ละเอียดยิบ ‘ดร.ณัฏฐ์-นักกม.มหาชน’ ชี้คำร้อง 6 ประเด็นของ ‘ทนายธีรยุทธ’ วืดเป้า!

ดร.ณัฏฐ์ มือกฎหมายมหาชนคนดัง ชี้ พฤติการณ์ล้มล้างการปกครอง จะต้องเป็นมีผลระทบต่อระบอบการปกครองโดยตรงและทำลายสถาบันฯ ส่วน 6 ประเด็นที่ทนายธีรยุทธ ยื่นคำร้อง วืดเป้า

11 ต.ค.2567 -  ที่รัฐสภา  ดร.ณัฐวุฒิ วงศ์เนียม นักกฎหมายมหาชน กล่าวว่า ประเด็นที่ นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อให้ นายทักษิณ ชินวัตรและพรรคเพื่อไทย หยุดใช้สิทธิในการล้มล้างการปกครองระอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 ที่เปิดช่องให้ประชาชนยื่นคำร้องโดยตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญได้

แต่มีเงื่อนไขบังคับก่อน คือ ผู้ร้องซึ่งทราบการกระทำ จะต้องยื่นคำร้องต่ออัยการสูงสุดเพื่อร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำดังกล่าวได้ ในกรณีอัยการสูงสุดมีคำสั่งไม่รับดำเนินการตามที่ร้องขอหรือไม่ดำเนินการภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ยื่นคำร้อง  ผู้ร้องขอจะยื่นคำร้องโดยตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญก็ได้  

ดร.ณัฐวุฒิ อธิบายว่าตนจะอธิบายและให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชนว่า โดยหลัก การยื่นคำร้องโดยตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญโดยประชาชน รัฐธรรมนูญเปิดช่องให้คู่ความตามมาตรา 212 และหากถูกละเมิดสิทธิเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญคุ้มครองไว้ ตามมาตรา 213 มีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญได้โดยตรง หากเห็นว่า การกระทำนั้น ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญตามมาตรา 5 วรรคหนึ่ง

แต่กรณีของนายธีรยุทธ ทนายความ เป็นการใช้เทคนิคยื่นให้อัยการสูงสุด และรอระยะเวลา 15 วัน เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลา ก่อให้เกิดเงื่อนไขเหตุแห่งการฟ้องคดีให้ผู้ร้องยื่นฟ้องโดยตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญ ตรงนี้เพื่อให้เกิดเงื่อนไขอำนาจฟ้องคดีต่อศาลรัฐธรรมนูญได้โดยตรง

ทั้งนี้ในทางปฎิบัติ ระยะเวลา 15 วันที่อัยการสูงสุดจะตั้งคณะทำงานและพิจารณากลั่นกรองให้รอบคอบว่า พฤติการณ์ดังกล่าว เป็นการล้มล้างการปกครองฯ หรือไม่ ระยะเวลา 15 วันนับแต่วันที่ยื่นคำร้อง ถือว่าเป็นระยะเวลากระชั้นชิดเกินไป

ดร.ณัฐวุฒิ กล่าวต่อว่าองค์ประกอบระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ระบอบประชาธิปไตย กับสถาบันพระมหากษัตริย์

ประเด็นที่ นายธีรยุทธ ผู้ร้อง ข้อกล่าวหาว่ามีพฤติการณ์การกระทำที่เป็นการเซาะกร่อนบ่อนทำลายพระเกียรติยศของสถาบันพระมหากษัตริย์ เป็นการทำให้สถาบันฯ สูญเสียสถานะที่จะต้องอยู่เหนือการเมืองหรือดำรงความเป็นกลางทางการเมือง ย่อมเป็นการเซาะกร่อนบ่อนทำลายสถาบันฯ เป็นเหตุให้ชำรุด ทรุดโทรม เสื่อมทราม หรืออ่อนแอลง

