1 ต.ค.2567- ที่รัฐสภา นายพริษฐ์ วัชรสินธุ สส. บัญชีรายชื่อ และโฆษกพรรคประชาชน(ปชน.) ให้สัมภาษณ์กรณีที่นายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีมีแนวคิดตั้งคณะทำงานหารือแก้รัฐธรรมนูญรวมถึงจะเชิญแกนนำทุกพรรคการเมือง หารือด้วยหลังสว. หักมติสส. ในร่างพ.ร.บ. ประชามติว่า ขั้นตอนต่อไปจะส่งกลับมายังสภาผู้แทนราษฎร เพื่อตั้งคณะกรรมาธิการร่วม 2 สภา แต่ถ้าดูแล้ว 2 สภามีความเห็นแตกต่างกัน ทางสภาผู้แทนราษฎรมีสิทธิ์ที่จะยืนยันร่างเดิมของตัวเองได้ แต่หากใช้สิทธิ์ดังกล่าวจะต้องใช้เวลาอย่างน้อย 6เดือน รัฐบาลจะกระทบต่อการจัดทำรัฐธรรมนูญตามที่รัฐบาลเคยวางแผนไว้ เกี่ยวกับการทำประชามติ ซึ่งจะทำให้การทำประชามติครั้งแรกจาก 3 ครั้งไม่สามารถทำได้ในการเลือกตั้งท้องถิ่นเดือนกุมภาพันธ์ 2568 และเป็นไปได้สูงมากๆ ที่จะไม่มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยส.ส.ร. บังคับใช้ได้ทันในการเลือกตั้งทั่วไป ปี2570 ตามที่รัฐบาลสัญญาไว้
นายพริษฐ์ กล่าวอีกว่าตนและพรรคประชาชนมองว่า จะเดินได้อย่างไร ซึ่งมี 2 โจทย์สำคัญคือ 1. หนทางเป็นไปได้มากที่สุดที่จะทำให้มีโอกาสมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ บังคับใช้ไม่ทัน ในการเลือกตั้งปี 70 คือการที่จะพยายามลดจำนวนประชามติจาก3ครั้งเป็น 2 ครั้ง ถ้าเป็นเช่นนั้นได้ประธานรัฐสภา จะต้องบรรจุร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวกับส.ส.ร. ซึ่งตอนนี้มีทั้งร่างของพรรคก้าวไกลในอดีตและพรรคเพื่อไทย ที่ทางสภายังไม่บรรจุเข้าสู่ระเบียบวาระการประชุม ดังนั้นหากประธานรัฐสภา บรรจุเข้าสู่ระเบียบวาระสามารถเดินก็จะสามารถเดินได้ตามโรดแมป ที่ลดการทำประชามติจาก 3 ครั้งเป็น 2 ครั้งได้ แต่ส่วนตัวก็เข้าใจว่าประธานรัฐสภากังวลว่าการบรรจุจะขัดกับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ จึงขึ้นอยู่ที่ประธานรัฐสภาจะทบทวน เพราะเห็นว่าการบรรจุร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ไม่ได้ขัดต่อคำวินิจฉัยของศาลเลย และ2. ให้รัฐสภา เดินหน้า แก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตราคู่ขนาน กับการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ มาตราไหนที่เป็นปัญหาให้เดินหน้าแก้ไขต่อ ซึ่งล่าสุดพรรคประชาชน เตรียม ยื่นแก้ 7 แพ็คเกจ ตามที่ได้แถลงข่าวไว้
“2 ส่วนสำคัญนี้ เป็นสิ่งที่พรรคประชาชนจะนำไปสื่อสารต่อสาธารณะ และนำไปหารือกับพรรคการเมืองอื่นด้วย” นายพริษฐ์ กล่าว
เมื่อถามถึงแนวคิดในการตั้งคณะทำงานเพื่อหารือแก้ไขรัฐธรรมนูญ ของนายชูศักดิ์นั้นนายพริษฐ์ กล่าวว่ายังไม่เห็นรายละเอียดของคณะทำงาน แต่เห็นว่าควรหาข้อสรุปโดยเร็ว และการพูดคุยกัน เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์อยู่แล้ว ซึ่งจุดยืนของตนและพรรคประชาชน เราชัดเจนมาตลอด ซึ่งจะสามารถนำไปหารือกับพรรคการเมืองอื่นได้ไม่ได้เป็นปัญหาอะไร เพียงแต่ไม่อยากให้กรอบเวลาตรงนี้นานเกินไป เพราะถ้าไม่รีบหาทางออก โอกาสที่จะมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ทันการเลือกตั้งก็จะริบหรี่ลง
ถามกรณีที่สว.หักมติ สส. ประเมินได้หรือไม่ว่าโอกาสในการแก้รัฐธรรมนูญเพื่อตั้งส.ส.ร. จะสำเร็จหรือไม่ นายพริษฐ์ กล่าวว่า ถ้าการแก้ไขเป็นรายมาตราและการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ปฏิเสธไม่ได้ว่าสว.มีบทบาทสำคัญ เพราะรัฐธรรมนูญปี 2560 เขียนเอาไว้ว่าถ้าจะปลดล็อคมีส.ส.ร. จัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือรายมาตราไม่สามารถผ่านไปได้ หากไม่ได้เสียงเห็นชอบ 1 ใน 3 ของสว.
