ดร.ณัฏฐ์ มือกม.มหาชน ฟันเปรี้ยง 'ประชามติชั้นเดียว' เจอด่านหิน! เป้าแก้รธน.ทั้งฉบับไม่ง่าย

“ดร.ณัฏฐ์” มือกฎหมายมหาชนฟันธง แก้ไข พรบ.ประชามติชั้นเดียว เครื่องมือแก้รัฐธรรมนูญทั้งฉบับ เจอด่านหิน สว.ลากตั้ง ชี้โอกาสยกเครื่องใหม่รัฐธรรมนูญทั้งฉบับไม่ง่ายแล้ว
 
13 ต.ค.2567 - สืบเนื่องจากตามที่ร่างพระราชบัญญัติประชามติ ในการแก้ไขหลักการประชามติชั้นเดียว ไม่ผ่านการพิจารณาของวุฒิสภา ทำให้ร่างดังกล่าวย้อนกลับมาพิจารณาของ สส.อีกครั้ง 
 
ต่อมาวันที่ 9 ต.ค.ที่ผ่านมา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ได้หยิบร่างดังกล่าวมาพิจารณาอีกครั้ง โดยยืนยันหลักการเดิมในร่าง พรบ.ประชามติ โดยมติเห็นชอบ 348 เสียง พรรคภูมิใจไทย งดออกเสียง 65 เสียง ส่งผลต่อนัยยะทางการเมือง อย่างไร เนื่องจากการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับเป็นนโยบายเรือธงที่พรรคเพื่อไทยนำไปหาเสียงไว้นั้น 
 
ล่าสุด ดร.ณัฐวุฒิ วงศ์เนียม หรือ ดร.ณัฎฐ์ นักกฎหมายมหาชน ได้ให้สัมภาษณ์ถึงประเด็นดังกล่าวว่า ก่อนอื่นขอน้อมรำลึกพระกรุณาธิคุณ พระมหากษัตริย์ ในหลวงรัชกาลที่ 9....ตนมองว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่ปัญหาเร่งด่วนของรัฐบาล ควรจะไปแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจปากท้องพี่น้องประชาชนก่อน แม้รัฐธรรมนูญฉบับ 2560 มาจาก คสช.อ้างว่า ไม่เป็นประชาธิปไตย แต่พูดไม่หมดว่า ไม่เป็นประชาธิปไตยในรูปแบบหรือในเนื้อหาอย่างไร เพราะอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ  มาจากการจัดทำประชามติของประชาชน เสียงส่วนใหญ่ของประชาชนที่ใช้อำนาจอธิปไตยในการออกเสียงเห็นด้วย ทั้งยังเห็นด้วยกับคำถามพ่วงท้ายแล้วนำไปปรับแก้รัฐธรรมนูญในบทเฉพาะกาล 
 
ส่วน พรบ.ประชามติ ฉบับล่าสุด เกิดขึ้นในปี 2564 เพื่อเพิ่มความเข้มข้นในการออกเสียงประชามติ เพิ่มองค์ประกอบ “จำนวนกึ่งหนึ่ง” และ “เสียงส่วนใหญ่” ที่เรียกว่า “เสียงข้างมากสองชั้น” แต่รัฐบาลแพทองธาร ต้องการแก้ไขให้เป็น "เสียงข้างมากธรรมดา” เพื่อให้แก้ไขรัฐธรรมทั้งฉบับให้ง่ายขึ้น เพราะระบบสองชั้น หากผู้ออกเสียงมาใช้สิทธิออกเสียงไม่ถึงกึ่งหนึ่ง การรออกเสียงประชามติย่อมเสียไป 
           
ดร.ณัฐวุฒิ กล่าวต่อว่าข้อกฎหมาย เสียงข้างมากสองชั้น ปรากฏตาม พระราชบัญญัติประชามติ พ.ศ.2564 มาตรา 11  บัญญัติว่า “การออกเสียงที่จะถือว่ามีข้อยุติในเรื่องที่จัดทำประชามติ ต้องมีผู้มาใช้สิทธิออกเสียงเกินกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิออกเสียงและมีจำนวนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของผู้มาใช้สิทธิออกเสียงในเรื่องที่ทำประชามตินั้น”
 
วิธีการที่รัฐบางแพทองธาร คุมเสียงข้างมากในสภา จะใช้วิธีการแก้ไขในมาตรานี้และมาตราที่เกี่ยวข้องก่อนแล้ว ต้องบอกก่อนว่า ที่ให้สัมภาษณ์ เป็นการให้ความรู้กฎหมายมหาชนแก่ประชาชน เพราะรัฐธรรมนูญเป็นสิ่งที่ประชาชนหรือผู้ใฝ่รู้ จะได้ติดอาวุธทางปัญญา หากผ่านการแก้ไขตามร่าง พรบ.ประชามติ จะนำเป็นสารตั้งต้นในการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ เพราะการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับจะต้องจัดทำประชามติ สอบถามประชาชนเจ้าของอำนาจอธิปไตยว่า จะเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบในการแก้ไข โดยใช้เสียงข้างมากธรรมดาหรือที่เรียกกันว่า เสียงส่วนใหญ่
 
