สส.รังสิมันต์ หนุนรายงานนิรโทษกรรม คดีตามมาตรา 112

รังสิมันต์ โรมแฟ้มภาพ

17 ต.ค.2567 - ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่มีนายภราดร ปริศนานันทกุล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง เป็นประธานการประชุม รับทราบรายงานของคณะกรรมาธิการ(กมธ.)วิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการตราพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)นิรโทษกรรม ที่มีนายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ เป็นประธานกมธ. พิจารณาเสร็จแล้ว

เวลา 15.47 น. นายรังสิมันต์ โรม สส.บัญชีรายชื่อพรรคประชาชน ในฐานะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการตราพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) นิรโทษกรรม สภาผู้แทนราษฎร อภิปราย โดยย้ำว่า กรรมาธิการชุดนี้ ไม่ใช่กรรมาธิการที่พิจารณาศึกษา เพื่อแก้ไขหรือยกเลิกประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 แต่เป็นกรรมาธิการที่ศึกษาเรื่องการทำแนวทางการนิรโทษกรรม และรายงานผลการศึกษาฉบับนี้ จะเป็นสารตั้งต้น หัวเชื้อหรือไม่ ขึ้นอยู่กับรัฐบาล

ที่ผ่านมา เราพิจารณารายงานหลากหลายฉบับ แต่ก็ไม่ทราบว่า รัฐบาลมีการนำไปปฏิบัติมากน้อยเพียงใดจากรายงานที่ผ่านจากสภาผู้แทนราษฎร แม้ส่วนตัวอยากให้ผูกพัน ซึ่งหากพูดกันตรงไปตรงมา แต่เมื่อถึงเวลา รัฐบาลจะทำตามข้อแนะนำ ข้อสังเกตต่างๆ ของสภาแห่งนี้มากน้อยแค่ไหนก็อยู่ภายใต้เครื่องหมายคำถาม

นายรังสิมันต์ ชี้แจง ถึงกรณีที่มีการพยายามเชื่อมโยงมาตรา 112 กับมาตรา 6 ของรัฐธรรมนูญ ซึ่งตนคิดว่า มาตรา 6 ของรัฐธรรมนูญนั้น มีสาระสำคัญที่สะท้อนถึงหลักความเป็นกลางของสถาบันพระมหากษัตริย์ต่อระบอบการเมืองการปกครองที่เป็นประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ ซึ่งหลักการนี้ เป็นหลักการพื้นฐานและเป็นหลักการสำคัญของระบอบการเมืองการปกครองที่เป็นประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญของหลายๆ ประเทศ และในประเทศอื่นๆ เหล่านั้น ก็ไม่มีกฎหมายลักษณะนี้แล้ว

ดังนั้น ข้อกล่าวอ้างว่า ประเทศต่างๆ มีกฎหมายลักษณะเดียวกันนี้ เป็นข้อกล่าวอ้างที่ไม่ถูกต้อง และควรถูกพูดในวาระอื่น ไม่ใช่เรื่องการนิรโทษกรรม มากไปกว่านั้น การปล่อยให้มีการใช้กฎหมายลักษณะแบบนี้ ซึ่งทำให้เกิดบรรยากาศทางการเมืองแบบนี้ จุดที่เราอยากพิจารณาในกรรมมาธิการคือ เป็นแนวทางในการนิรโทษกรรม เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาทางการเมือง ซึ่งจะพบว่า คำแนะนำแสดงถึงความกังวลต่อการบังคับใช้กฎหมาย เพราะผลลัพธ์ทางการเมืองหลายอย่างที่ตามมา

นายรังสิมันต์ ย้ำว่า รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของการพยายามหาทางออกทางการเมือง ซึ่งมีข้อเสนอหลายอย่าง และหลายส่วน กรรมาธิการก็ได้ตัดสินใจกำหนดลงไป ขณะที่มาตรา 112 ในความเห็นของกรรมาธิการเอง ยังมีความเห็นที่แตกต่างกัน ตนจึงอยากให้สภาแห่งนี้รับไว้พิจารณา ส่งต่อไปที่คณะรัฐมนตรี เพื่อหาทางออกให้กับบ้านเมืองนี้ ที่มีความขัดแย้งเป็นเวลานาน

สำหรับกรณีที่สมาชิกมองว่า อาจทำเพื่อตนเอง และกรณีการนิรโทษกรรมสุดซอยนั้น นายรังสิมันต์ ระบุว่า ตนไม่เห็นด้วยกับการนิรโทษกรรมสุดซอย เนื่องจากในการพิจารณาขณะนั้น รวมไปถึงเจ้าหน้าที่ และผู้เกี่ยวข้องที่สั่งฆ่าประชาชน ให้ได้รับการนิรโทษกรรมด้วย ดังนั้น การเทียบระหว่างนิรโทษกรรมสุดซอย กับรายงานฉบับนี้ เป็นกรณีที่แตกต่างกัน เพราะในขณะนั้นมีความขัดแย้งทางการเมืองสูงมาก แต่ในวันนี้บรรยากาศทางการเมืองแตกต่างกัน ความขัดแย้งของสองพรรคการเมืองใหญ่ในวันนั้น วันนี้มาอยู่ข้างเดียวกันแล้ว

