แก้รธน.ส่อสะดุด 'บิ๊กสภาสูง' หนุนประชามติออกเสียงสองชั้น เทกระจาดร่างเดิม  

แฟ้มภาพ

แก้รธน.ส่อสะดุด “บิ๊กสภาสูง” หนุนกม.ประชามติ ต้องกลับไปใช้หลักออกเสียงสองชั้น Double Majority  ไม่เอาร่างเดิมของสภาฯ ยันไม่หวั่นโดนวิจารณ์สว.ยื้อแก้ไขรธน. ปัดข่าวลือ ให้กมธ.ถอนร่างออกไป ส่อแววตั้งกมธ.สองสภาฯ ทำไทม์ไลน์ รื้อทั้งฉบับสะดุด

29 ก.ย.2567 – ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วุฒิสภาจะมีการประชุมกันวันจันทร์ที่ 30 ก.ย.นี้ โดยมีวาระสำคัญ ที่หลายคนจับตามองคือการพิจารณารายงานของ คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพ.ร.บ. ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ..ฯ วาระสองและวาระสาม ที่จะเป็นกฎหมายสำคัญที่นำไปสู่การทำประชามติแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งหากกระบวนการพิจารณาร่างพ.ร.บ.ออกเสียงประชามติล่าช้า ก็อาจทำให้ไทม์ไลน์การทำประชามติแก้ไขรธน.และการร่างรธน.ใหม่ทั้งฉบับตามโรดแมปของรัฐบาลเพื่อไทย อาจมีปัญหาล่าช้าสะดุดลง

ท่าทีจากสว. ทาง พลเอกสวัสดิ์ ทัศนา สมาชิกวุฒิสภา(สว.)และประธานคณะกรรมาธิการทหาร และความมั่นคงแห่งรัฐ และวิปวุฒิสภา กล่าวว่า ความเห็นส่วนตัว ไม่เห็นด้วยกับร่างพ.ร.บ.ออกเสียงประชามติ ที่ส่งมาจากสภาฯ ด้วยเหตุผลว่า  การที่จะทำประชามติโดยเฉพาะในเรื่องสำคัญๆเรื่องใหญ่ของประเทศ เช่น การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ควรจะต้องมีเรื่องของเกณฑ์ขั้นต่ำของผู้มาออกเสียงด้วยคือควรกำหนดไว้ว่าต้องมีคนมาออกเสียงประชามติไม่น้อยกว่า กึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิออกเสียงประชามติ ซึ่งในร่างฯ ที่ผ่านมาจากสภาฯ ส่งมาที่วุฒิสภาตอนพิจารณาวาระแรกขั้นรับหลักการไม่มีกำหนดไว้  ทำให้ไม่เห็นด้วยกับร่างที่ส่งมา

พลเอกสวัสดิ์ กล่าวว่า สาเหตุที่ไม่เห็นด้วยเพราะ เช่น  หากมีผู้มีสิทธิออกเสียงประชามติ 50 ล้านคน แล้วมีการทำประชามติเรื่องสำคัญ ถ้ามีคนมาออกเสียงแค่ 1 ล้านคน แล้วปรากฏว่า เสียงเห็นชอบหัวข้อการทำประชามติ มีคนเห็นชอบ ห้าแสนหนึ่งคน ก็ถือว่าเรื่องนั้น ผ่านประชามติแล้ว ผมว่ามันยังไม่ใช่ โดยเฉพาะหากนำไปใช้กับการออกเสียงประชามติเรื่องใหญ่ที่สำคัญกับประเทศ

“ขนาดการเลือกตั้งท้องถิ่น ยังมีหลักเลยว่า  หากมีผู้สมัครเลือกตั้งแค่คนเดียว คนที่สมัครจะได้รับเลือกตั้งต้องได้รับคะแนนมากกว่าร้อยละ 10 ของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด และต้องมีคะแนนที่มากกว่าคะแนนที่ไม่เลือกผู้สมัครใด(โนโหวต) ดังนั้น การออกเสียงประชามติ กฎหมายสำคัญอย่างรัฐธรรมนูญ ถ้าไม่มีเกณฑ์ขั้นต่ำ มันไม่น่าจะถูกต้อง แต่ทั้งหมด ก็รอฟังการอภิปรายกัน แล้วสว.ก็จะชั่งน้ำหนักกันว่า หลักไหนเป็นประโยชน์กับประเทศชาติ อันไหนมีความปลอดภัยกว่ากัน โดยสว.ส่วนใหญ่ ก็คงรอฟังคำชี้แจงจากคณะกรรมาธิการฯ ทั้งกรรมาธิการเสียงข้างมากและกมธ.เสียงข้างน้อยจันทร์นี้” พลเอกสวัสดิ์ กล่าว  

เมื่อถามถึงกระแสข่าวว่า อาจจะมีสว.เสนอให้คณะกรรมาธิการฯ นำร่างพ.ร.บ.ออกเสียงประชามติ กลับไปทบทวนแล้วเสนอกลับมาอีกครั้งหากยังมีความเห็นแตกต่างเรื่องจำนวนคนที่มาออกเสียงประชามติ ที่คณะกรรมาธิการฯ เสียงข้างมาก ไปแก้ไขจากร่างเดิมของสภาฯ พลเอกสวัสดิ์ กล่าวว่า ยังไม่ทราบข่าวดังกล่าว แต่คิดว่าไม่น่าจะเป็นไปได้ เพราะกมธ.ฯ ได้พิจารณาอย่างดีรอบคอบแล้ว การที่จะให้ไปถอนร่างออกไปก่อน คงไม่ใช่   โดยหากกมธ.เสียงข้างมาก ที่ไปแก้ไขโดยให้กลับไปใช้หลักออกเสียงสองชั้น ถ้ากมธ.ชี้แจงได้ดี สว.ก็อาจออกเสียงสนับสนุน  

