17 ต.ค.2567 - ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่มีนายภราดร ปริศนานันทกุล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง เป็นประธานการประชุม รับทราบรายงานของคณะกรรมาธิการ(กมธ.)วิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการตราพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)นิรโทษกรรม ที่มีนายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ เป็นประธานกมธ. พิจารณาเสร็จแล้ว
นายนิกร จำนง เลขานุการคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการตราพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) นิรโทษกรรม สภาผู้แทนราษฎร ชี้แจงว่า สำหรับประมวลกฎหมายอาญามาตรา 110 และมาตรา 112 ไม่ได้เป็นคดีหลักและคดีรอง แต่เป็นคดีที่มีความอ่อนไหวทางการเมือง โดยในรายงานก็ยืนยันไว้เช่นกัน
นอกจากนี้ กรรมาธิการไม่ได้มีข้อสรุปว่า จะนิรโทษกรรมหรือไม่นิรโทษกรรมสำหรับผู้กระทำความผิดตามมาตรา 110 และมาตรา 112 เพียงแค่ศึกษาว่า มีข้อดีข้อเสียอย่างไร เนื่องจากยังมีความเห็นต่างอย่างมีนัยยะสำคัญเกี่ยวกับการนิรโทษกรรมหรือไม่นิรโทษกรรมผู้กระทำความผิดตามมาตรา 110 และมาตรา 112
ดังนั้น กรรมาธิการจึงไม่พึงประสงค์ที่จะมีการลงมติว่ากรรมาธิการส่วนใหญ่มีความเห็นอย่างไร เพราะจะถือว่าไม่สามารถสะท้อนความคิดเห็นและความเชื่อของกรรมาธิการได้ แต่ได้เปิดโอกาสให้กรรมาธิการแต่ละคนแสดงความคิดเห็นไว้
นายนิกร กล่าวต่อว่า แนวทางที่เสนอมา จึงแบ่งเป็น 3 แนวทาง คือ 1.เห็นด้วยว่าควรรวมการนิรโทษกรรมความผิดตามมาตรา 110 และมาตรา 112, 2.ไม่เห็นด้วยว่าควรรวมการนิรโทษกรรมความผิดตามมาตรา 110 และมาตรา 112 และ 3.เห็นด้วยว่าควรรวมการนิรโทษกรรมความผิดตามมาตรา 110 และมาตรา 112 แต่ให้มีเงื่อนไข ซึ่งส่วนตัวตนก็ไม่เห็นด้วยที่จะให้มีการนิรโทษกรรมความผิดตามมาตรา 110 และมาตรา 112
นอกจากนี้ ยังมีความเห็นที่ระบุว่าขัดกับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ที่วินิจฉัยว่าประมวลกฎหมายออาญามาตรา 112 เป็นบทบัญญัติในความผิด ซึ่งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญถือว่ามีความผูกพันทุกองค์กร และมีบางฝ่ายมองว่าอาจจะเกิดความขัดแย้ง
"ผมเชื่อว่าหากมีการเสนอร่างกฎหมายเข้ามาแล้วรวมความผิดมาตรา 112 ด้วยนั้น จะไม่ผ่านและถูกร้องว่าขัดรัฐธรรมนูญ แต่อย่างไรก็ตาม ในฐานะกรรมาธิการจากพรรคชาติไทยพัฒนา เรามีความเห็นเป็นมติว่า ไม่เห็นด้วยกับการนิรโทษกรรมมาตรา 112 เช่นเดียวกับหลายพรรคที่ได้ให้ความเห็นไว้ในกรรมาธิการ ย้ำว่า ในข้อสังเกตก็ระบุไว้ชัดว่า มาตรา 110 และมาตรา 112 เป็นประเด็นที่มีความอ่อนไหว และรายงานนี้เป็นเพียงแค่การสรุปความเห็นของสมาชิกเท่านั้น” นายนิกร กล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'ทักษิณ' ยันพรรครัฐบาลไม่แตะ 112 เผยเคยเตือนสติ 'ธนาธร' มาแล้ว!
"ทักษิณ" เผยพรรคร่วมรัฐบาล ลงสัตยาบันไม่แตะ มาตรา 112 โอดตัวเองตกเป็นเหยื่อเพราะถูกหมั่นไส้ เคยคุย "ธนาธร" ขอให้ช่วยกันทำเพื่อบ้านเมือง หากจะแก้กฎหมายควรทำทีละขั้นตอน อย่าไปมุ่งหาเสียง บางทีจุดโฆษณาอันตรายกว่าสิ่งที่ตั้งใจทำ
'กล้าธรรม' ย้ำจุดยืนแก้ รธน.ห้ามแตะหมวด1,2 นิรโทษกรรมไม่รวมคดี112
นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รมว.เกษตรและสหกรณ์ ในฐานะหัวหน้าพรรคกล้าธรรม กล่าวถึงจุดยืนของพรรค ในการแก้รัฐธรรมนูญ (รธน.) ว่า ได้มีการหารื
'นิกร' เสนอถอยคนละก้าว ใช้เกณฑ์เสียงข้างมากชั้นครึ่ง สส.-สว.เห็นต่างประชามติ
นายนิกร จำนง เลขานุการคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ประชามติ (ฉบับที่ … ) พ.ศ. … กล่าวภายหลังการประชุมว่า ที่ประชุมได้ให้ทั้งกมธ. สส.และสว. ได้แสดงความคิดเห็น ซึ่งแต่ละฝ่ายก็ยังยืนเหมือนเดิมเกี่ยวกับผู้ออกมาใช้สิทธิออกเสียง ซึ่งฝ่ายสว.ยังคงยืนยันที่จะใช้เสียงข้างมาก 2 ชั้น
'เทพไท' เรียกร้องนิรโทษกรรมทุกกลุ่ม รวมคดี 112 ด้วย
นายเทพไท เสนพงศ์ อดีตสส.นครศรีธรรมราช โพสต์เฟซบุ๊กเรื่อง "พรบ.นิรโทษกรรม:ปรองดองจริงหรือ?" ระบุว่ากรณีนายนพดล ปัทมะ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย กล่าวถึงการยื่นร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.
'พระเอกพิธา' บอกยื้อ 'นิรโทษฯ-แก้ รธน.' กระทบประชาชนที่โดนลิดรอนสิทธิ!
'พิธา' มองกระบวนการ 'แก้ รธน.-นิรโทษกรรม' ถูกประวิงเวลา' เหตุมัวแต่ศึกษาแล้วศึกษาอีกโดยไม่จำเป็น บอก เป็นห่วงสัญญาที่ 'รัฐบาล' เคยให้ไว้กับ ปชช.
ชทพ.หนุนนิรโทษกรรมแต่ต้องไร้ ม.110-ม.112
'ชาติไทยพัฒนา' หนุน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม แต่ต้องเว้น ม.110 และ 112 เชื่อก้าวข้ามความขัดแย้งได้