"เราต้องตั้งต้นว่า เราอยากจะแก้ปัญหาบ้านเมืองโดยใช้กลไกสภาหรือไม่ เนื่องจากต้องยอมรับความเป็นจริงว่า ทุกครั้งที่มีการดำเนินคดีโดยข้อหาในลักษณะแบบนี้ ประเด็น มาตรา 112 ไม่ได้กลายเป็นปัญหาทางสังคมที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์อีกต่อไป และไม่ได้เป็นการวิพากษ์วิจารณ์ในประเทศ คนที่ถูกดำเนินคดี อาจมีเพื่อน มีครอบครัว มีคนที่เขารัก แล้วเขาจะรู้สึกอย่างไรต่อมาตรา 112 และการบังคับใช้กฎหมายในกระบวนการยุติธรรม เพราะความรู้สึกเหล่านี้ ไม่ได้จำกัดอยู่ในประเทศ แต่ความรู้สึกแบบนี้ สะท้อนไปสู่ประชาคมของประเทศอื่นๆ ด้วยเช่นกัน" นายรังสิมันต์ กล่าว

นายรังสิมันต์ ตั้งคำถามว่า เมื่อเกิดปัญหา คิดว่าคนที่ถูกวิพากษ์จารณ์มากที่สุดคือใคร หากบอกว่าต้องการแสดงถึงเจตจำนงในการปกป้องพระมหากษัตริย์ แต่ถ้าท่านต้องการปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ให้เป็นที่เคารพสักการะ วิธีการแบบนี้ เป็นวิธีการที่ไม่มีทางได้ผล และวิธีการนี้ จะทำให้ประเทศที่เรารัก ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรง และปัญหาทางการเมืองที่ยังมีอยู่ก็จะดำเนินอย่างนี้ไปเรื่อยๆ ทำไมกลไกนี้ หรือไม่เปิดประตูบานนี้ เพื่อหาทางออกทางการเมือง"

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'อัจฉริยะ' ยื่นหลักฐานชี้เป้า 'แก๊งคอลเซ็นเตอร์' หลังคนไทยตกตึก 18 ชั้นที่ปอยเปต

นายอัจริยะ เรืองรัตนพงศ์ ประธานช่วยเหลือเหยื่ออาชญากรรม ในฐานะที่ปรึกษากรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทย ยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ สภาผู้แทนราษฎร

'รังสิมันต์' ชี้ต้องสาวเบื้องหลัง เหตุสังหารอดีต สส.ฝ่ายค้านกัมพูชาในกรุงเทพฯ

นายรังสิมันต์ โรม สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน กล่าวถึงกรณีนายลิม กิมยา อดีต สส.ฝ่ายค้าน ประเทศกัมพูชา ถูกยิงเสียชีวิตที่บริเวณเกาะกลางถนน ตรงข้ามวัดบวรนิเวศวิหารเมื่อวันที่ 7 ม.ค.ที่ผ่านมา ว่า การประกบยิงเช่นนี้ เป็นเรื่องอุกอาจ แ

'โรม' จี้รัฐบาลเร่งยกปัญหา 'แก๊งคอลเซ็นเตอร์-ค้ามนุษย์' เป็นวาระแห่งชาติ

นายรังสิมันต์ โรม สส.บัญชีรายชื่อพรรคประชาชน ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทย ยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ สภาผู้แทนราษฎร ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีนายหวัง ซิง หรือ ซิง ซิง

เด็จพี่ ปกป้องทักษิณ อัด โรม เด็กเมื่อวานซืน อย่าดรามาหาแสง

“พร้อมพงศ์” แนะ “โรม”ค้านที่เนื้อหา อย่าดรามาหาแสง โชว์ไร้เดียงสา เหน็บ เป็นเด็กเมื่อวานซืน ไม่เคยมีผลงานด้านบริหาร ลั่นเป็นฝ่ายค้านสอบตกให้สี่เต็ม 10 

‘ลิณธิภรณ์‘ ติง ‘โรม‘ ไม่มีมารยาท

‘ลิณธิภรณ์‘ ติง ‘โรม‘ ไม่มีมารยาท วิจารณ์ ’อันวาร์’ หารือ ’ทักษิณ’ ทปษ.ปธ.อาเซียน เสี่ยงยุแยงสัมพันธ์ไทย-มาเลเซีย เผยอดีตนายกฯ ถูกยกย่องเป็นผู้เชี่ยวชาญ เชื่อนำพาประโยชน์สูงสุด