เมื่อผ่านวาระ 3 จะต้องย้อนกลับมานำร่างที่ผ่านการพิจารณาของสภาร่วม มาสอบถามประชาชนอีกครั้งก่อนทูลเกล้าฯ ขั้นตอน เป็นไปตามรัฐธรรมนูญมาตรา 256 แต่ศาลรัฐธรรมนูญเคยวินิจฉัยไว้เป็นบรรทัดฐาน ว่า จะต้องจัดทำประชามติ ก่อนและหลังผ่านร่าง จะต้องสอบถามประชาชนเจ้าของอำนาจก่อนประกาศใช้
 
นักกฎหมายมหาชน ผู้นี้ระบุว่า ร่าง พรบ.ประชามติ หากไม่ผ่านการพิจารณาของ สว. ในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ร่างกฎหมายดังกล่าวไม่ตกไป  ร่างดังกล่าวย้อนกลับไปที่ สส. เพื่อพิจารณาใหม่ เมื่อผ่านความเห็นชอบจาก สส.แล้ว กระบวนการหลังจากนี้ ต้องตั้งกรรมาธิการ(กมธ.) ร่วมกันทั้ง สส.และ สว.เพื่อพิจารณร่างประชามติและส่งกลับให้ทั้งสองสภาลงมติอีกครั้ง หากสภาใดสภาหนึ่งไม่เห็นชอบกับร่างใหม่ ที่ กมธ.ร่างฯ เสนอร่าง พรบ.ประชามติ จะถูกยับยั้งไว้ เมื่อพ้นกำหนด 180 วัน สส.อาจลงมติยืนยันร่างเดิมที่เคยไม่เห็นชอบหรือร่างใหม่ที่ กมธ..เสนอก็ได้  
 
ดร.ณัฐวุฒิ วิเคราะห์ว่าหากพิจารณาถึงเกมในสภา การเมืองสามก๊ก ฝ่ายอนุรักษ์นิยมและสว.สายสีน้ำเงิน มีจำนวนมากกว่า สว.อิสระ ส่วนในสภา สส. ให้จับข้อสังเกตว่า พรรคภูมิใจไทย งดออกเสียง แม้ครูใหญ่เนวินและนายใหญ่บ้านจันทร์ส่องหล้า จะจูบปากกัน ดังที่ว่าไม่มีมิตรแท้และศัตรูถาวรในทางการเมือง 
 
แต่เมื่อผลประโยชน์ทางการเมืองยังไม่ลงตัว และนโยบายแก้ไขรัฐธรรมนูญ เป็นนโยบายของพรรคเพื่อไทย ฝ่ายรัฐบาลและพรรคประชาชน ฝ่ายค้านที่ทนายธีรยุทธ สุวรรณเกสร นำไปเป็นส่วนหนึ่งในการยื่นคำร้องให้หยุดการล้มล้างการปกครองก็ตาม แต่ด่านหิน ในการแก้ไข ร่าง พรบ.ประชามติ ที่อยู่ สว.ลากตั้ง โอกาสผ่านการพิจารณาของ สว.ยาก 
 
"หากครูใหญ่เนวิน อ่านเกมขาด ยังไม่จำเป็นแก้ไขรัฐธรรมนูญ มองปัญหาปากท้อง แก้ปัญหาเศรษฐกิจ ขณะที่รัฐบาลแพทองธาร ชินวัตร เจอนักร้องเรียนรายวัน ไม่เป็นอันบริหารงาน โดยยังไม่แสดงฝีไม้ลายมือในการบริหารประเทศ
 
ดร.ณัฐวุฒิ กล่าวอีกว่าการปกครองประชาชนโดยประชาชนและเพื่อประชาชน ในการใช้อำนาจอธิปไตยผ่านการจัดทำประชามติในร่างรัฐธรรมนูญ ตามหลักที่ว่า อำนาจสูงสุดเป็นของประชาชน ที่เขียนไว้ในมาตรา 1 แห่งพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยาม(ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2475 ส่วนการจัดทำประชามติ  เป็นการใช้อำนาจประชาธิปไตยโดยตรงจากประชาชนเจ้าของประเทศ และการจัดทำประชามติ เกิดขึ้นครั้งแรก ในรัฐธรรมนูญ 2550 และครั้งที่สอง รัฐธรรมนูญ 2560
 
