ถกเดือด! 'วุฒิสภา' คว่ำญัตติเสนอตั้ง กมธ.ศึกษาแก้น้ำท่วมเร่งด่วน

“วุฒิสภา” ถกญัตติตั้งกมธ.แก้น้ำท่วม “หมอเปรม” ปะทะ นายพล ซัดเป็นขอทาน หลังมาขอโควตาให้สว.บ้านใหญ่ แต่กลับผิดสัจจะกลับลำไม่ยอมมตั้ง ด้าน“เศรณี”ร่ำไห้ไม่คิดช่วยเกษตรกร

10 ก.ย.2567 - ที่รัฐสภา ในการประชุมวุฒิสภา ที่มีนายมงคล สุระสัจจะ ประธานวุฒิสภา เป็นประธานการประชุม มีวาระพิจารณาญัตติ เรื่อง ขอเสนอญัตติตั้งคณะกรรมาธิการ(กมธ.)วิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาภัยพิบัติจากวิกฤตอุทกภัยอย่างเร่งด่วนและเป็นระบบ ซึ่งเสนอโดยนายเศรณี อนิลบล สว. และ นพ.เปรมศักดิ์ เพียยุระ

ทั้งนี้ นพ.เปรมศักดิ์ นำเสนอญัตติตอนหนึ่งระบุว่า เมื่อวานนี้ มีชาย 3 คน ถามตนว่าทำไมไม่แก้ไข ทำไมต้องศึกษา หากศึกษาไม่ต้องตั้งกมธ. ตนไม่บอกว่าเป็นใครแต่ส่วนสูงกว่าตน ทั้งนี้ไม่ได้กลัวแต่อย่ามารุม ขอให้มาทีละคน

“วันเสาร์-อาทิตย์ ก่อนมีการประชุม มีพล.อ.คนหนึ่งโทรศัพท์หาผม ไม่ใช่พล.อ.เกรียงไกร ศรีรักษ์ รองประธานวุฒิสภา คนที่หนึ่ง บอกให้ผมล้มเลิก ผมบอกล้มเลิกอย่างไร เพราะพุธที่แล้วคุยกันแล้วบอกว่ามีการขอกรรมาธิการ 30 คน ขอสว. 20 คน เป็นคนนอก 10 คน โดยในส่วนของสว.ขอเป็นกลุ่มใหญ่ 15 คน และกลุ่มเล็ก 5 คน แบบนี้ต้องมาขอเหมือนเป็นขอทาน แต่สุดท้ายก็บรรลุข้อตกลงว่า สว.มาจากบ้านใหญ่ 15 คน และสว.เสียงส่วนน้อย 5 คน หากผมพูดความเท็จให้ฟ้าผ่าร่างเป็น 2 ซีก ผมยินดีตายกลางสภา ผมขอให้พิสูจน์กันหน่อยว่าทำไมกลับไปกลับมา แม้ผมไม่ใช่นายพลแต่รักษาสัจจะ และพล.อ.คนนี้ยังบอกว่าหากอภิปรายขอให้จบ ไม่ต้องตั้งกรรมาธิการ ผมงง” นพ.เปรมศักดิ์ กล่าว

ต่อมาพล.อ.สวัสดิ์ ทัศนา สว. อภิปรายว่าตนเป็นคนโทรหานพ.เปรมศักดิ์ เพื่อไม่ให้เคลือบแคลงสงสัย พล.อ.คือตนเอง ที่โทรหาหมอเปรมเป็นการปรึกษา ว่ามีหลายคนและควรฟังความคิดเห็นของคนส่วนใหญ่ ขอให้หมอเปรมถอยได้หรือไม่ ผิดถูกหรือไม่ แต่เป็นความจริง

