‘ปกรณ์วุฒิ’ ปัดเป็นฝ่ายแค้น แนะ ‘นายกฯอิ๊งค์’ ลองเปิดใจกว้าง มีหลายเรื่องไม่ได้ขัด ติดใจทำไมพูดถึงคนนอกสภาฯ ไม่ได้ สวน ‘ภูมิธรรม’ สร้างวาทกรรมมากกว่าฝ่ายค้าน
13 ก.ย. 2567 -ที่รัฐสภา นายปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปฝ่ายค้าน) ให้สัมภาษณ์ถึงภาพรวมการแถลงนโยบายของรัฐบาล น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกฯ ว่า เรื่องของการจัดการเวลาถือว่ายังอยู่ในกรอบ ซึ่งวันนี้ (13 ก.ย.) คาดว่าจะเลิกเวลา 23.00 น. ตนเชื่อว่าเรื่องจัดการเวลาไม่มีปัญหาอะไร เนื่องจากเราคุยกันตลอด ส่วนเรื่องเนื้อหาก็เป็นที่น่าพอใจ ทุกคนก็ทำได้ดี
“อาจจะเป็นห่วงนิดนึง เรื่องบรรยากาศภายในสภาฯ ที่มีการประท้วงกันหลายรอบ ไม่ให้พูดถึงเรื่องอดีต ทั้งที่พรรคร่วมรัฐบาลก็พูดมาตลอดว่ารัฐบาลนี้สืบทอดเจตนารมย์มาจากรัฐบาลเดิม แต่พอฝ่ายค้านพูดถึงรัฐบาลเดิมก็กลับประท้วง แต่พรรคร่วมรัฐบาลเองก็พูดถึงรัฐบาลเดิมอยู่บ่อยครั้ง ท่านจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รมช.คลัง ก็พูดเองว่าเป็นการสืบสานอุดมการณ์มาจากพรรคเดิม แต่พอฝ่ายค้านพูดกลับไม่ให้พูด อีกเรื่องที่กังวลคือสไลด์อภิปรายมีการเบลอหน้าบุคคลภายนอก บางท่านก็เป็นอดีตรัฐมนตรี ส่วนตัวผมถ้าเบลอหน้า ผมรู้สึกว่าเป็นการไม่ให้เกียรติบุคคลในภาพเสียด้วยซ้ำ ดูไม่ดียิ่งกว่าเดิมอีก” นายปกรณ์วุฒิ ระบุ
ประธานวิปฝ่ายค้าน กล่าวย้ำว่า ทุกคนที่อภิปรายเป็นบุคคลสาธารณะ และเป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น เป็นการตั้งคำถามว่ารัฐบาลนี้จะดำเนินการต่ออย่างไร ตนคิดว่าสภาฯแห่งนี้ประชาชนเลือกให้เรามาพูดถึงเรื่องข้างนอกที่กระทบต่อชีวิตประชาชน ดังนั้น การเคร่งครัดไม่ให้พูดถึงบุคคลภายนอก ทำให้สภาฯทำงานได้ไม่เต็มที่ ประชาชนเลือกเรามาให้พูดถึงปัญหาของเขา ไม่ได้เลือกเรามาให้คุยกันเอง ตนกังวลว่าจะเป็นบรรทัดฐานที่ไม่ดีในอนาคต
ส่วนที่นายกฯ ก็เปรยว่าอยากทำงานร่วมกันนั้น นายปกรณ์วุฒิ กล่าวว่า เราก็ยืนยันมาตลอด ว่าเรื่องที่เห็นร่วมกัน เราก็ทำงานร่วมกันได้แน่นอนอยู่แล้ว ร่างกฎหมายใดที่รัฐบาลเสนอมา แล้วเราเห็นว่าเป็นประโยชน์คงไม่ค้านอยู่แล้ว ก็เห็นกันอยู่ว่าเราสนับสนุนในหลายๆ ครั้ง หลายเรื่องเราก็ไม่ได้ขัด ไม่ได้แย้ง พูดคุยกันในวิปแล้วทำให้ราบรื่นไปตลอดรอดฝั่ง ไม่ได้เป็นฝ่านแค้นอยู่แล้ว หลายครั้งมากๆ ที่เราเห็นตรงกัน