เมื่อถามว่า เกรงหรือไม่ว่า หากวุฒิสภา เห็นชอบในการให้กลับไปใช้หลักออกเสียงสองชั้น ที่เป็นการแก้ไขหลักการสำคัญของร่างพ.ร.บ.ออกเสียงประชามติ ทำให้เมื่อส่งกลับไปสภาฯ แล้ว ทางสภาฯ อาจไม่เห็นด้วย และทำให้ต้องตั้งกรรมาธิการร่วมสองสภาฯ จนทำให้การแก้ไขรธน.ล่าช้า ทำให้สว.อาจถูกมองว่า ทำให้การแก้ไขรธน.ล่าช้าไม่สำเร็จ พลเอกสวัสดิ์ กล่าวตอบว่า ตรงนี้เราต้องยึดหลักของประเทศชาติและประชาชนเป็นใหญ่ ไม่ใช่ไปกลัวว่า ใครจะมาว่าสว.คงไม่ได้ เพราะเราได้อ่านได้ฟังความเห็นแล้วว่าอะไรควรไม่ควร จนออกความเห็น ตัดสินใจได้ เพื่อให้ประเทศชาติได้สิ่งที่ดีที่สุด

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หากที่ประชุมวุฒิสภา เห็นชอบด้วยร่างของกมธ.วิสามัญพิจารณาร่างพ.ร.บ.ออกเสียงประชามติ โดยเฉพาะที่ คณะกมธ. ได้แก้ไขเพิ่มเติมจากที่สภาฯให้ความเห็นชอบ 1 มาตรา คือมาตรา 7 ว่าด้วยเกณฑ์การผ่านประชามติ เฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ โดยกลับมาใช้แบบ double majority จากนั้น วุฒิสภา ก็จะส่งร่างกลับไปให้สภาฯ ซึ่งหากสภาฯ ไม่เห็นด้วย เพราะเห็นว่าวุฒิสภาไปแก้ไขสาระสำคัญของร่างพ.ร.บ.ออกเสียงประชามติ ก็จะทำให้ต้องมีการตั้งคณะกรรมาธิการร่วมสองสภาฯ คือสส.กับสว. ต่อไป ที่จะทำให้การพิจารณาร่างพ.ร.บ.อออกเสียงประชามติ ต้องล่าช้าออกไป แต่หากสภาฯ เห็นชอบด้วยกับการแก้ไข ร่างดังกล่าวของสว. ก็เหลือแค่ขั้นตอนนำร่างฯ เตรียมขึ้นทูลเกล้าฯ

อย่างไรก็ตาม การเสนอแก้ไขพ.ร.บ.ออกเสียงประชามติดังกล่าว ของสภาฯ ทั้งที่กฎหมายออกเสียงประชามติ ยังไม่เคยถูกใช้แม้แต่ครั้งเดียว ก็เพราะพรรคร่วมรัฐบาลและฝ่ายค้าน ต่างต้องการปลดล็อกเรื่อง การออกเสียงประชามติสองชั้น ทำให้คาดว่า ทางสภาฯ คงไม่ยอม และอาจต้องตั้งกมธ.ร่วมสองสภาฯ ต่อไป. 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'วันนอร์' ลุยถกแก้รธน. 14-15 ม.ค. ถือเป็นข่าวดีปีใหม่ หวังทันเลือกตั้งปี 70

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา กล่าวถึงการพิจารณาร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ว่า ได้คุยกับวิป 3 ฝ่ายไปแล้วว่าเรามีร่างรัฐธรรมนูญที่แก้รายมาตรา 17 ฉบับ และยังมีร่างที่แก้ทั้งฉบับของพรรคประชาชน(ปชน.)

'วิชิต' เดือด! ฟ้องอาญา-แพ่ง 'ธนดล' ปมไร่ภูนับดาว

'วิชิต' ฉุนด่าเนรคุณ เปรียบเหมือนสุนัขเลี้ยงไม่เชื่อง จ่อฟ้องอาญา-แพ่ง 'ธนดล' หมิ่นประมาทใส่ร้าย ยันเสี่ย 'ไร่ภูนับดาว' เป็นเกษตรกรจริง

‘ณัฐวุฒิ’ ย้ำ ‘เพื่อไทย-พรรคส้ม ’ อยู่ก๊กเดียวกัน ชี้ ภท. ก๊กอนุรักษ์นิยมขวางแก้รธน.

นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี โพสต์เฟซบุ๊ก ว่าผลการลงมติร่างพ.ร.บ.ประชามติ คืออีกรูปธรรมหนึ่งของก

ขวากหนามแก้รัฐธรรมนูญ คนกันเอง...เล่นเกมต่อรอง

เมื่อวันที่ 18 ธ.ค.ที่ผ่านมา ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรมีมติไม่เห็นชอบกับ ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ฉบับคณะ กมธ.ร่วมกันพิจารณาเสร็จแล้ว

ดร.ณัฏฐ์ ชี้ชัด 'ประชามติชั้นเดียว' แค่ยกแรก 'แก้รธน.ทั้งฉบับ' เจอด่านหิน-นโยบายขายฝัน!

“ดร.ณัฏฐ์” มือกฎหมายมหาชน ชี้ กลไกแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับผ่านด่านหินยาก แม้เพื่อไทยใช้เทคนิคช่องทางพ้น 180 วัน ผ่านร่าง พรบ.ประชามติ เป็นเพียงนโยบายในฝัน