และลักษณะที่สอง มีการกระทำอันมีเจตนาเซาะกร่อนบ่อนทำลายระบบพรรคการเมืองที่เป็นสถาบันทางการเมืองที่มีความสำคัญของระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ให้ชำรุด ทรุดโทรม เสื่อมทราม หรืออ่อนแอลง  

หากพิจารณาถึงเหตุในการยื่นคำร้อง 6 ประเด็น ค้อนข้างมีน้ำหนักน้อย และไม่เข้าเป้า แตกต่างจากคดีนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ กับพรรคก้าวไกล ข้อกล่าวหารณรงค์หาเสียงแก้ไข มาตรา 112 ข้อเท็จจริงนั้น ชัดเจนมากกว่า เพราะกระทบต่อสถาบันพระมหากษัตริย์โดยโตรง

เพราะศาลรัฐธรรมนูญเคยวินิจฉัยในคดีที่แกนนำม็อบสามนิ้ว ปราศรัยที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตรงกันกับคำวินิจฉัยที่ 3/2567 ว่ามีพฤติการณ์ เซาะกร่อนบ่อนทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์ ฯลฯ

ดร.ณัฐวุฒิ ชี้ว่าใน 6 ประเด็นที่นายธีรยุทธ ร้องนั้น ตนมีความเห็นแตกต่างทางวิชาการ ควรจะร้องไปที่ กกต.ไต่สวนว่าเข้าเกณฑ์ยุบพรรคเพื่อไทยหรือไม่ แต่อาศัยช่องทางเดิมโดยนำคดีขึ้นสู่ศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อเป็นสารตั้งต้นในการยุบพรรคเพื่อไทย ตาามพรป.พรรคการเมือง มาตรา 92 โมเดลเดียวกับการจัดการนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์และพรรคก้าวไกล นำไปสู่ยุบพรรคก้าวไกลในที่สุด

นักกฎหมายมหาชนผู้นี้ กล่าวว่าหากพิจารณพฤติการณ์ยื่นคำร้องที่นำมาเปิดเผยแก่สื่อมวลชน เหมือนลักษณะฝ่ายผู้ร้องและผู้สนับสนุน เสียทรง เพราะถูกถีบไปเป็นฝ่ายค้านและถูกยึดโควต้ารัฐมนตรีหรือไม่อย่างไร เลยใช้ช่องกฎหมายนี้ จัดการกับนายทักษิณ และพรรคเพื่อไทย เหมือนกับจองกฐิน

ทั้งนี้เมื่อพิจารณาจาก เลขาธิการพรรค บางพรรค แจ้งกำหนดการข่าว 7 โมงเช้า วันที่ 10 เดือน 10  สารตั้งต้นและล่มสลายของพรรครัฐบาลผสม หากไม่เชื่อมโยงกัน จะรู้ได้อย่างไร หากพิจารณาจากคำร้องพูดตรงๆ เป็นลักษณะเหวี่ยงแห กว้างเกินไป ไม่เข้าหลักเกณฑ์ล้มล้างการปกครองฯแต่อย่างไร  

ดร.ณัฐวุฒิ กล่าวว่าหากพิจารณาประเด็นที่ 1  การสั่งการระหว่าง นายทักษิณกับพรรคเพื่อไทย ซึ่งเป็นนิติบุคคล เป็นเรื่องพิสูจน์ยาก ส่วนการย้ายที่คุมขังเพราะเหตุป่วย เป็นดุลพินิจของอธิบดีกรมราชทัณฑ์และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ว่าจะไปคุมขังนักโทษรักษาตัวในบริเวณใด ควรจะไปรักษา สถานที่ใด

ซึ่ง พรบ.ราชทัณฑ์ ได้กำหนดหลักเกณฑ์ไว้แล้ว ไปยุ่งเกี่ยวกับหน่วยงานเขาไม่ได้ ทำไมไม่ไปแก้ไขกฎหมายว่า หากรักษาตัวโรงพยบาลให้ระยะเวลาคุมขังสะดุดหยุดอยู่ แล้วไปกระทบต่อระบอบการปกครองตรงไหนหรือสถาบันกษัตริย์อย่างไร  เซาะกร่อน บ่อนทำลายต้องกระทบสถาบันโดยตรง เช่น ลดพระเกียรติสถาบันพระมหากษัตริย์ อย่างไร  

