จับตา! วุฒิสภาถก 'กม.ประชามติ' 30 ก.ย. ฟื้นเสียงข้างมาก 2 ชั้น แก้รธน.

‘วุฒิสภา’ นัดประชุม 30 ก.ย. ถกร่าง พ.ร.บ.ออกเสียงประชามติ จับตาฟื้นใช้เกณฑ์ ‘เสียงข้างมาก 2 ชั้น’ แก้รัฐธรรมนูญ

27 ก.ย. 2567 – ผู้สื่อข่าวรายงานจากวุฒิสภา ว่า นายมงคล สุระสัจจะ ประธานวุฒิสภา ลงนามนัดประชุมวุฒิสภา วันที่ 30 ก.ย. โดยมีวาระพิจารณา เรื่องด่วน คือ ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ (ฉบับที่…) พ.ศ… ซึ่งคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญ ซึ่งมี พล.ต.ต.ฉัตรวรรษ แสงเพชร สมาชิกวุฒิสภา (สว.) เป็นประธาน กมธ. ได้พิจารณาเสร็จแล้ว

ทั้งนี้ คณะกมธ. ได้แก้ไขเพิ่มเติมจากที่สภาฯให้ความเห็นชอบ 1 มาตรา คือมาตรา 7 ว่าด้วยเกณฑ์การผ่านประชามติ เฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ โดยกลับมาใช้แบบ double majority กล่าวคือ ต้องมีผู้มาใช้สิทธิออกเสียงเป็นจำนวนเกินกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิออกเสียง และมีจำนวนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของผู้ออกมาใช้สิทธิออกเสียงในเรื่องที่ทำประชามตินั้น หรือหมายความว่า ต้องใช้เสียงข้างมาก 2 ชั้น หากเป็นกรณีที่ทำประชามติเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ

ขณะที่เรื่องทั่วๆ ไปนั้น กมธ. ยังคงหลักเกณฑ์ใช้เสียงข้างมากชั้นเดียว คือ “เสียงข้างมากของผู้ออกมาใช้สิทธิ และเสียงข้างมากนั้นต้องสูงกว่าคะแนนไม่แสดงความคิดเห็นเรื่องที่ทำประชามติ”

สำหรับ กมธ. เสียงข้างน้อยที่ขอสงวนความเห็นในการแก้ไขมาตรา 7 ประกอบด้วย น.ส.นันทนา นันทวโรภาส สว. นายกฤช เอื้อวงศ์ นายนิกร จำนง นายวุฒิสาร ตันไชย และ น.ส.อุดมลักษณ์ บุญสว่าง ซึ่งเป็น กมธ. ในโควตาของรัฐบาล

นอกจากนี้ ในรายงานยังมีข้อสังเกตของ กมธ. ด้วยว่า 1.ในการกำหนดระยะเวลาออกเสียงนอกราชอาณาจักร ควรเผื่อระยะเวลาเพราะแต่ละประเททศมีองค์ประกอบและปัจจัยแวดล้อมที่แตกต่างกัน ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการจัดส่งบัตรเลือกตั้งและบัตรออกเสียงประชามติ ที่พบว่าในอดีตมีความล่าช้าจากหลายปัจจัย

2.การประชาสัมพันธ์ เพื่อให้รอบคอบ ครบถ้วน โปร่งใส ตรวจสอบได้และเป็นธรรมรวมถึงให้ประชาชนเข้าใจและตระหนักความสำคัญของการออกเสียงประชามติ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ควรจัดเวทีแสดงความคิดเห็นโดยอิสระเท่าเทียม ทั้งผู้เห็นชอบและไม่เห็นชอบ ต้องอำนวยความสะดวกด้านอื่นให้ประชาชนททุกคนเข้าร่วมใช้สิทธิเต็มที่ นอกจากเผยแพร่วัน เวลาและสถานที่ใช้สิทธิเท่านั้น และให้ความสำคัญกับการให้ความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับเรื่องที่มีการออกเสียงประชามติ

3.การออกเสียงลงคะแนนด้วยอิเล็กทรอนิกส์ ต้องสร้างระบบให้มีความน่าเชื่อถือ และดำเนินการได้ภายในวันเดียวกันหรือควบคู่กันเพื่อประหยัดงบประมาณ โดย กกต. ต้องบูรณาการร่วมกันกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และระบบดังกล่าวต้องป้องกันการทุจริตได้อย่างมีประสิทธิภาพ

4.การตั้งประเด็นคำถาม ควรมีถ้อยคำชัดเจนเพียงพอให้ผู้มาออกเสียงเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ ป้องกันปัญหาการตีความ ทั้งนี้หากคำถามประชามติเป็นคำถามเชิงซ้อน ควรใช้การออกเสียงแบบแยกย่อยคำถามจนครบทุกประโยคเชิงซ้อนด้วย จึงจะถือว่ามีข้อยุติ.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ปธ.วันนอร์' ยัน 'จริยธรรมการเมือง' ยังจำเป็น แต่ไม่สูงไปจนผู้นำระแวง

'ปธ.วันนอร์' ย้ำมาตรฐานจริยธรรมทางการเมืองยังจำเป็น แต่ต้องไม่สูงจนผู้นำระแวง ผวาร้องจนทำงานลำบาก แจง สส.ลาประชุม เหตุกม.เปิดช่อง ชี้ กก.จริยธรรมใกล้ได้องค์ประชุมครบ ลุยสอบ 'ลุงป้อม'

พท.ชิดซ้าย พรรคส้มดีดกว่า สุดซอยจ้องโละ 'จริยธรรมรมต.'

ถอยร่นไม่เป็นขบวนไปแล้วสำหรับ พรรคเพื่อไทย เมื่อแสดงท่าที โยนผ้าขาว-ไอ้เสือถอย ส่ออาการไม่ไปต่อ เลิกกลางคันกับการเร่งรัดเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตรา ที่ยื่นร่างต่อรัฐสภาไปเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา แต่เมื่อกระแสสังคมนอกจากไม่เอาด้วย แรงต้านมีมากขึ้นเรื่อยๆ

อดีตบิ๊กศรภ. อัดแก้รัฐธรรมนูญ อย่ายืนขาสั่น!

พล.ท.นันทเดช เมฆสวัสดิ์ อดีตหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการพิเศษ ศูนย์รักษาความปลอดภัยแห่งชาติ (ศรภ.) โพสต์เฟซบุ๊ก เรื่อง "แก้รัฐธรรมนูญไป ขาก็สั่นไป" มีเนื้อหาดังนี้

44 ส.ส.พรรคส้มติดชนักม.112 ไม่กล้าลงชื่อแก้รธน.ยำใหญ่ 'ซื่อสัตย์-จริยธรรม'

ที่รัฐสภา นายณัฐวุฒิ บัวประทุม ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน กล่าวถึงการเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ประเด็นมาตรฐานจริยธรร

'อังคณา' มากับดวง จับสลาก ฝ่าด่านสว.สีน้ำเงิน นั่งประธานกมธ.การพัฒนาการเมืองฯ

ที่รัฐสภา มีการประชุมคณะกรรมาธิการ(กมธ.)สามัญประจำวุฒิสภา 21 คณะ โดยแต่ละคณะจะประชุมเพื่อเลือกผู้ดำรงตำแหน่งป