เมื่อถามว่า เป็นการตอกย้ำหรือไม่ว่า พรรคประชาชนไม่กล้าค้านพรรคเพื่อไทย เช่น เรื่องเกี่ยวกับความยุติธรรมชั้น 14 นายปกรณ์วุฒิ กล่าวว่า หากติดตามการอภิปรายตามรัฐธรรมนูญมาตรา 152 คงเห็นว่า นพ.วาโย อัศวรุ่งเรือง สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน โดนประท้วงหนักเหมือนกัน เพราะเนื้อหาค่อนข้างเข้มข้น มีรัฐมนตรีในขณะนั้นลุกขึ้นมากึ่งๆ ข่มขู่ ร้องเรียนเรื่องมาตรฐานวิชาชีพแพทย์ด้วยซ้ำ หากติดตามดีๆ เราตรวจสอบทุกเรื่อง แต่ตนคิดว่าเป็นการยืนอยู่บนหลักการมากกว่า
“ถ้าหากถามว่าเราไม่กล้าค้านพรรคเพื่อไทย ถ้าเป็นหลักการที่เราเห็นด้วย แล้วเราค้าน นั่นแหละที่ไม่เป็นประโยชน์กับประชาชน” นายปกรณ์วุฒิ กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า สังคมตั้งข้อสงสัยว่านายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ อาจจะครอบงำน.ส.แพทองธาร ในการแถลงนโยบาย ทำไมพรรคประชาชนไม่พูดถึงเรื่องนี้นั้น นายปกรณ์วุฒิ กล่าวว่า เมื่อวาน (12 ก.ย. ) มีหลายคนที่พูดถึงนายทักษิณ แล้วโดนประท้วง ซึ่งก็เป็นปัญหาที่ตนเอ่ยถึงว่าการพูดถึงบุคคลภายนอกไม่ได้เลย จะกลายเป็นปัญหา แต่สิ่งที่รัฐมนตรีหลายท่านพูด ตนก็เห็นด้วย ไม่ว่าคำแนะนำของใครก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นนายทักษิณหรือคนอื่นแนะนำมาและมีประโยชน์ แล้วรัฐบาลหยิบไปใช้ ตนคิดว่าไม่มีปัญหาอะไร เสียงวิพากษ์วิจารณ์ของประชาชน หรือแม้กระทั่งจากสมาชิกก็เป็นสิทธิ์วิพากษ์วิจารณ์หรือตั้งข้อสงสัย
ส่วนที่นายกฯ ขอให้ฝ่ายค้านเลิกเป็นฝ่ายแค้นนั้น นายปกรณ์วุฒิ กล่าวว่า “ถ้าท่านนายกฯ ได้ติดตามการทำงานในสภาฯของพวกเรา ใน 1 ปี ท่านนายกฯคงจะรู้ว่าเราไม่ได้ทำตัวเป็นฝ่ายแค้น ผมก็ไม่แน่ใจว่าเมื่อวานนี้ท่านนายกฯ ได้ติดตามการอภิปราย จากพรรคประชาชนหรือพรรคร่วมฝ่ายค้านเองหรือไม่ว่าทำตัวเป็นฝ่ายแค้นตอนไหน ไม่แน่ใจว่าใครไปบอกให้ท่านนายกฯ พูดแบบนี้ อยากให้ลองเปิดใจให้กว้าง ถ้าท่านายกฯ ได้ฟังจริงๆ จะพบว่าทางเราก็มีคำแนะนำ ข้อติติงหลายอย่างที่ท่านอาจจะเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ซึ่งหากนำไปใช้ก็เป็นประโยชน์”
เมื่อถามว่า นายกฯ และนายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกฯ และรมว.กลาโหม ระบุด้วยว่าไม่อยากให้ฝ่ายค้านใช้วาทกรรม นายปกรณ์วุฒิ กล่าวว่า 1 ปีที่ผ่านมา คนที่พูดว่าวาทกรรมบ่อยที่สุดคือ นายภูมิธรรม ฝ่ายค้านแทบไม่ได้สร้างวาทกรรมอะไรเลย แต่หากทุกคนสังเกตดูเมื่อไหร่ที่นายภูมิธรรมเปิดไมค์จะพบว่ามีคำว่าวาทกรรมขึ้นมาทุกครั้ง ไม่รู้ว่าติดใจอะไรกับคำนี้มากหรือไม่ หรือมีปมอะไร ถ้าตั้งใจฟังจริงๆ ไม่มีอคติ ก็คงรับรู้ได้ว่าข้อติติงหลายอย่างเสนอด้วยความหวังดี
เมื่อถามย้ำว่า การแถลงนโยบายไม่มีการลงมติ แต่จะมีการขีดเส้นให้เวลารัฐบาลทำงานอย่างไร นายปกรณ์วุฒิ กล่าวว่า หลังจากนนี้คงมีการพูดคุยกันอีกครั้ง เพราะตอนแรกเราจะเปิดอภิปรายทั่วไปตามมาตรา 152 ในสมัยประชุมนี้ แต่เมื่อมีเหตุการณ์ใหญ่ๆ เกิดขึ้น สถานการณ์อาจจะเปลี่ยน ดังนั้น หากมีเนื้อหาสาระมากพอก็พร้อมที่จะเปิดอภิปราย
