผลโพล ‘พรรคส้ม’ ต้องเปลี่ยนหัวหน้า ‘อนุรักษ์นิยม’ ต้องตั้งพรรคใหม่ สู้เลือกตั้งปี 2570
เทพไท วิเคราะห์ผลการสำรวจความคิดเห็นของ นิด้าโพล สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เรื่อง การสำรวจคะแนนนิยมทางการเมืองรายไตรมาส ครั้งที่ 1/2568
เปิดคะแนนนิยมการเมือง ปี 68 พบคนหนุน อุ๊งอิ๊ง นั่งนายกฯ อันดับ 1 พรรคประชาชนกระแสดีสุด
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจ เรื่อง “การสำรวจคะแนนนิยมทางการเมืองรายไตรมาส ครั้งที่ 1/2568” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 24-27 มีนาคม 2568
'สนธิญา' ยื่น กกต. สอบปม 'นายกฯอิ๊งค์-เท้ง' โต้กันนัวศึกซักฟอก คนนอกครอบงำพรรค
นายสนธิญา สวัสดี นักเคลื่อนไหวทางการเมือง ยื่นหนังสือต่อกกต.เพื่อขอให้ตรวจสอบจากกรณีการอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 -25 มี.ค.ที่ผ่านมา ที่มีการกล่าวหาซึ่งกันและกัน ระหว่างน.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าพรรคเพื่อไทย และนายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ หัวหน้าพรรคประชาชน ในฐานะหัวหน้าพรรคฝ่ายค้าน
วาทะและคำท้า : เมื่อ ’แพทองธาร’ บีบ ‘พรรคประชาชน‘ เปิดตัวเลือกพันธมิตรการเมือง!
ศึกอภิปรายไม่ไว้วางใจ ‘แพทองธาร ชินวัตร’ นายกรัฐมนตรี ระหว่างวันที่ 24-25 มีนาคมที่ผ่านมา ปิดฉากลงอย่างเป็นทางการ โดยมีระยะเวลาอภิปรายถึง 37 ชั่วโมง และผลการโหวตในเช้าวันที่ 26 มีนาคมไม่ได้พลิกโผแต่อย่างใด
'สุริยะใส' วิเคราะห์ 'เพื่อไทย-ปชน.' พันธมิตรทางอุดมการณ์ ขาดสะบั้นแล้วจริงหรือ?
ดร.สุริยะใส กตะศิลา คณบดีวิทยาลัยผู้นำและนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต โพสต์ข้อความทางเฟซบุ๊กเผยแพร่บทวิเคราะห์ “เพื่อไทย vs พรรคประชาชน: พันธมิตรทางอุดมการณ์