สภาฯ ส่อถกเดือด ผลศึกษา นิรโทษกรรมฯ รวมไทยสร้างชาติ ค้านหัวชนฝาล้างผิด 112 เตือนใช้เสียงข้างมาก รับรองรายงานกมธ.หากขัดต่อกฎหมาย ต้องมีคนรับผิดชอบ “ลูกเสธแดง”คนชง กลับเงียบไม่กล้าแสดงความเห็น
22 ก.ย.2567 – นายธนกร วังบุญคงชนะ สส.บัญชีรายชื่อ และรองหัวหน้าพรรครวมไทยสร้างชาติ กล่าวถึงการประชุมสภาฯ วันที่ 26 ก.ย. ที่จะพิจารณารายงานของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการตราพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม ซึ่ง กมธ.พิจารณาเสร็จแล้ว ว่า ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการนิรโทษกรรมความผิดในคดีความผิดประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ทราบว่าากมธ.หาข้อสรุปไม่ได้ และให้ กมธ.แต่ละคนบันทึกความเห็น โดยแบ่งความเห็นเป็น 3 ประเภท คือ 1.ไม่รวม มาตรา112 เพราะไม่ใช่แรงจูงใจทางการเมือง 2.รวม มาตรา 112 อย่างมีเงื่อนไข และ3.รวม มาตรา 112 โดยไม่มีเงื่อนไข โดยส่วนตัวยืนยันว่าไม่เห็นด้วยและคัดค้านถึงที่สุด
“ไม่สมควรรวมคดีความผิดประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ให้ได้รับการนิรโทษกรรม เพราะไม่ใช่แรงจูงใจทางการเมือง อีกทั้งรัฐธรรมนูญ มาตรา 6 ระบุไว้ชัดเจนว่า พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของรัฐ เป็นที่เคารพสักการะผู้ใดจะละเมิดมิได้ ผู้ใดกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระนามพระมหากษัตริย์ในทางใด ๆ มิได้ และสถาบันพระมหากษัตริย์ ไม่เกี่ยวข้องการเมือง หากจะนิรโทษกรรมให้ก็เสี่ยงที่จะขัดต่อรัฐธรรมนูญ” นายธนกร กล่าว
นายธนกร กล่าวด้วยว่า นอกจากนั้นในคำวินิจฉัยยุบพรรคก้าวไกลของศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อ 7 ส.ค. 2567 ระบุถึงพฤติการณ์กระทำการล้มล้างการปกครอง ในประเด็นการยื่นแก้ไขมาตรา 112 ดังนั้นเมื่อเทียบเคียงกับผู้ที่กระทำความผิดตามมาตรา 112 มีน้ำหนักรุนแรงกว่าพรรคก้าวไกลดังนั้นในการประชุมสภาเรื่องนี้ ตนเองจะขอใช้เอกสิทธิ์สส. ไม่รวมการนิรโทษกรรมให้กับคดีมาตรา 112
“ผมเห็นด้วยที่จะมีการนิรโทษกรรมคดีการเมืองที่ไม่มีความรุนแรงหรือถึงแก่ชีวิต แต่ไม่รวมคดีทุจริตคอรัปชั่น และการพิจารณาการนิรโทษกรรมควรต้องพิจารณารอบคอบ เชื่อว่าสภาเองก็ต้องมีการพิจารณาอย่างรัดกุม ไม่ทำให้เกิดการขัดต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญเสีย ทั้งนี้หากที่ประชุมสภาในวันที่ 26 ก.ย.มีการพิจารณาออกมาอย่างไร หากขัดต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญควรจะต้องมีผู้รับผิดชอบ” นายธนกร กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในรายงานของคณะกรรมาธิการศึกษาการตราพรบ.นิรโทษกรรมฯ มีการเสนอความเห็น-ข้อเสนอและข้อสังเกตุของคณะกรรมาธิการฯเกือบทุกประเด็น
โดยคณะกรรมาธิการฯ เห็นว่า สำหรับขอบเขตการนิรโทษกรรมนั้น ให้หมายความถึง” บรรดาการกระทำใด ๆ หากเป็นความผิดตามบัญชีแนบท้ายร่างพระราชบัญญัติ ให้การกระทำนั้นไม่เป็นความผิดต่อไป และให้ผู้ที่ได้กระทำการนั้นพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิด และถ้าได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษแล้วก็ให้ถือว่าผู้นั้นไม่เคยต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำความผิดนั้น ถ้าผู้นั้นรับโทษอยู่ก็ให้การลงโทษนั้นสิ้นสุดลง และให้ถือเสมือนว่าบุคคลนั้นไม่เคยกระทำความผิด”
พร้อมกับให้นิยามคำว่า “การกระทำที่เกิดจากแรงจูงใจทางการเมือง” ที่จะได้รับการนิรโทษกรรมไว้ว่า ให้หมายถึง“““การกระทำที่มีพื้นฐานมาจากความคิดที่เกี่ยวเนื่องกับเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมือง หรือต้องการบรรลุเป้าหมายทางการเมืองอย่างใดอย่างหนึ่งในช่วงเวลาที่มีความขัดแย้งหรือเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมือง”