 ดร.ณัฐวุฒิ กล่าวอีกว่าส่วนกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ คำวินิจฉัยในองค์กรไม่ผูกพันหน่วยงานใดของรัฐ หากเห็นว่า เป็นการปฏิบัติหน้าที่มิชอบ เป็นเรื่องกระทำความผิดอาญา เป็นเพียงคำวินิจฉัยในองค์กร ไม่ใช่คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ จึงไม่ผูกพันทุกองค์กรตามมาตรา 211 วรรคสี่

ส่วนประเด็นที่ 2 อ้างถึง ความสัมพันธ์ส่วนตัวกับอดีตผู้นำกัมพูชาและไปโยงพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล ตรงนี้คงไม่เกี่ยวข้องกับระบอบการปกครองฯและกระทบสถาบันพระมหากษัตริย์แต่อย่างไรเพราะดินแดน เป็นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ต้องใช้ความละเอียดอ่อน เป็นการชักศึกเข้าบ้าน หากพิจารณาตามรัฐธรรมนูญจะต้องเป็นความเห็นชอบจากรัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 178 วรรคสอง

นักกฎหมายมหาชน กล่าวต่อว่าส่วนประเด็นที่ 3 การแก้ไขรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มาตรา 256 บัญญัติให้แก้ไขได้ หากปฎิบัติตามหลักเกณฑ์ตามรัฐธรรมนูญและผ่านการจัดทำประชามติ เป็นกลไกกลรัฐสภา  เป็นอำนาจหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติโดยตรง สามารถแก้ไขได้ ไม่ว่าเป็นฝ่ายรัฐบาลหรือฝ่ายค้าน หากแก้ไขทั้งฉบับ ศาลรัฐธรรมนูญเคยวินิจฉัยไว้ ให้จัดทำประชามติ 2 ครั้ง ว่าจะเห็นชอบหรือไม่ชอบ

ประเด็นที่ 4 การเข้าไปบ้านจันทร์ส่องหล้าอาจไม่เหมาะสมเพราะนายทักษิณ ยังมีสถานะเป็นนักโทษที่ได้รับการพักโทษ แต่ไม่มีผลอะไร การเลือกนายกรัฐมนตรี หัวหน้าฝ่ายบริหาร เป็นหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติ แต่ไม่มีผลกระทบต่อระบอบการปกครองหรือกระทบต่อสถาบันพระมหากษัตริย์แต่อย่างไร

ส่วนประเด็นที่ 5  ที่ว่าพฤติการณ์เป็นเจ้าของ ผู้ครอบครอง ผู้ครอบงำ และเป็นผู้สั่งการให้พรรคเพื่อไทยมีมติขับพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ออกจากพรรคร่วมรัฐบาล ในมิติ ฝ่ายบริหาร จะจับขั้วกับพรรคการเมืองใด จะต้องพิจารณาถึงจำนวนเสียงและโควตารัฐมนตรี ใช้ระบบต่อรอง ที่เรียกว่า ผลประโยชน์ทางการเมือง พรรคการเมืองใดจะร่วมเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลผสม ย่อมเป็นไปมติของพรรคการเมืองนั้น เป็นไปตามพระราชบัญญัติพรรคการเมือง แล้วมีผลกระทบต่อระบอบการปกครองแบบไหนอย่างไร และกระทบต่อสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างไร เพราะประเพณีการปกกครองในระบบรัฐสภา เป็นแบบนี้ มาตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475