แต่รัฐธรรมนูญฉบับสนามม้า เป็นรัฐธรรมนูญ ฉบับ 2517 และรัฐธรรมนูญ ฉบับ 2540 เกิดจากการร่างของประชาชน ไม่ใช่คณะรัฐประหาร แต่ไม่ผ่านการจัดทำประชามติของประชาชน หากมองการออกแบบ พรบ.ประชามติ ในมาตรา 11 สร้างหลักเกณฑ์ในการจัดทำประชามติในรูปแบบสองชั้น เพราะในการจัดทำประชามติในหลักการเดิม ประชาชนผู้ออกเสียงจะต้องออกมาใช้สิทธิไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งและชั้นสอง ต้องใช้เสียงส่วนใหญ่ เพื่อให้แก้ไขรัฐธรรมนูญยาก 
 
ดังนั้น แม้ สว.ชุดใหม่ แม้จะมาจากการเลือกแบบพิสดาร แต่ไม่ได้หมายความว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญจะเป็นเรื่องง่าย เพราะเงื่อนไขในการออกเสียงประชามติ ผูกด้วยเงื่อน ถึง 2 ชั้น ใน พรบ.ประชามติ ทำให้เรื่องง่ายและมัดด้วยข้อกฎหมาย ก่อนที่จะไปแก้ไขรัฐธรรมทั้งฉบับ
 
นักกฎหมายมหาชน ระบุว่า ทั้งในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แม้รัฐบาลเสียงข้างมากและพรรคประชาชนฝ่ายค้านเอาด้วย แต่รัฐธรรมนูญมาตรา 256 ในวาระสาม การพิจารณาของสภาร่วม สส.และสว. จะต้องใช้เสียงข้างมาก โดยมี สว.ไม่น้อยหนึ่งในสาม หรือ 67 คน เป็นด่านหิน หากพรรคภูมิใจและ สว.ค่ายสีน้ำเงิน ไม่เอาด้วย ทั้งร่าง พรบ.ประชามติ และร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ จะล้มไม่เป็นท่า นโยบายขายฝันแก้รัฐธรรมนูญของพรรคเพื่อไทยและพรรคประชาชน ไม่ต่างจากที่ว่านำยางพาราไปขายบนดาวอังคาร   

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

รองเลขาฯเพื่อไทย ฟาดกลับ 'ไอซ์ รักชนก' แซะแจกเงินหมื่นช่วงเลือกตั้งนายก อบจ.

น.ส.ลิณธิภรณ์ วริณวัชรโรจน์ สส.บัญชีรายชื่อ และรองเลขาธิการพรรคเพื่อไทย โพสต์ข้อความผ่าน X ว่า ใจเย็นๆ นิดนะคะ รัฐบาลตั้งใจส่งเงินหมื่นกระตุ้นเศรษฐกิจ ถึงมือกลุ่มเป้าหมายให้เร็วที่สุด

ระทึกสุดขีด! 22 พ.ย. ศาลรธน.ลงมติ 'รับ-ไม่รับ' คำร้อง 'ทักษิณ-เพื่อไทย' ล้มล้างการปกครอง

คอนเฟิร์ม ศุกร์นี้ 22 พ.ย. 9 ตุลาการศาลรธน.นัดประชุมวาระพิเศษ หลังงดมาสองรอบ เตรียมนำหนังสือ-ความเห็นอัยการสูงสุด กางบนโต๊ะประชุม ก่อนลุ้นโหวตลงมติ”รับ-ไม่รับคำร้อง”คดีทักษิณ-เพื่อไทย โดนร้องล้มล้างการปกครองฯ

'ไอติม-กมธ.การเมือง' รุดขอความชัดเจนศาลธรน. หวังได้คำตอบปมทำประชามติ 2 ครั้ง

นายพริษฐ์ วัชรสินธุ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคประชาชน ในฐานะประธานกรรมาธิการการเมืองการมีส่วนร่วม สภาผู้แทนราษฎร ให้สัมภาษณ์ก่อนเข้าร่วมหารือกับประธานศาลรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับกระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ว่า อย่างที่เราทราบกันดีว่าการ

บูมเศรษฐกิจ 2 ชาติ ! “อนุทิน” เร่งสร้างสะพานมิตรภาพจันทบุรี-ไพลิน จับมือกัมพูชา กระตุ้นค้าขายชายแดน-ท่องเที่ยว

วันที่ 21 พย. บริเวณสะพานข้ามคลองตะเคียน ด่านผักกาด จุดก่อสร้างสะพานมิตรภาพจันทบุรี-ไพลิน นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย พร้อมคณะผู้บริหาร อาทิ นายอรรษิษฐ์ สัมพัน์รัตน์