แต่ในประเด็นว่า จะให้มีการนิรโทษกรรมคดี 112 ด้วยหรือไม่ ปรากฏว่า กรรมาธิการฯ เห็นว่าเป็นเรื่องละเอียดอ่อน จึงไม่ให้มีการทำความเห็นในนามคณะกรรมาธิการฯ ไว้ในรายงาน แต่ใช้วิธีให้กรรมาธิการฯ แต่ละคน เสนอความเห็นไว้ และบันทึกถ้อยคำการแสดงความเห็นไว้ในรายงานโดยไม่มีการลงมติ
โดยในส่วนของคดีที่มีความอ่อนไหวคือคดีความผิดตามมาตรา 110 และมาตรา 112 มีการแสดงความเห็นออกเป็น 3 แนวทาง
แยกเป็นแนวทางที่ 1 ไม่เห็นด้วยกับการนิรโทษกรรมคดีที่มีความอ่อนไหว 14 คน มีอาทิเช่น นายไพบูลย์ นิติตะวัน เลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ นายนิกร จำนง จากพรรคชาติไทยพัฒนา นายนพดล ปัทมะ จากพรรคเพื่อไทย นายวุฒิสาร ตันไชย อดีตเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า
-แนวทางที่ 2 เห็นด้วยกับการนิรโทษกรรมคดีที่มีความอ่อนไหวโดยมีเงื่อนไข 14 คน เช่น นพ.เชิดชัย ตันติศิรินทร์ จากพรรคเพื่อไทย นายรังสิมันต์ โรม จากพรรคประชาชน
-แนวทางที่ 3 เห็นด้วยกับการนิรโทษกรรมคดีที่มีความอ่อนไหว 4 คน เช่น นางสาวศศินันท์ ธรรมนิฐินันท์หรือทนายแจม จากพรรคประชาชน หม่อมหลวงศุภกิตต์ จรูญโรจน์ เลขาธิการสถาบันนิติวัชร์ สำนักงานอัยการสูงสุด
และไม่ประสงค์แสดงความคิดเห็น 4 คน โดยมีชื่อของ น.ส.ขัตติยา สวัสดิผล ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทยรวมอยู่ด้วย ทั้งที่ น.ส.ขัตติยา เป็นผู้เสนอญัตติดังกล่าวให้สภาฯ ตั้งกรรมาธิการฯ อีกทั้ง น.ส.ขัตติยา เป็นบุตรสาวของพลตรีขัตติยะ สวัสดิผล หรือ เสธ.แดง ที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์การชุมนุมเสื้อแดงปี 2553
ทั้งนี้ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 110 ที่ กมธ.เห็นว่าเป็นคดีละเอียดอ่อน เช่นเดียวกับคดี 112 มีบทบัญญัติว่า “ผู้ใดกระทำการประทุษร้ายต่อพระองค์ หรือเสรีภาพของพระราชินีหรือรัชทายาท หรือต่อร่างกายหรือเสรีภาพของผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่สิบหกปีถึงยี่สิบปี”
ส่วนประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 บัญญัติไว้ว่า “ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 ปีถึง 15 ปี”.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
นักวิชาการชี้เปรี้ยง พท.- ทักษิณ กวาด นายกอบจ. เรียบ ส่วนพรรคส้มร่วง
นักวิชาการชี้เปรี้ยง พท.-ทักษิณ โอกาสสูงกวาดนายกอบจ.เกือบหมด! ส่วนพรรคส้ม ปาดเหงื่อ เสี่ยงร่วงปักธงไม่สำเร็จ แต่สจ.ได้หลายจังหวัด
เลือกตั้งนายก อบจ. 47 จังหวัด บ้านใหญ่ รอเข้าวิน พท.กวาดเยอะ-พรรคส้ม เสี่ยงร่วง
ยิ่งใกล้ถึงวันลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือนายก อบจ. พบว่าการหาเสียงของผู้สมัครนายก อบจ.ทั้งที่ลงในนามพรรคการเมือง และไม่ได้ลงในนามพรรค
กสม. ประณาม 'ทักษิณ' ปราศรัยเหยียดเชื้อชาติคนแอฟริกัน ย้ำไทยอยู่ภายใต้ CERD
กสม.ซัด 'ทักษิณ' จ้อเหยียดเชื้อชาติคนแอฟริกัน อบรมคนมีอิทธิพลทางสังคมไม่ควรทำ หวั่นโดนขยายความรุนแรง ซ้ำรอยความสูญเสียในอดีต
เปิดร่างรธน. ฉบับเพื่อไทย ไม่แตะหมวด 1-2 โละทิ้งเสียงสว. 1 ใน 3 แก้รธน.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่...) ซึ่งแก้ไข มาตรา 256 และเพิ่มหม
‘สรวงศ์’ โต้รัฐบาลรับลูกพ่อนายกฯ อ้างเป็นแค่วิสัยทัศน์อดีตผู้นำ
ทำเนียบรัฐบาล นายสรวงศ์ เทียนทอง รมว.การท่องเที่ยวและกีฬา ในฐานะเลขาธิการพรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวถึงกรณีนายทักษิณ ชินวัตร การกา
เปิดคิวเดินสายรัวๆ ‘ทักษิณ-พท.’ ลุยหาเสียงทั่วปท. หวังยึดเก้าอี้ นายกอบจ.ครบ 16 จว.
ทักษิณ-พท.โหมหนัก ลุยหาเสียงทั่วประเทศ ยึดเก้าอี้นายกฯอบจ. ครบ 16 จังหวัด เปิดคิวเดินสายรัวๆ ขึ้นรถม้าลำปางอาทิตย์นี้ จากนั้น ถึงคิวอีสานสะเทือน เปิดหน้า ชนสีน้ำเงิน