ต่อข้อถามถึงเสียง167 ของ สว.ที่ผ่านวาระ3 ร่างพ.ร.บ.ประชามติของสว.ถือว่าเกิน1ใน3 มองดูแล้วเป็นสว. ที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่ามีพรรคการเมืองอยู่เบื้องหลังจะเป็นอุปสรรคในการแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือไม่ นายพริษฐ์ กล่าวว่า ถ้า 167 เสียงที่โหวตกลับลำร่างพ.ร.บ. ประชามติ ตัดสินใจที่จะขวางการแก้ไขรัฐธรรมนูญในทุกเรื่อง ในเชิงสถิติตัวเลข จะทำให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญมีอุปสรรคแน่นอน แต่เราก็มีความหวังว่า จะได้รับความเห็นชอบจาก สว. ในจำนวนที่เพียงพอเพื่อให้การดำเนินการ สามารถไปต่อได้ แม้ว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญจะมีความแตกต่างในรายละเอียด แต่พรรคการเมืองในซีกรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นพรรคเพื่อไทยและหัวหน้าพรรคภูมิใจไทยที่ออกมาย้ำหลายครั้งว่าเห็นด้วย กับการที่จะมีส.ส.ร. เพื่อจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จึงหวังว่าผนึกกำลัง ระหว่างฝ่ายค้านและรัฐบาลเพื่อให้มีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เกิดขึ้นได้จริง และทำให้มีเสียงมากเพียงพอจากสว.
นายพริษฐ์ ยังกล่าวว่าในสัปดาห์นี้สภาผู้แทนราษฎรมีร่างกฎหมายสำคัญค้างการลงมติ คือร่างพ.ร.บ. สุราก้าวหน้า ซึ่งหวังว่า สภาจะรับหลักการทุกร่าง และนำข้อแตกต่างในรายละเอียดบางประการไปถกเถียงในชั้นกรรมาธิการต่อไป นอกจากนี้ยังจะมีการพิจารณาร่างพ.ร.บ. แข่งขันทางการค้า ที่พรรคก้าวไกลเคยเสนอ และมีร่างของ พรรครวมไทยสร้างชาติยื่นประกบเข้ามา ซึ่งมีหลายเรื่องที่สอดคล้องกัน จึงหวังจะเป็นกฎหมายอีก 1 ฉบับที่ฝ่ายค้านและรัฐบาลร่วมกันผลักดัน เพื่อปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจ ป้องกันการผูกขาดและมีการแข่งขัน อย่างเสรีมากขึ้น เพราะเมื่อใดที่เศรษฐกิจมีการผูกขาดประชาชนจะได้รับผลกระทบ.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'พท.' เดินหน้าดันร่างแก้ รธน. ไม่แตะหมวดพระมหากษัตริย์
'วิสุทธิ์' เผย 7 ม.ค.นี้ เตรียมขอมติ 'สส.พท.' ชงร่างแก้ รธน. ย้ำสาระสำคัญ ไม่แก้หมวด1-2 ประเมินหากทำแบบสุดโต่ง อาจเกิดขัดแย้งรอบใหม่
สมชาย เตือนท่านผู้ทรงเกียรติ แก้ รธน. ต้องถามประชาชนก่อน ระวังถูกสอยยกสภา
นายสมชาย แสวงการ อดีตสมาชิกวุฒิสภา (สว.) โพสต์ข้อความพร้อมเอกสารคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ
'สว.พันธุ์ใหม่' พร้อมโหวตแก้รธน. มาตรา 256 หักอำนาจวุฒิสภา เพื่อให้เป็นประชาธิปไตย
น.ส.นันทนา นันทวโรภาส สมาชิกวุฒิสภา (สว.) ให้สัมภาษณ์ถึงจุดยืนของกลุ่ม สว.พันธุ์ใหม่ ต่อร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 ของนายพริษฐ์ วัชรสินธุ์ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน ที่จะเข้าสู่การพิจารณาของสภากลางเดือนมกราคมนี้
'จุรินทร์' ยึดหลัก 4 ข้อ โหวตแก้รธน. เชื่อ สว. ลงมติมีเหตุผลอยู่แล้ว
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ สส. บัญชีรายชื่อ อดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงอุปสรรคในการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ประธานรัฐสภา จะบรรจุเข้าสู่ระเบียบวาระการประชุมร่วมรัฐสภา
มท.1 แจงเรื่องปกติปลัดอำเภอตามบุคคลสำคัญ ปลอบปชน.'อย่ากังวล ถ้ามั่นใจความนิยมดี'
มท.1 ชี้ปมปลัดอ.ป่าซางไลน์หลุด 'อย่ากังวลเลย ถ้ามั่นใจความนิยมดี' ไม่มีอะไรที่จะทำให้เกิดอุปสรรค พร้อมสั่งตรวจสอบ7วัน หลังส่องปชน.หาเสียง ยันเป็นเรื่องปกติติดตามบุคคลสำคัญ
มท.สั่งตรวจสอบข่าวนายอำเภอสั่งกำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน ติดตามการหาเสียงปชน.ย้ำต้องวางตัวเป็นกลาง
โฆษก มท. เผยมหาดไทยย้ำเจ้าหน้าที่ในสังกัดทุกระดับวางตัวเป็นกลางเลือกตั้งท้องถิ่น ปฏิบัติตามระเบียบราชการว่าด้วยมารยาททางการเมืองของข้าราชการ มอบผู้ตรวจฯสแกนเข้มการทำงาน พร้อมตรวจสอบข่าวอำเภอสั่งกำนัน ผู้ใหญ่บ้านติดตามการหาเสียงของพรรคการเมือง