สส.จุรินทร์ ไม่เห็นชอบรายงานนิรโทษกรรม ความผิดมาตรา 110 มาตรา 112

แฟ้มภาพ

17 ต.ค.2567 - ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่มีนายภราดร ปริศนานันทกุล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง เป็นประธานการประชุม รับทราบรายงานของคณะกรรมาธิการ(กมธ.)วิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการตราพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)นิรโทษกรรม ที่มีนายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ เป็นประธานกมธ. พิจารณาเสร็จแล้ว

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายว่า หากที่ประชุมสภาฯมีมติเห็นชอบรายงานฉบับนี้แล้วให้ส่งรัฐบาลดำเนินการ พรรคประชาธิปัตย์จะไม่เห็นชอบ ทั้งนี้การนิรโทษกรรมทำได้ในอดีตก็เคยทำกันมา แต่สิ่งที่เราไม่เคยทำมาก่อนและไม่เคยมี คือการนิรโทษกรรมตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 110 และ มาตรา 112 หลายประเทศในโลก เช่น เนเธอร์แลนด์ สเปน เยอรมัน เดนมาร์ค เป็นต้น ก็มีบทคุ้มครององค์ประมุขด้วยกันทั้งสิ้นโดยเฉพาะประเทศไทย สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นเสาหลักสำคัญยิ่งของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ดังที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญมาตรา 6 ตรงนี้ จึงเป็นที่มาว่าตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน ประเทศไทยไม่เคยมีการนิรโทษกรรมความผิดในมาตรา 110 และมาตรา 112

นายจุรินทร์ กล่าวต่อว่า การนิรโทษกรรมถ้าจะมีในอนาคตควรยืนบนหลักการ 5 ข้อ คือ1.ต้องเป็นการนิรโทษกรรมที่นำไปสู่การสร้างความปรองดอง ไม่ใช่การสร้างความขัดแย้งแตกแยก เพราะนั่นคือการนับหนึ่งของการต้องต่อสู้กับแรงเสียดทาน และการนิรโทษกรรมต้องเป็นความเห็นพ้องต้องกันของสังคม เพื่อไม่ให้เกิดความแตกแยกขัดแย้งในอนาคตอีกต่อไป 2.การนิรโทษกรรมถ้าจะมีต้องไม่นิรโทษกรรมเพื่อตัวเอง เพราะถ้าทำเช่นนี้สุดท้ายก็จะไปไม่รอด จะเกิดแรงต้านครั้งใหญ่ และนำไปสู่ความแตกแยกครั้งใหม่เกิดขึ้นอีกดังเช่นที่เราเคยได้รับบทเรียนตอนพยายามจะผลักดันนิรโทษกรรมสุดซอยในอดีต สุดท้ายก็ไปไม่รอด 3.การนิรโทษกรรมต้องไม่เป็นการสร้างแรงจูงใจหรือหัวเชื้อให้เกิดการกระทำผิดซ้ำอีกในอนาคต เพราะถ้าเป็นเช่นนั้นคนจะไม่เกรงกลัวต่อการกระทำความผิด ทำผิดแล้วก็จะได้รับการล้างผิดในที่สุด 4.การตรา พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ถ้าจะมีต้องไม่สุ่มเสี่ยงต่อการกระทำผิดกฏหมาย หรือเป็นการละเมิดรัฐธรรมนูญ หรือแม้แต่คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ที่มีผลผูกพันทุกองค์กร ซึ่งรวมถึงรัฐสภา รัฐบาลและองค์กรอื่นๆ และ5.การนิรโทษกรรมต้องไม่รวมความผิด 3 ฐานสำคัญ คือ ทุจริตคอร์รัปชั่น คดีอาญาร้ายแรง และ มาตรา 110 และมาตรา 112

นายจุรินทร์ กล่าวต่อว่า ภายใต้หลักการ 5 ข้อนี้ ถ้าจะมีการนิรโทษกรรม ตนจึงเห็นว่าควรนิรโทษกรรมเฉพาะความผิดอันเกิดจากแรงจูงใจทางการเมืองทั่วไป เช่น นิรโทษกรรมความผิดตาม พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ พ.ร.บ.ว่าด้วยการจราจร พ.ร.บ.รักษาความสะอาด เป็นต้น และต้องพ่วงหลักการว่าต้องเป็นความเห็นพ้องต้องกันของสังคม เพื่อไม่ให้เกิดแรงเสียดทานนำไปสู่ความแตกแยกขัดแย้งอีกต่อไปในอนาคต ซึ่งเป็นเหตุผลที่ตนและพรรคประชาธิปัตย์ไม่เห็นชอบกับรายงานฉบับนี้ เพราะรวมการนิรโทษกรรมมาตรา 110 และมาตรา 112 ยิ่งข้อสังเกตของรายงานระบุไว้ชัดว่า ครม.คือรัฐบาล ควรพิจารณารายงานของกมธ.ฯ เพื่อนำไปเป็นแนวทางในการตรา พ.ร.บ.นิรโทษกรรมโดยเร็ว ซึ่งก็ต้องรวม 3 แนวทางเอาไว้ และยังต่อท้ายว่าการดำเนินการต้องรายงานให้สภาฯ ทราบว่าได้ทำหรือไม่ทำอย่างไร เพื่อให้สภาฯติดตามความคืบหน้าได้ต่อไป

“ผลจากรายงานและข้อสังเกตของ กมธ.ฯ หากผ่านสภาฯ จะไปเป็นสารตั้งต้นในการออก พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ตามความผิดในมาตรา 110 และมาตรา 112 ได้ และหากสภาฯเห็นชอบกับรายงานฉบับนี้ สภาฯอาจกลายเป็นตราประทับความชอบธรรมในการออก พ.น.บ.นิรโทษกรรม ตามมาตรา 110 และมาตรา 112 ในอนาคตได้ ดังนั้นพรรคประชาธิปัตย์จึงไม่เห็นชอบกับรายงานฉบับนี้”นายจุรินทร์ กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

พรรคประชาชน อัดทั่นประธาน สั่งปิดประชุมกะทันหัน ยื้อร่างรายงานนิรโทษกรรม

สส.พรรคประชาชน นำโดยนายปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล สส.บัญชีรายชื่อ ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน (วิป

'พิเชษฐ์' สั่งปิดประชุมสภาฯกะทันหัน เลื่อนโหวตรายงานกมธ.นิรโทษฯ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังจากที่สส.อภิปรายแสดงความคิดเห็นครบทุกพรรคแล้ว นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาฯคนที่1 ซึ่งทำหน้าที่ประธานการประชุม กล่าวสรุปว่าเนื่องจากรายงานของ

'นิกร' แจง รายงานมี 3 ข้อเสนอ แต่ส่วนตัวไม่เห็นด้วย นิรโทษกรรม ม.110 ม.112

ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่มีนายภราดร ปริศนานันทกุล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง เป็นประธานการประชุม รับทราบรายงานของคณะกรรมาธิการ(กมธ.)วิสามัญ

สภาฯถกรายงานนิรโทษกรรม 'ชูศักดิ์' ย้ำ 112 ประเด็นอ่อนไหว ไม่บังคับ ครม.ดำเนินการ

ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่มีนายภราดร ปริศนานันทกุล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง เป็นประธานการประชุม รับทราบรายงานของคณะกรรมาธิการ(กมธ.)วิสามัญ