ดร.ณัฐวุฒิ กล่าวอีกว่าประเด็นที่ 6 มีพฤติการณ์เป็นเจ้าของ ผู้ครอบครอง ผู้ครอบงำ และเป็นผู้สั่งการให้ผู้ถูกร้องที่ 2 ซึ่งเป็นพรรคแกนนำรัฐบาล ให้นำนโยบายของผู้ถูกร้องที่ 1 ซึ่งแสดงวิสัยทัศน์ไว้เมื่อ 22 ส.ค. ไปดำเนินการให้เป็นนโยบายคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่แถลงต่อรัฐสภาเมื่อ 12 ก.ย.นั้น

ตนมองว่าในประเด็นนี้ ยิ่งไปกันใหญ่ เพราะการแถลงนโยบายรัฐบาล กรณีรัฐบาลผสม จะต้องนำนโยบายมาผสมผสานกัน เป็นไปตามมาตรา 162 แห่งรัฐธรรมนูญ การนำคำพูดของนายทักษิณ มาเป็นนโยบาย ต้องไปดูว่าตรงกับนโยบายที่หาเสียงเพื่อสร้างคะแนนนิยมหรือไม่ เป็นอำนาจของกกต.ไปควบคุมจัดการ  

ทั้งนี้ส่วนในคำขอที่ให้เลิกการกระทำ เป็นไปตามรัฐธรรมนูญมาตรา 49 ทุกประการ

“ที่ตนออกมาพูดเพราะให้ความรู้กฎหมายมหาชนแก่ประชาชนแง่มุมหนึ่ง ไม่ได้เข้าข้างบุคคลใด เพราะไม่รู้จักทั้งสองฝ่าย แต่อยากดึงสติให้ประชาชนผู้ฝักใฝ่ในความรู้รัฐธรรมนูญว่า คำว่าล้มล้างการปกครอง มีขอบเขตเพียงใด และระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทย มีองค์ประกอบอะไรบ้าง

ส่วนศาลรัฐธรรมนูญจะรับไว้พิจารณาหรือไม่ เป็นดุลพินิจขององค์คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ แต่ที่ผ่านมาตนออกมาให้ความเห็นตามหลักวิชาการ ไม่เคยผิดพลาด  เป็นการให้ความรู้แก่ประชาชนและถูกใจคอการเมือง” ดร.ณัฐวุฒิ กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'วิสุทธิ์' เผยฝ่ายกฎหมายเพื่อไทย ร่างคําฟ้องเช็กบิล 'ธีรยุทธ' แล้ว

นายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวถึงความคืบหน้าการฟ้องร้องผู้ยื่นคําร้องกล่าวหาว่าพรรคเพื่อไทยล้มล้างการปกครอง ว่า ตนได้คุยกับนายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

'วรชัย' ชี้ 'ยิ่งลักษณ์' ไม่ได้รับความเป็นธรรม บอกกลับไทยตามกระบวนการไม่มีสิทธิพิเศษ

นายวรชัย เหมะ อดีตสส.สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย ให้สัมภาษณ์ กรณีนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ออกมาบอกว่าน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

กกต. มั่นใจเลือกตั้ง นายกอบจ.อุดรธานี แข่งขันสูงไม่ใช่ปัญหา

นายแสวง บุญมี เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง ให้สัมภาษณ์ระหว่างไปตรวจเยี่ยมการรับมอบวัสดุอุปกรณ์ เพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดการเ

เลขาฯกกต.ยันคดี 'ทักษิณ-เพื่อไทย' ล้มล้างปกครองฯ ที่ศาลรธน.ยกคำร้องไม่เกี่ยว กกต.

นายแสวง บุญมี เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)​ ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญไม่รับคำร้อง ข้อกล่าวหาว่า นายทักษิณ ชินวัตร และพรรคเพื่อไทย ล้มล้างการปกครอง ว่า ศาล

สส.ธนกร ฝาก 'กกต.' เข้มเลือกตั้งนายกอบจ.โปร่งใส ไร้ซื้อเสียง

นายธนกร วังบุญคงชนะ รองหัวหน้าพรรคและสส.บัญชีรายชื่อพรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) กล่าวว่า ในช่วงสุดสัปดาห์นี้จะมีการเลือก