ประธานวิปฝ่ายค้าน กล่าวด้วยว่า ตนไม่แน่ใจว่าจะประเมินการแถลงนโยบายของนายกฯอย่างไร เพราะตามข้อบังคับกำหนดว่าต้องอ่านคำแถลง ซึ่งตนคิดว่านายกฯ ไม่จำเป็นต้องตอบคำถามเองทุกเรื่องก็ได้ โดยรวมอยากเห็นคณะรัฐมนตรี (ครม.) ตอบคำถามทั้งชุดมากกว่าพูดในหลักการที่เจ้าหน้าที่เตรียมไว้ให้.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
รองเลขาฯเพื่อไทย ฟาดกลับ 'ไอซ์ รักชนก' แซะแจกเงินหมื่นช่วงเลือกตั้งนายก อบจ.
น.ส.ลิณธิภรณ์ วริณวัชรโรจน์ สส.บัญชีรายชื่อ และรองเลขาธิการพรรคเพื่อไทย โพสต์ข้อความผ่าน X ว่า ใจเย็นๆ นิดนะคะ รัฐบาลตั้งใจส่งเงินหมื่นกระตุ้นเศรษฐกิจ ถึงมือกลุ่มเป้าหมายให้เร็วที่สุด
เดือดพลั่ก! ยธ. แถลงโต้ กมธ.มั่นคงฯ ไม่มีอำนาจเรียก ทวี-อธิบดีกรมคุก ชี้แจงทักษิณชั้น 14
นายสมบูรณ์ ม่วงกล่ำ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม พร้อมด้วย นายวรชัย บุตรดาบุตร เลขานุการกรมราชทัณฑ์ นายณรงค์ หนูคง ผู้ตรวจราชการกรมราชทัณฑ์ และ น.ส.วริศรา กุญชร ณ อยุธยา ผอ.กองกฎหมาย
เดือด! 'โตโต้' สวน ยธ. ยันมีอำนาจสอบทักษิณป่วยทิพย์ ลั่น กมธ.มั่นคงฯทำงานครอบจักรวาล
นายปิยรัฐ จงเทพ สส.กทม.พรรคประชน (ปชน.) ในฐานะโฆษกคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทย ยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ สภาผู้แทนราษฎร
'ไอติม-กมธ.การเมือง' รุดขอความชัดเจนศาลธรน. หวังได้คำตอบปมทำประชามติ 2 ครั้ง
นายพริษฐ์ วัชรสินธุ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคประชาชน ในฐานะประธานกรรมาธิการการเมืองการมีส่วนร่วม สภาผู้แทนราษฎร ให้สัมภาษณ์ก่อนเข้าร่วมหารือกับประธานศาลรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับกระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ว่า อย่างที่เราทราบกันดีว่าการ
'โรม' กล่อม 'ทักษิณ' เข้าแจง กมธ.ความมั่นคง ปมชั้น 14 เชื่อเป็นผลดีต่อรัฐบาล-นายกฯอิ๊งค์
นายรังสิมันต์ โรม รองหัวหน้าพรรคประชาชน ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทย ยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ สภาผู้แทนราษฎร ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีเชิญนายทักษิณ ชินวัตร
กมธ.มั่นคงฯ ขอดูลาดเลาปม MOU44 ให้รอบด้าน
'กมธ.มั่นคง' ขอฟังข้อมูลปม MOU 44 รอบด้าน หลังหลายฝ่ายมีความเห็นต่าง 'โรม' ยันยึดประโยชน์ประเทศชาติเป็นหลัก เล็งใช้กลไกสภาเดินหน้าตรวสอบ เหตุเรื่องรื้อรังมานาน