ขณะที่นายเศรณี อนิลบล สว. กล่าวอภิปรายด้วยน้ำเสียงสะอึกสะอื้นร้องไห้ว่า ขอพูดในหัวอกสว.ที่เป็นตัวแทนกลุ่มเกษตรกร เข้าใจดีถึงความเดือดร้อน ยากลำบากของเกษตรกรที่ประสบปัญหาน้ำท่วม ญัตตินี้เป็นเรื่องสำคัญควรตั้งกมธ.ขึ้นมาศึกษาเร่งด่วน ที่ผ่านมาทุกรัฐบาลได้แต่เยียวยา จ่ายค่าชดเชยให้เกษตรกรที่ถูกน้ำท่วม แต่เกษตรกรไม่ต้องการ อยากเห็นการแก้ปัญหาแบบเร่งด่วนเป็นระบบ แต่ทำไม่ได้ แม้จะศึกษาแนวทางแก้ปัญหามาหลายครั้ง แก็เก็บใส่ลิ้นชักไม่ทำ ทุกรัฐบาลไม่จริงใจแก้ปัญหา เก่งกันนักเรื่องศึกษา แต่ไม่เคยทำ ไม่เคยเห็นรัฐบาลใดจริงใจแก้ปัญหาอย่างจริงจัง การแก้ปัญหาน้ำแล้ง น้ำท่วม ทำแบบเกาไม่ถูกที่คัน ตนพูดจากความรู้สึกอึดอัดตันใจ ทำไมสภาไม่ฟังเสียงข้างน้อย ไม่คิดช่วยเหลือประชาชนที่กำลังเดือดร้อน แก้ปัญหาเป็นเรื่องเร่งด่วน ไม่จำเป็นต้องเชื่อฟังครูใหญ่ทุกอย่าง ต้องมีความคิดเป็นของตัวเอง ทุกคนต้องมาร่วมมือกันไม่ว่าจะอยู่โรงเรียนใด จะมีครูใหญ่กี่คนต้องมาช่วยกัน สภาไม่ใช่การเมือง วันนี้ต้องทำงานเชิงรุก หวังว่า สว.ที่มีความคิด สติปัญญา จะเห็นด้วย

หลังสมาชิกอภิปรายแสดงความคิดเห็นซึ่งมีทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยที่จะตั้งกมธ. โดยนายอลงกต วรกี สว. อภิปรายไม่เห็นด้วยกับการตั้งกมธ. ศึกษาเรื่องน้ำท่วม เพราะกว่าจะแก้ปัญหาได้ ต้องใช้เวลานาน ไม่รู้จะถึง 25 ปี หรือไม่ สุดท้ายจะกลายเป็นกระดาษบนหิ้ง ขอสรุปให้ทุกคนเสนอมาเลย จะแก้ปัญหาที่ไหน

ก่อนที่นายอลงกต ทำท่าแกล้งร้องไห้ ล้อเลียน เพื่อนสส. ว่า “ ฟังแล้วก็อยากจะร้องไห้เหมือนกันครับ แก้กันมานาน ยังแก้ไม่ได้สักที มีกระดาษทิชชูไหมครับ อึดอัดใจเหลือเกิน อยากให้มีการแก้เร็วๆ และแก้ปัญหาชาวบ้านเร็วๆ นะครับ”

สุดท้ายที่ประชุมลงมติไม่เห็นด้วย 127 เห็นด้วย 48 งดออกเสียง 10 ถือว่าที่ประชุมมีมติไม่เห็นด้วยให้ตั้งกมธ.วิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาภัยพิบัติจากวิกฤตอุทกภัยอย่างเร่งด่วนและเป็นระบบ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

โฆษกศปช. เผยกรณี 'น้ำผุด' อ.เชียงดาว มอบหน่วยงานลงพื้นที่ศึกษาแนวทางใช้ประโยชน์

นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรีและโฆษกศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศปช.) เปิดเผยว่า ตามที่ ศปช. ได้เคยประกาศแจ้งเตือนให้ประชาชนในพื้นที่ภาคใต้เฝ้าระวังฝนตกหนักในพื้นที่ระหว่างวันที่ 20-24 พ.ย.ไปแล้วก่อนหน้านี้

'สิริพรรณ นกสวน' อาจารย์จุฬาฯ ลงสมัครชิงเก้าอี้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ

ตามที่สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ในฐานะหน่วยธุรการ เปิดรับสมัครบุคคลเพื่อเข้ารับการสรรหาเป็นบุคคลผู้สมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จำนวน 2 คน เพื่อมาแทน นายนครินทร์ เมฆไตรรัตน์ ประธานศาลรธน.

พยากรณ์ 10 วันล่วงหน้า ตั้งแต่ 18 พ.ย. อากาศเริ่มเย็นลงอีกครั้ง

กรมอุตุนิยมวิทยา อัปเดตผลการพยากรณ์ฝนสะสมรายวัน (ทุกๆ 24 ชม. : (นับตั้งแต่ 07.00 น. ถึง 07.00 น.วันรุ่งขึ้น) และลมที่ระดับ 925hPa (750 ม.) 10 วันล่วงหน้า ระหว่าง 15 -24 พ.ย. 67